xs
xsm
sm
md
lg

“แม่ซู” ไปทวาย ชาวเมืองแห่ต้อนรับเนืองแน่น

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นางอองซานซูจีกล่าวกับผู้สนับสนุนที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในเมืองทวาย วันที่ 29 ม.ค. โดยนางเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญที่กองทัพเป็นผู้ร่างขึ้น ในระหว่างการเดินทางรณรงค์หาเสียงครั้งแรกของนาง. --REUTERS/Soe Zeya Tun.

รอยเตอร์ - นางอองซานซูจี ผู้นำฝ่ายค้านพม่า กล่าวเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญที่กองทัพเป็นผู้ร่างขึ้นในระหว่างการเดินทางรณรงค์หาเสียงครั้งแรกของนางในวันนี้ (29 ม.ค.) นับตั้งแต่พรรคการเมืองของนางยุติการคว่ำบาตรระบบการเมืองของประเทศเมื่อปีก่อน พร้อมกับการประกาศว่านางจะลงชิงที่นั่งในสภาของประเทศ

ประชาชนนับพันยืนเบียดกันแน่นขนัดอยู่บนถนน พร้อมเสียงตะโกนโห่ร้อง “ขอให้คุณแม่ซูอายุมั่นยืน” ขณะที่คาราวานของนางซูจี เคลื่อนตัวผ่านเมืองทวาย ห่างจากนครย่างกุ้งไปทางใต้ราว 615 กม.

ในการเดินทางรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ครั้งนี้นับเป็นการเดินทางออกนอกนครย่างกุ้งครั้งที่ 4 ตั้งแต่นางได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระจากการควบคุมตัวภายในบ้านพักในเดือน พ.ย.2553 แสดงให้เห็นถึงความเป็นศูนย์กลางที่เพิ่มมากขึ้นของตัวนางอองซานซูจี

“ยังมีกฎหมายบางข้อที่ขัดขวางเสรีภาพของประชาชนและเราจะมุ่งมั่นต่อสู้เพื่อยกเลิกกฎหมายเหล่านั้นภายใต้กรอบของรัฐสภา” นางซูจี กล่าวกับผู้สนับสนุน หลังจากหารือกับเจ้าหน้าที่ของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ในทวาย

พรรค NLD เคยชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายในปี 2533 ซึ่งเป็นปีที่นางซูจีเริ่มถูกควบคุมตัว แต่รัฐบาลในเวลานั้นปฏิเสธผลการเลือกตั้งและควบคุมตัวสมาชิกพรรครวมทั้งผู้สนับสนุนหลายคน

พรรค NLD คว่ำบาตรการเลือกตั้งครั้งต่อมา ที่มีขึ้นในปี 2553 และการเมืองที่ทหารให้การสนับสนุนชนะการเลือกตั้งครั้งดังกล่าว ขณะที่ฝ่ายค้านร้องเรียนเกี่ยวกับความไม่โปร่งใสของการเลือกตั้ง

การกล่าวปราศรัยของนางซูจีในวันนี้ (29 ม.ค.) เป็นการนำเสนอเกี่ยวกับรายละเอียดนโยบายที่นางจะนำเข้าสู่สภา และยังระบุว่าเธอต้องการที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 2551 ที่กองทัพร่างขึ้น ที่ทำให้กองทัพมีอำนาจอย่างกว้างขวาง เช่น สามารถแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญในคณะรัฐมนตรี ควบคุมประเทศในการประกาศภาวะฉุกเฉิน และครอบครอง 1 ใน 4 ของที่นั่งทั้งหมดในสภา

“เราจำเป็นต้องแก้ไขบางส่วนของรัฐธรรมนูญ” นางซูจี กล่าว และว่าประชาคมระหว่างประเทศเฝ้ารอที่จะช่วยเหลือพม่าทันทีที่อยู่บนเส้นทางประชาธิปไตย

นอกจากนั้น นางซูจี ยังกล่าวถึงการต่อสู้ระหว่างทหารของรัฐบาลและกบฏชนกลุ่มน้อยที่ต้องได้รับการแก้ไข เนื่องจากยังมีการต่อสู้อย่างรุนแรงในรัฐกะฉิ่น
.
<br><FONT color=#000033>นางอองซานซูจี (กลาง) ทักทายบรรดาผู้สนับสนุน ระหว่างเดินทางถึงเมืองทวาย เพื่อสนับสนุนพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยที่ตั้งอยู่ในเมืองนี้. --AFP PHOTO/Soe Than Win.  </font></b>
2
<br><FONT color=#000033>นางอองซานซูจีทักทายผู้สนับสนุนระหว่างเดินทางมาช่วยลูกพรรคหาเสียงที่เมืองทวาย. --AFP PHOTO/Soe Than Win.  </font></b>
3

“ความหลากหลายไม่ใช่สิ่งที่ต้องกลัว เราสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขได้” นางซูจี กล่าว

แม้ว่า นางซูจี จะยังไม่ได้เริ่มต้นหาเสียงอย่างเป็นทางการสำหรับการเลือตั้งที่จะมีขึ้นในวันที่ 1 เม.ย.แต่การกล่าวปราศรัยนอกสำนักงานพรรคต่อบรรดาผู้สนับสนุนที่โบกธงพรรคและสวมเสื้อที่มีภาพใบหน้าของนางซูจี สร้างความรู้สึกว่าเป็นการปราศรัยหาเสียง

“เธอมีความชัดเจนทางการเมืองอย่างมากและพูดถึงความสำคัญของนโยบายต่างๆ” นักการทูตที่อยู่ในฝูงชน กล่าว และว่าการปราศรัยของนางซูจีครั้งนี้เป็นครั้งที่ดีที่สุดที่เขาเคยได้ยินจากนาง

นางอองซานซูจี และพันธมิตรได้ลงสมัครเลือกตั้งเพื่อชิงเก้าอี้ในสภาผู้แทนราษฎรที่เหลืออยู่อีก 48 ที่ จากทั้งหมด 440 ที่ ในการเลือกตั้งซ่อมที่จะมีขึ้นเร็วๆ นี้ ซึ่งจะสร้างความน่าเชื่อถือทางการเมืองให้กับพม่าและช่วยยุติการคว่้ำบาตรจากชาติตะวันตก

นักธุรกิจจำนวนมากที่ส่วนใหญ่มาจากเอเชียต่างมุ่งหน้ามายังนครย่างกุ้งในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเพื่อมองหาโอกาสการลงทุนในประเทศที่มีประชากรอยู่ราว 60 ล้านคน ที่เป็นหนึ่งในตลาดพรมแดนสุดท้ายของเอเชีย

พม่ายังเป็นศูนย์กลางของการต่อสู้ทางอิทธิพลเชิงยุทธศาสตร์ที่สหรัฐมองเห็นโอกาสที่จะขยายความสัมพันธ์และความสมดุลทางเศรษฐกิจและการเมืองที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วของจีนในบริเวณภูมิภาคนี้
<br><FONT color=#000033>ผู้สนับสนุนชูแผ่นภาพนางอองซานซูจี ขณะนางซูจีขึ้นกล่าวกับผู้สนับสนุนที่รวมตัวกันแน่นขนัด. --AFP PHOTO/Soe Than Win.  </font></b>
4
<br><FONT color=#000033>บรรยากาศภายในตลาดปลาของเมืองทวาย เมืองแรกที่นางอองซานซูจีเดินทางมาช่วยลูกพรรคหาเสียงก่อนการเลือกตั้งซ่อมจะมีขึ้นในวันที่ 1 เม.ย. นี้. --AFP PHOTO/Soe Than Win.  </font></b>
5
การเดินทางเยือนเมืองทวายครั้งนี้ ช่วยให้ผู้ลงคะแนนเสียงในพื้นที่ชนบทได้มีโอกาสได้พบเห็นนางซูจี ที่การเดินทางออกนอนกนครย่างกุ้งในอดีตมาพร้อมกับความระแวงสงสัยและความรุนแรงของรัฐบาลเผด็จการทหาร ที่ได้ถ่ายโอนอำนาจให้กับรัฐสภาพลเรือนเมื่อเดือนมี.ค. แต่นายทหารระดับนายพลหลายคนที่เคยอยู่ในรัฐบาลเผด็จการทหารในเวลานี้ได้นำรัฐบาลไปสู่การปฏิรูป ดำเนินการปล่อยนักโทษการเมืองหลายร้อยคน ผ่อนคลายมาตรการควบคุมสื่อ เรียกร้องสันติภาพกับชนกลุ่มน้อย และมีส่วนร่วมกับนางซูจีรวมทั้งฝ่ายค้านคนอื่นๆ

การเดินทางรณรงค์เลือกตั้งในครั้งนี้แตกต่างไปจากครั้งที่เกิดขึ้นเมื่อเดือน ก.ค.2554 ในเมืองพุกาม ทางเหนือของนครย่างกุ้ง ที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยติดตาม ด้วยความหวาดกลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์โจมตีซ้ำเช่นเดียวกับเมื่อครั้งปี 2546 ที่ทำให้ผู้สนับสนุนเสียชีวิตถึง 70 คน

นางซูจี ได้กล่าวกับที่ประชุมเศรษฐกิจโลกที่เมืองดาวอสเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า พม่ายังไม่ถึงจุดเปลี่ยนแปลงอย่างที่สุด แต่การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในเดือนเม.ย. อาจนำประเทศไปใกล้จุดดังกล่าวมากยิ่งขึ้น

หลายคนเชื่อว่า จุดเปลี่ยนของนางซูจีเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 ส.ค. เมื่อนางซูจีและประธานาธิบดีเต็งเส่ง ได้พบปะหารือกันที่กรุงเนปีดอ ซึ่งประธานาธิบดีเต็งเส่งกระตุ้นย้ำต่อรัฐสภาให้ดำเนินการปฏิรูป ขณะที่ นางซูจี กล่าวสนับสนุนรัฐบาลของประธานาธิบดีเต็งเส่ง

ผู้สนับสนุนนางซูจี กล่าวว่า การปรากฏตัวในสภาของนางซูจีจะนำเสียงของการสนับสนุนประชาธิปไตยที่มีพลังไปสู่สมาชิกคนอื่นๆ ที่ยังลังเลจะแสดงความคิดเห็นของตัวเอง

“ในสภา เธอจะสามารถทำอะไรได้มากกว่าครั้งที่ยังอยู่นอกสภา มีหลายสิ่งที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน เช่น ประเด็นปัญหาชนกลุ่มน้อยและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง” นายโก ติน กอ ผู้ไม่เห็นด้วยกับรัฐที่ถูกจับตัวในปี 2550 และได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระจากการนิรโทษกรรมครั้งล่าสุด กล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น