xs
xsm
sm
md
lg

“สัม รังสี” เข้าตูนิเซีย เตรียมการนำเขมรลุกฮือโค่น “ฮุนเซน”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ภาพอันเป็นสัญลักษณ์-- ในตูนิเซียเริ่มจากการชุมนุมเรียกร้องการมีงานทำกับปัญหาสังคมต่างๆ เริ่มรุนแรงขึ้นปลายปีที่แล้ว ลามไปสู่การเมือง การคอร์รัปชั่น นำไปสู่การขับไล่กลุ่มปกครองฉ้อราษฎร์บังหลวงที่อยู่ในอำนาจมายาวนาน 24 ปี การต่อสู้มีความเป็นธรรมและได้รับการสนับสนุนจากมหาประชาชน หากไม่เป็นธรรม ที่ไหนๆ ก็ไม่มีทางสำเร็จ ชาวตูนิเซียเปลี่ยนแปลงได้สำเร็จในเดือน ม.ค.ปีนี้กลายเป็นจุดเริ่ม ฤดูใบไม้ผลิของโลกอาหรับ แต่ไม่มีเสรีภาพ หรือ Freedom ที่ไหนที่ได้มาฟรีๆ โดยไม่เสียเลือดเนื้อ แม้จะได้ชื่อเป็น การปฏิวัติดอกมะลิ ก็ตาม.-- AFP PHOTO.   </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- นายสัม รังสี ผู้นำฝ่ายค้านกัมพูชาที่ต้องคดีหมิ่นประมาทนายกรัฐมนตรีฮุนเซน กับคดีทำลายทรัพย์สินของทางราชการ เดินทางเข้าประเทศตูนิเซีย ในแอฟริกาเหนือ ดินแดนที่จุดประกายการลุกฮือต่อร้านระบอบเผด็จการที่มาจากการเลือกตั้งของโลกอาหรับที่ดำเนินมาจนถึงวันนี้ เพื่อพบหารือแลกเปลี่ยนกับผู้นำกลุ่มต่างๆ

นายรังสี เดินทางถึงเมืองตูนิส ในวันพฤหัสบดี (21 ก.ค.) สำหรับการเยือนเป็นเวลา 3 วัน ซึ่งจะพบแลกเปลี่ยนความเห็นกับบรรดาผู้นำและนักเคลื่อนทั้งชาวตูนิเซียเอง และนักเคลื่อนไหวจากประเทศต่างๆ เกี่ยวกับภูมิหลังทางสังคมและการเมืองที่นำไปสู่การลุกฮือโค่นล้มกลุ่มผู้นำที่อยู่ในอำนาจติดต่อกันมานานหลายทศวรรษ

พรรคสัม รังสี รายงานเรื่องนี้ในเว็บไซต์ของพรรค

ความเคลื่อนไหวที่เรียกว่า “การปฏิวัติดอกมะลิ” หรือ “ฤดูใบไม้ผลิแห่งโลกอาหรับ” ถูกจุดประกายขึ้นและแผ่ลามไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผู้นำขึ้นในตูนิเซียและในอียิปต์เป็นแห่งที่สอง

การต่อต้านรัฐบาลเผด็จการกำลังดำเนินอยู่ในเยเมน ซีเรีย กับ ลิเบีย และยังคงคุกรุ่นอยู่ในอีกหลายประเทศ ซึ่งผู้นำล้วนอยู่ในอำนาจติดต่อกันมานานหลายสิบปี โดยผ่านการเลือกตั้งเช่นเดียวกับระบอบฮุนเซนในกัมพูชา ที่เวียดนามนำขึ้นสู่อำนาจในปี 2522

การเปลี่ยนแปลงโดยไม่ใช้ความรุนแรงในตูนิเซีย แต่ก็มีผู้เสียชีวิตหลายคนเมื่อ 7 เดือนก่อน ได้เป็นแรงบันดาลใจให้แก่ประเทศที่ถูกปกครองโดยกลุ่มเผด็จการยุคใหม่ในทั่วโลก

นักเคลื่อนไหวของพรรคฝ่ายค้านในกัมพูชาและชาวเขมรในต่างแดนกล่าวว่า กลุ่มฮุนเซน เจียซิม เฮงสัมริน ก็จะมีชะตากรรมไม่ต่างไปจากบรรดาเผด็จการจากการเลือกตั้งในโลกอาหรับ แม้นักวิเคราะห์ตะวันตกจะมองว่า เรื่องแบบนี้อาจจะไม่เกิดขึ้นในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีภูมิหลังทางสังคมและการเมืองต่างกันก็ตาม

ระหว่างไปร่วมการประชุมกลุ่มเสรีนิยมจากทั่วโลก (Congress of Liberal International) ในฟิลิปปินส์วันที่ 19 มิ.ย.2554 นายรังสีได้เรียกร้องให้มีการจัดตั้งพันธมิตรของประชาชนต่อต้านเผด็จการในกัมพูชาที่อยู่ในอำนาจติดต่อกันมาถึง 32 ปี ในนั้น 24 ปีเป็นนายกรัฐมนตรี
.
<bR><FONT color=#000033>ประธานาธิบดีอาบิดีน เบน อาลี ร่วงเป็นคนแรกหลังอยู่มา 24 ปี ประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัก เป็นรายที่ 2 หลังเป็นเจ้าของอียิปต์มา 32 ปี  และในลิเบีย พ.อ.มูอัมมาร์ กดัดาฟี อึดกว่าใครๆ แต่ชะตากรรมก็ไม่แน่นอนแม้จะครอบครองทะเลทรายกับบ่อน้ำมันมานานถึง 42 ปีแล้วก็ตาม ไม่ต่างกับครอบครัวผู้นำในซีเรียกับเยเมนซึ่งการประท้วงขับไล่กำลังคุกรุ่น แต่ไกลออกไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้นำกัมพูชากับครอบครัวที่ร่ำรวยล้นพ้นแม้ประชาชนจะยากจนแบบจมพื้นธรณี ประกาศจะครองอำนาจจนอายุ 90 ปี และอยู่มาเป็นปีที่ 24 แล้ว ขณะที่นักวิเคราะห์มองไม่เห็นโอกาสที่จะเกิดฤดูใบไม้ผลิในประเทศนี้. </b >
2
ชาวเขมรในต่างแดนหลายกลุ่มได้ประกาศรวมตัวกันให้ข้อมูลข่าวสารแก่ชาวกัมพูชาผ่านเว็บไซต์ต่างๆ หลายเว็บได้ก่อตัวขึ้นใหม่ด้วยเจตนารมณ์เพื่อโค่นล้มระบอบฮุนเซน แต่สภาพความเป็นจริงก็คือ มีชาวเขมรเพียงหยิบมือเดียวที่เข้าถึงและใช้อินเตอร์เน็ตได้ ขณะที่ประชากรร้อยละ 85 เป็นชาวนายากไร้ มีชีวิตความเป็นอยู่ต่ำกว่ามาตรฐานความยากจนขององค์การสหประชาชาติ

ที่ผ่านมา ได้มีการลักลอบแจกจ่ายใบปลิวโจมตีรัฐบาลฮุนเซนมาหลายครั้งทั้งในกรุงพนมเปญกับอีกหลายจังหวัดที่อยู่ไกลออกไป คือ พระตะบองทางตะวันตก กัมโป้ท กับพระสีหนุในภาคใต้ และ จ.มณฑลคีรี กับ จ.กระแจ๊ะ ทางภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ

อย่างไรก็ตาม นักเคลื่อนไหวที่ออกแจกจ่ายใบปลิวต่อต่านรัฐบาลหลายคนถูกจับตัวไปและถูกดำเนินคดีฐาน “เผยแพร่ความเท็จ” ที่รอดไปได้ยังคงถูกติดตาม และหลายคนหายตัวไป

รัฐบาลฮุนเซน ได้ออกกฎหมายห้ามการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลทุกรูปแบบ การชุมนุมประท้วงใดๆ จะต้องขออนุญาตและถูกจำกัดบริเวณให้จัดอยู่ภายใน “สวนประชาธิปไตย” ที่จัดขึ้นทั้งในกรุงพนมเปญและในจังหวัดต่างๆ เท่านั้น

ฮุนเซน เป็นผู้นำรัฐบาลมายาวนานเท่าๆ กับ อดีตประธานาธิบดี เบนอาลี (24 ปี) แห่งตูนิเซีย ที่ถูกประชาชนลุกฮือไล่ออกจากอำนาจไปเป็นคนแรก และ อดีตประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัก แห่งอียิปต์ ซึ่งครองอำนาจในอียิปต์ติดต่อกันมานาน 32 ปี เป็นรายที่สอง

ชาวเยเมนยังคงลุกฮือต่อต้านประธานาธิบดีอาลี อับดัลเลาะซาเละ (Ali Abdullah Saleh) ซึ่งอยู่ในตำแหน่งติดต่อกันมา 33 ปีแล้ว ชาวซีเรียก็กำลังพยายามโค่นล้มประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสสาด ฮาเฟซ อัสสาด ที่ครองอำนาจมานาน 11 ปี และ หากนับรวมกับช่วงที่บิดาของเขาอยู่ในตำแหน่งก่อนหน้านี้ด้วย ครอบครัวนี้ก็จะครอบครองประเทศมาเป็นปีที่ 40
ตูนิเซียเริ่มฤดูใบไม้ผลิ
by AFP, Reuters

3

4

5
ร้อนแรงมากที่สุดในปัจจุบันคือ ความพยายามโค่นล้มประธานาธิบดีมูอัมมาร์ กัดดาฟี (Muammar Gaddafi) นายทหารยศพันเอกที่ครองอำนาจคนเดียวมาเป็นปีที่ 42 หลังจากโค่นล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชในลิเบีย ฝ่ายต่อต่านกัดดาฟีได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มนาโตทั้งเงินทองอาวุธ และปฏิบัติการทางทหาร

สหรัฐฯ ได้ยื่นคำขาดจะไม่มีการเจรจาใดๆ กับกัดดาฟี และ ทางออกเดียวคือ จะต้องลงจากอำนาจฐานเป็นทรราชที่กดขี่ปราบปรามประชาชนอย่างแสนสาหัส

นายรังสีไม่สามารถเดินทางกลับประเทศได้ หลังถูกศาลที่อยู่ใต้อำนาจของฮุนเซนโดยตรงตัดสินจำคุกเป็นเวลา 18 เดือนฐานหมิ่นประมาท ในยุคที่กฎหมายอาญาถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกำจัดศัตรูทางการเมืองอย่างกว้างขวางในกัมพูชา

ปีที่แล้วผู้นำฝ่ายค้านซึ่งมีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรเพียง 21 เสียง ถูกศาล จ.สวายเรียง ตัดสินให้จำคุกอีก 2 ปีฐาน "ใช้เอกสารเท็จ" และ ทำลายทรัพย์สินทางราชการให้ได้รับความเสียหาย ซึ่งหมายถึงกรณีที่นายรังสีนำราษฎรบุกเข้าถอนหลักปักปันเขตแดนที่เวียดนามปักล้ำเข้าไปในที่นาของราษฎรตามแนวชายแดนด้านนั้น

พรรคฝ่ายค้านกัมพูชากล่าวว่าหลายปีมานี้ รัฐบาลฮุนเซนได้อ่อนข้อให้แก่เวียดนามในการปักปันเขตแดน ทำให้กัมพูชาสูญเสียดินแดนไปจำนวนมากตามแนวชายแดนทางตะวันออกของประเทศ

ปัญหาเส้นเขตแดนเวียดนามกับกัมพูชามีความคล้ายคลึงชายแดนกัมพูชา-ไทย ซึ่งใช้แผนที่มาตราส่วน 1:200,000 เช่นเดียวกันในการกำหนด ต่างกันที่ชายแดนที่เป็นปัญหาไม่มีเส้นเขตแดนธรรมชาติและจะต้องจัดทำเขตแดนขึ้นเอง

เวียดนาม-กัมพูชาได้ตกลงกันปลายปีที่แล้ว ว่าจ้างให้บริษัทจากเดนมาร์กแห่งหนึ่งจัดทำแผนที่มาตราส่วน 1: 50,000 ขึ้นมาเพื่อให้มีรายละเอียดในการกำหนดเส้นเขตแดน.

ลามเข้าสู่อียิปต์
by AFP, Reuters

6

7

8

9

10
เดือดในเยเมน
by AFP, Reuters

11

12

13

14
ติดอาวุธฝ่ายต่อต้านในลิเบีย
by AFP, Reuters

15

16

17

18

19

20
กำลังโหลดความคิดเห็น