xs
xsm
sm
md
lg

วุฒิสภาเขมรเลือกผู้เฒ่าเจียซิม นั่งเก้าอี้ประธานอีกสมัย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>อายุยืน -- นายเฮงสัมริน ประธานสภาผู้แทนราษฎรวัย 79 ปี รองประธานกิติมศักดิ์ พรรคประชาชนกัมพูชา นายเจียซิม ประธานของพรรค กำลังจะครบ 80 ปีในเดือน พ.ย.ศกนี้ ได้รับเลือกเป็นประธานวุฒิสภาอีกสมัย  ในวันเสาร์ 24 มี.ค.ที่ผ่านมา และ ฮุนเซน รองประธานพรรคและนายกรัฐมนตรี พร้อมภริยา ในภาพวันที่ 7 ม.ค.2555 ระหว่างพิธีฉลองครบรอบ 33 ปี การขับไล่รัฐบาลเขมรแดงของกลุ่มโปลโป้ท เอียงสารี เคียว สมพร (โดยกองทัพเวียดนาม) ซึ่งนำบุคคลทั้งสามขึ้นสู่อำนาจมาตั้งแต่นั้น. --  AFP PHOTO/Tang Chhin Sothy). </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- นายเจียซิม ประธานพรรคประชาชนกัมพูชา วัย 80 ปี ได้รับเลือกเป็นประธานวุฒิสภา ติดต่อกันเป็นสมัยที่ 3 ในการเลือกตั้งวันเสาร์ 24 มี.ค.ที่ผ่านมา นับตั้งแต่มีการก่อตั้ง “สภาสูง” แห่งนี้ขึ้นมาในปี 2542
       
สมาชิกวุฒิสภาที่เข้าประชุมจำนวน 60 คน ลงมติเลือกบุรุษชราเป็นเอกฉันท์ ขณะเดียวกัน ก็เลือก นายสายชุม (Say Chhum) ประธานคณะกรรมการประจำวุฒิสภา ซึ่งเป็นผู้นำอาวุโสอีกคนหนึ่งของพรรครัฐบาล เป็นรองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 สำนักข่าวกัมพูชาซึ่งเป็นของรัฐบาลรายงาน

พรรครัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ฮุนเซน ได้รับเลือกจำนวน 46 ที่นั่ง จากการเลือกตั้งที่จัดขึ้นในเดือน ม.ค.ปีนี้ อีก 11 ที่นั่งเป็นของพรรคสัมรังสี พรรคฝ่ายค้านใหญ่ที่สุด

ตามรัฐธรรมนูญกัมพูชา สมาชิกวุฒิสภา หรือ “พฤฒิสภา” (Protsophea หรือ ព្រឹត្តសភា) จะมีจำนวนไม่เกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา (Radhsphea หรือ រដ្ឋសភា) และมีที่มาจาก 3 ทางคือ สภาบริหารคอมมูนต่างๆ ทั่วประเทศ จะเป็นผู้เลือกเป็นส่วนใหญ่ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งอีก 2 คน และสมาชิกรัฐสภา ซึ่งหมายถึง “ผู้แทนราษฎร” คะแนนเลือกอีก 2 คน โดยใช้สิทธิ์นี้แทนเขตเลือกตั้งของตนในจังหวัดต่างๆ

นายเจียซิม เกิดวันที่ 15 พ.ย.2475 เป็นชาว จ.สวายเรียง ที่มีชายแดนติดเวียดนาม เข้าร่วมกับเขมรแดงกลุ่มฮุนเซน-เฮงสัมริน ก่อตั้ง “ขบวนการกู้ชาติ” และ หลบหนีการปราบปรามของเขมรแดงกลุ่มโปลโป้ต เอียง สารี เคียว สมพร เข้าเวียดนาม

ผู้นำกลุ่มนี้อยู่ในอำนาจมาตั้งแต่เดือน ม.ค.2522 โดยได้รับแต่งตั้งจากเวียดนาม ซึ่งส่งทหารนับแสนคน ข้ามพรมแดนเข้าขับไล่รัฐบาลเขมรแดงกลุ่มโปลโป้ต จากกรุงพนมเปญ ทหารเวียดนามยังคงช่วยผู้นำกลุ่มนี้รักษาเก้าอี้ไว้แน่นเหนียวต่อมาอีก 10 ปี
.
<bR><FONT color=#000033>ชื่นชมกันเอง -- ฮุนเซน รองประธานพรรคประชาชนกัมพูชาและนายกรัฐมนตรี สัมผัสมือแสดงความยินดีกับเจียซิม ประธานพรรค  ในภาพวันที่ 7 ม.ค.2555 ระหว่างพิธีฉลองครบรอบ 33 ปี การขับไล่รัฐบาลเขมรแดงกลุ่มโปลโป้ท เอียงสารี เคียว สมพร (โดยกองทัพเวียดนาม) ซึ่งนำบุคคลทั้งสองขึ้นสู่อำนาจมาตั้งแต่นั้น. --  AFP PHOTO/Tang Chhin Sothy). </b>
<bR><FONT color=#000033>อัครมหาบัณฑิต -- ปี 2536 เจียซิมได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นสมเด็จอัครมหาธรรมโพธิศาล ในวันที่ 31 ธ.ค.2554 ราชบัณฑิตยสภากัมพูชาได้มอบตำแหน่งเป็น กิตติพฤติบัณฑิต (Ketepritbandit) ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดทางด้านวิชาการ เหนือศาสตราจารย์ใดๆ  ให้แก่ประธานวุฒิสภาที่เพิ่งจะได้รับเลือกให้อยู่ในตำแหน่งต่อไปอีก 1 สมัย ในการประชุมนัดปฐมฤกษ์ของวุฒิสภาวันเสารร์ 24 มี.ค.ที่ผ่านมา. -- ภาพ: สำนักข่าวกัมพูชา/Chim Nary. </b>
.
ประธานวุฒิสภาจะรักษาการแทนประมุขแห่งรัฐ เมื่อไม่อยู่ หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตาม

ระหว่างเดือน เม.ย.2535 จนถึง มิ.ย.2536 นายเจียซิม ดำรงตำแหน่ง “ประธานสภาแหงรัฐ” หรือประธานาธิบดีซึ่งเป็นระบบเดียวกับเวียดนามเมื่อก่อน ก่อนที่กัมพูชาจะกลายเป็นรัฐใหม่ ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ

เจียซิม ยังรักษาการแทนสมเด็จพระนโรดมสีหนุ อดีตกษัตริย์แห่งกัมพูชาช่วงสั้นๆ ในปี 2536, 2537, 2538 และ 2547

เมื่อกษัตริย์กัมพูชาทรงสละราชสมบัติอย่างถาวร ในวันที่ 7 ต.ค.2547 เจียซิม ได้ขึ้นเป็นประมุขแห่งรัฐอีกครั้งหนึ่ง จนถึงวันที่ 14 ต.ค.ปีเดียวกัน เมื่อสมเด็จพระนโรดมสีหมุนี ทรงขึ้นครองราชย์

เจียซิม ยังทำหน้าที่รักษาการแทนประมุขแห่งรัฐอีกหลายครั้งในช่วงปีหลังนี้ ในยามที่องค์พระประมุขเสด็จเยือนต่างแดน

เป็นที่ทราบกันดีว่า ผู้นำอาวุโสมีโรคหัวใจเป็นโรคประจำตัว เคยมาตรวจรักษาในประเทศไทยหลายครั้ง ก่อนจะเปลี่ยนปลายทางเป็นสิงคโปร์แทนในช่วงปีหลังๆ นี้
กำลังโหลดความคิดเห็น