xs
xsm
sm
md
lg

ศิลปะปึ๋งปั๋ง เลิฟซีน 600 ปี สุดพิสดารพันลึก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#0000330>บทอัศจรรย์ที่มีอายุ 600 ปีนี้แฝงด้วยอารมณ์ขันมากมาย และ ทรงคุณค่าทางด้านศิลปวรรณคดีและโบราณคดียิ่งนัก แรกๆ มองกันขำๆ ว่าเป็นบทช้างประสานงาของพวกนักรักร่วมเพศ แต่ปีนี้ผู้เชี่ยวชาญได้ข้อสรุปใหม่ว่ามันเป็นเลิฟซินของหนุ่มสาวยุคลายคราม กิจกรรมนี้เกิดขึ้นในห้องหับมิดชิดมีโคมไฟเป็นสัญลักษณ์ และภาพยังมีองค์ประกอบสำคัญที่สะท้อนให้เห็นว่าโรคตากุ้งยิงอาจจะระบาดมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 แล้วก็เป็นได้. -- ภาพ: เหงื่อยดัวติน (Người Đưa Tin). </b></font>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- ปัจจุบันถ้าหากนึกถึงภาพนู้ดภาพโป๊ทั้งหลาย คนทั่วไปก็จะนึกถึงอินเทอร์เน็ต แต่สำหรับคนโบราณเล่า จะไปหาดูภาพพวกนี้ได้ที่ไหน และเหล่าศิลปินนู้ดรุ่นลายครามมีวิธีแสดงฝีไม้ลายมือกันอย่างไร ในยุคที่ยังไม่มีกล้องดิจิตอล 22 ล้านพิกเซลเช่นในวันนี้ นักวิทยาศาสตร์เวียดนามได้คำตอบแล้ว

เมื่อปี 2543 นักวิทยาศาสตร์ในเวียดนามกลุ่มหนึ่งได้เข้าสู่ศตวรรษใหม่ด้วยความทึ่งหลังจากมีการผู้งมถ้วยชามเซรามิคจากใต้ทะเลบริเวณเกาะจ่าม (Chàm) จ.กว๋าง (Quảng Nam) ในภาคกลาง และ ผลการตรวจสอบในภายหลังได้ข้อสรุปว่า เป็นของจากคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงวันนี้ก็อายุ 600 ปีแล้ว

เทียบกับในประเทศไทยก็สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ซึ่งเป็นช่วงหลังยุคเฟื่องฟูของสังคมโลก และช่วงเดียวกันจีนได้หันมาผลิตถ้วยโถโอชามลายสีครามขาวอีกครั้งหนึ่ง และนั่นคือ ยุคสมัยของลายครามที่สื่อเวียดนามกำลังพูดถึง แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นใหญ่

ในปีนั้นชาวประมงในท้องถิ่นพบซากเรืออับปางและงมหม้อไหจานชามขึ้นมานับร้อยชิ้น แต่ก็มีอยู่ 3 ชิ้นที่ทำให้ทุกฝ่ายตะลึงงัน ก่อนจะกลายมาเป็นความขบขัน เพราะจิตกรเอกยุคลายครามได้บรรจงแต้มแต่งฉากเลิฟซีนลงบนจานข้าว พร้อมแทรกมุกขำๆ เอาไว้อย่างคาดไม่ถึง

ถึงแม้ฝีมือจะไม่ประณีตมากมาย แต่จิตรกรเอกก็เต็มไปด้วยอารมณ์ขัน และกลายเป็นความขบขนขันข้ามศตวรรษ แถมยังทิ้งเป็นปริศนาเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ขบคิด

ตลอดหลายปีมานี้นักวิทยาศาสตร์ นักศิลปะและผู้เชี่ยวชาญหลายแขนงได้พยายามช่วยกันตีความ “เลิฟซีน” (ภาพที่ 1) ก้นจาน ด้วยความเห็นที่แตกต่างกันหลากหลาย ช่วงปีแรกๆ หลายคนเชื่อว่าเป็นภาพของพวกรักร่วมเพศ ที่กำลังทำ “ช้างประสานงา” ทำกันโจ่งครึ่มกลางแจ้ง ใต้แสงตะวัน

แต่หลายปีต่อมามีหลายเสียงได้ลงความเห็นว่า เป็นท่วงท่าที่ “ผิดธรรมชาติ” ระหว่างชายกับชายหากเป็นเพราะว่าฝีมือของจิตกรที่ไม่ได้มีความประณีตมากมายอะไร จึงทำให้โลกปัจจุบันสับสน โดยผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าจิตกรใหญ่พยายามจะวาดภาพของหนุ่มกับสาวในบทพิสดาร
.
 <bR><FONT color=#000033>อาบน้ำครั้งแรก ภาพเขียนที่สะท้อนวัฒนธรรม เจ็ดวันอาบน้ำหนเดียว ในยุคลายครามกับความกระเหี้ยนกระหือรือของสามีหนุ่ม ที่มีต่อภรรยาสาวในช่วงข้าวใหม่ปลามันและย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิในเวียดนาม พิสดารพันลึกก็คือนักถ้ำมองในภาพเขียนนี้เป็นหญิงที่อาจจะเคยมี โรมานซ์ กับภรรยาแสนสวยของเขามาก่อนอีกต่างหาก. --ภาพ: เหงื่อยดัวติน (Người Đưa Tin). </b></font>
2

เจ้าตำรับรายนี้ได้วาดรูปโคมไฟเอาไว้มุมหนึ่งเป็นสัญลักษณ์บางบอกว่า กิจกรรมอันน่าทึ่งนี้เกิดขึ้นในห้องหับมิดชิด ไม่ใช่กลางแจ้งภายใต้แสงแดดแจ่ม อย่างที่เข้าใจกันมาก่อน หนังสือพิมพ์ออนไลน์เหงื่อยดัวติน (Người Đưa Tin) รายงานในวันอังคาร 31 ม.ค.นี้

“สีหน้าของฝ่ายชายแสดงให้เห็นความปรารถนาอันร้อนแรงอันสุดที่จะหักห้าม อันเป็นความสามารถที่จะมองข้ามมิได้ของผู้เขียน” เหงื่อยดัวตินอ้างความเห็นของผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่ง

ในภาพเขียนสีลายครามสุดพิสดารนี้ยังมีนักถ้ำมองคนหนึ่งกำลังยิ้มย่องกับการได้เป็นประจักษ์พยานการเริงร่าของหนุ่มสาว อันเป็นอารมณ์ขันอันเหลือร้ายของมหาจิตกรอีกด้วย

นักถ้ำมองยังเป็นองค์ประกอบสำคัญของภาพ สะท้อนความพิเรนทร์ของผู้คนในยุค 800 ปีก่อน หนังสือพิมพ์ข่าวกฎหมายกับชีวิตกล่าว และนั่นคือ คำเฉลยปริศนาที่เป็นโจทก์ใหญ่ข้ามทศวรรต

ภาพที่ 2 เป็นภาพที่ผู้เชี่ยวชาญตั้งชื่อว่า “การอาบน้ำครั้งแรก” ซึ่งจิตรกรเอกได้สะท้อนอารมณ์ขันอันล้นเหลือ ให้สามีหนุ่มหอบผ้าหอบผ่อนไปให้ภรรยาสาวข้าวใหม่ปลามันขณะนั่งยองๆ อยู่ข้างตุ่มอาบน้ำกลางแจ้งในสภาพเปลือยล่อนจ้อน หลังจากฝ่ายชายได้พบว่ามีนักถ้ำมองตากุ้งยิง หลบๆ แอบๆ อยู่หลังต้นไม้ไม่ไกลออกไป

พิสดารพิลึกกึกกือยิ่งกว่านั้นก็คือ มหาจิตกรได้เน้นให้เห็นว่านักถ้ำมองวิตถารรายนี้เป็นเพศหญิง ทีอาจจะมีโรมานซ์กับภรรยาแสนสวยของเขามาก่อน

ทำไมต้องมีการ “อาบน้ำครั้งแรก” และ ต้องอาบกันกลางแจ้งโจ่งครึ่มถึงขนาดนั้น?
.
<bR><FONT color=#000033> สาวสวยนั่งสยายผมยาวเปลือยท่อนบนรายนี้อาจจะเป็นหญิงสาวแห่งราชสำนักในมโนภาพของ ครู แห่งคริสต์ศตวรรษที่ 15 เครื่องลายคราม-ขาวทั้งสามชิ้นเป็น ของดี ที่ชาวประมงเจ้าของเดิมมอบให้วางแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จ.กว๋างนาม (Quảng Nam) เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา แม้จะมีผู้ตีราคาให้หลายสิบล้านดอลลาร์ก็ตาม. --ภาพ: เหงื่อยดัวติน (Người Đưa Tin). </b></font>
3
ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าขอให้นึกถึงฤดูหนาวในเวียดนามที่อากาศหนาวเย็นจัด อันเป็นเหตุผลเพียงพอที่จะทำให้ผู้คนในยุคลายครามยึดปฏิบัติคำขวัญ “เจ็ดวันอาบน้ำหนเดียว” และ เมื่อแมกไม้เริ่มผลิใบ ดอกไม้เริ่มเบ่งบานก็ถึงเวลาที่จะต้องอาบน้ำฟอกผิวกายให้หอมสดชื่นอีกครั้ง อันเป็นเรื่องที่สามีหนุ่มครุ่นคำนึงตลอดฤดูหนาวที่เพิ่งจะผ่านไป

ส่วนในภาพที่ 3 ลายครามชิ้นนี้เน้นโชว์เรือนอันสมส่วนของหญิงสาวที่ดูสุขภาพแข็งแรงคนหนึ่ง ในชุดแพรพรรณที่ทำให้ที่เข้าใจกันว่า เป็นสาวราชสำนักในมโนภาพของจิตกร

เคยมีการประชุมเพื่อถกเถียงความหมายของภาพเขียนสี ในเครื่องลายครามทั้ง 3 ชิ้นมาหลายครั้ง โดยระดมนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญตลอดจนจิตรกรในแขนงนี้มาร่วมกันขบคิด ถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้จะยังตีปัญหาไม่แตก แต่ทุกคนเห็นพ้องที่จะยกย่องนักวาดลายครามนิรนามผู้นี้ให้เป็น “ครู” แห่งศตวรรษที่ 15

จิตกรเอกได้พยายามสื่อสารกับคนรุ่นหลังผ่านธรรมชาติ ผ่านสีหน้าของคนในภาพวาดของเขาที่ดูมีชีวิตชีวาเป็นธรรมชาติ ซึ่งต่างไปจากสีหน้าของนางแบบนายแบบในยุคปัจจุบันที่ไม่เป็นธรรมชาติ และ เต็มไปด้วยการปั้นแต่ง

เครื่องดินเผาสีครามทั้งสามชิ้นถูกตีราคาหลายสิบล้านดอลลาร์ แต่ชาวประมงผู้เป็นเจ้าของยินดีมอบให้ไปวางแสดงในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ จ.กว๋างนาม เพื่อให้ลูกหลานได้ไปแวะชมเพื่อศึกษา

“ของดี” ทั้ง 3 ชิ้นยังถูกบันทึกเอาไว้ในหนังสือ “เครื่องปั้นดินเผาจากเรืออับปางในเวียดนาม” ที่เขียนโดย เหวียนดี่งเจี๋ยน (Nguyễn Đình Chiến) กับ ฟัมก๊วกกวน (Phạm Quốc Quân) อีกด้วย สื่อออนไลน์ภาษาเวียดนามกล่าว.
กำลังโหลดความคิดเห็น