xs
xsm
sm
md
lg

นักเคลื่อนไหวเรียกร้องมาเลฯ ปรับปรุงการคุ้มครองแม่บ้านเขมร

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>นางมู สุคัว (ขวา) สส.ฝ่ายค้าน พรรคสมรังสี ร่วมอยู่ในการแถลงข่าวที่เมืองเปตาลิง จายา ใกล้กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 9 พ.ย. ที่ทั้งกัมพูชาและมาเลเซียถูกเรียกร้องให้ลงสัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานของระหว่างประเทศ เพื่อดูแลสภาพการทำงานของแรงงานและคุ้มครองแรงงานจากความรุนแรงหรือการล่วงละเมิดต่างๆ . --AFP PHOTO/Mohd Rasfan.  </b>

เอเอฟพี -บรรดานักเคลื่อนไหวทั้งมาเลเซียและกัมพูชาออกมาเรียกร้องมาตรการความปลอดภัยเพื่อคุ้มครองแม่บ้านชาวกัมพูชาในมาเลเซียให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อยุติคำสั่งห้ามส่งแม่บ้านจากกัมพูชามายังมาเลเซีย ที่ส่งผลให้ผู้ว่าจ้างหลายพันคนขาดแรงงาน

องค์กรคุ้มครองสิทธิคนต่างด้าวของมาเลเซีย Teneganita และนางมู สุคัว (Mu Sochua) สส.พรรคฝ่ายค้านของกัมพูชา ได้เรียกร้องให้สองประเทศเห็นชอบในการรับประกันขั้นพื้นฐานความปลอดภัยเพื่อให้สามารถกลับมาดำเนินการจ้างงานแรงงานจากกัมพูชาได้อีกครั้งภายใน 3 เดือนข้างหน้า

องค์กรคุ้มครองสิทธิระบุว่า รัฐบาลกัมพูชาได้ออกกำหนดห้ามส่งแรงงานในประเทศไปยังมาเลเซียชั่วคราวเมื่อกลางเดือน ต.ค. หลังมีข้อร้องเรียนจำนวนมากเกี่ยวกับการล่วงละเมิดแรงงาน ส่งผลให้แม่บ้านมากกว่า 3,000 คนในกัมพูชา ต้องรองานอย่างไม่มีกำหนด ขณะเดียวกันผู้จ้างงานในมาเลเซียมากกว่า 40,000 คน ยังคงรอแม่บ้านเหล่านี้อยู่เช่นกัน

สำหรับอินโดนีเซียที่ประเทศหลักในการส่งแม่บ้านมาทำงานในมาเลเซียได้ออกคำสั่งห้ามในลักษณะเดียวกันเมื่อปี 2552 ส่งผลให้ในปีนี้ กัมพูชาระงับส่งแม่บ้านแล้ว 30,000 คน

นางไอรีน เฟอร์นันเดซ ผู้อำนวยการองค์กร Teneganita และนางสุคัวได้เรียกร้องให้ทั้งสองประเทศปรับมาตรฐานสัญญาจ้างแม่บ้าน ให้จำกัดชั่วโมงการทำงานและการรับประกันขั้นพื้นฐาน รวมทั้งลดค่าธรรมเนียมนายหน้าจ้างงาน

นางเฟอร์นันเดซ กล่าวว่า แรงงานส่วนใหญ่อยู่ในสภาพถูกบังคับให้เป็นแรงงานและนายจ้างยังได้รับการยกเว้นโทษ ส่วนนางสุคัวระบุว่า กัมพูชาจำเป็นต้องป้องกันไม่ให้นายหน้าใช้ประโยชน์จากครอบครัวยากจนในชนบทด้วยการส่งหญิงสาวไปมาเลเซียโดยไม่มีการคุ้มครอง

"ในฐานะประเทศต้นทาง เราจำเป็นที่จะต้องแก้ไขปัญหาดังกล่าว และเราต้องกวาดล้างบ้านของเราให้สะอาด" นางสุคัวกล่าว กล่าว

องค์กรคุ้มครองสิทธิของมาเลเซียยังได้เรียกร้องให้มาเลเซียลงนามในอนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศเพื่อการคุ้มครองแม่บ้านให้ดียิ่งขึ้น

แรงงานต่างด้าวราว 1.8 ล้านคน ที่ส่วนใหญ่มาจากประเทศยากจน ทำงานอย่างผิดกฎหมายในมาเลเซีย ตามแหล่งก่อสร้าง โรงงาน และที่อยู่อาศัย ส่วนกรณีการไม่จ่ายค่าแรง หรือการล่วงละเมิดทั้งร่างกายและจิตใจ ยังคงมีปรากฏให้เห็นอยู่เป็นประจำ ซึ่งองค์กรคุ้มครองสิทธิระบุว่า ในปี 2554 องค์กรได้ช่วยเหลือแม่บ้านชาวกัมพูชาแล้วมากกว่า 60 คน.

[มู สุคัว สำเร็จการศึกษาจากสหรัฐฯ ปัจจุบันเป็น สส.และเป็นรองหัวหน้าพรรคคนหนึ่งของพรรคสัมรังสี-- บก.]
กำลังโหลดความคิดเห็น