xs
xsm
sm
md
lg

ปธน.จีน "หูจิ่นเทา" เยือนกัมพูชา พิสูจน์ความขลัง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ประธานาธิบดีหูจิ่นเทาและภริยา โบกมือระหว่างเดินทางถึงสนามบินนานาชาติกรุงพนมเปญ วันนี้ (30 มี.ค.) ประธานาธิบดีหูจิ่นเทาจะอยู่ในกัมพูชาจนถึงวันที่ 2 เม.ยนี้.--REUTERS/Samrang Pring.  </font></b>

เอเอฟพี - ประธานาธิบดีหูจิ่นเทา ของจีน เดินทางถึงกรุงพนมเปญ เมืองหลวงของกัมพูชา วันนี้ (30 มี.ค.) ในโอกาสเยือนเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดอยู่ก่อนแล้ว และการเยือนครั้งนี้ยังเกิดขึ้นในช่วงเวลาก่อนที่กรุงพนมเปญจะเป็นเจ้าภาพการประชุมสำคัญในระดับภูมิภาค

การเดินทางเยือน 4 วัน ของประธานาธิบดีหูจิ่นเทา เป็นเสมือนเงาของจีนที่ครอบคลุมก่อนที่บรรดาชาติสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) จะรวมตัวกันในสัปดาห์หน้า ที่คาดว่าประเด็นปัญหายุ่งยากในทะเลจีนใต้อาจมีแนวโน้มที่จะถูกหยิบยกขึ้นมาหารืออีกครั้ง

ผู้สังเกตการณ์กล่าวว่า การเดินทางเยือนกัมพูชาครั้งแรกของผู้นำจีนในรอบ 12 ปี เป็นเวลาที่จะแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างกรุงปักกิ่ง และประธานอาเซียนในปัจจุบัน และบางทีอาจเป็นการกระตุ้นเตือนให้เจ้าภาพการประชุมไม่นำประเด็นปัญหาน่านน้ำขึ้นมาเป็นวาระการประชุมก็เป็นได้

“ประธานาธิบดีหูเดินทางมากัมพูชาเพื่อเตือนกัมพูชาว่าเขาเป็นมิตรที่ดี” นักการทูตชาวตะวันตก กล่าว

จีนและไต้หวันอ้างสิทธิเหนือทุกพื้นที่ในทะเลจีนใต้ ขณะที่ 4 ชาติจากอาเซียน คือ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย และบรูไน ต่างอ้างสิทธิในพื้นที่ทับซ้อนในทะเลจีนใต้ด้วยเช่นกัน ซึ่งทะเลจีนใต้นั้น เป็นเส้นทางเดินเรือทางการค้ามากกว่า 1 ใน 3 ของโลก รวมทั้งการขนส่งน้ำมัน และก๊าซ และยังแหล่งปิโตรเลียมจำนวนมหาศาลที่คาดว่าอยู่ใต้ผืนทะเลแห่งนี้

รัฐบาลจีนคัดค้านการหยิบยกประเด็นความขัดแย้งดังกล่าวให้เป็นประเด็นในระดับนานาชาติ และมีความต้องการที่จะเจรจากันเป็นรายประเทศมากกว่าเป็นกลุ่ม ซึ่งรัฐบาลกัมพูชาไม่น่าที่จะท้าทายจุดยืนดังกล่าว ระหว่างที่กัมพูชาดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน

นายเขียว กัญฤทธิ์ โฆษกรัฐบาลกัมพูชาระบุว่า กัมพูชาไม่ต้องการที่จะใช้อาเซียนเป็นเวทีต่อสู้กับประเทศอื่น

ทั้งนี้ จีนเป็นทั้งเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุด และนักลงทุนต่างชาติที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชา ที่บริษัทจากจีนหลายร้อยบริษัทอัดฉีดเม็ดเงินลงทุนเป็นจำนวนหลายพันล้านดอลลาร์ในกัมพูชาช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในโครงการระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เช่น เขื่อนไฟฟ้า และโรงไฟฟ้าถ่านหิน

ประธานาธิบดีหูจิ่นเทาที่เพิ่งเสร็จสิ้นจากการเข้าร่วมการประชุมสุดยอดว่าด้วยความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ในกรุงโซล เกาหลีใต้ และการประชุมผู้นำกลุ่มประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ (บริกส์) ในกรุงนิวเดลี อินเดีย คาดว่าจะลงนามข้อตกลงความร่วมมือหลายฉบับกับกัมพูชา ก่อนสิ้นสุดการเยือนในวันที่ 2 เม.ย. นี้
กำลังโหลดความคิดเห็น