xs
xsm
sm
md
lg

เขมรสร้างอนุสรณ์ 37 นักข่าวต่างชาติ ตายในช่วงสงคราม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ภาพวันที่ 17 ธ.ค.2550 สวนสาธารณะริมถนนคริสโตเฟอร์ ฮาว (Christopher Howes) ถ่ายจากบริเวณหน้าโรงแรมกรุงแรฟเฟลส์ เลอ รอยัล (Raffles Le Royal) โรงแรมเก่าแก่ที่ผู้สื่อข่าวต่างชาติเคยใช้เป็นศูนย์การพบปะและส่งข่าวกลับสำนักในช่วงปีแห่งสงคราม อนุสรณ์สำหรับผู้สื่อข่าวที่เสียชีวิตจะสร้างขึ้นในบริเวณนี้ ไกลสุดในภาพคือด้านหลังของวัดพนม ขวามือเป็นสถานทูตสหรัฐฯ.-- ภาพโดย วุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร.  </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- ทางการกัมพูชาได้ตกลงสร้างอนุสรณ์สถานให้กับผู้สื่อข่าวจากทั่วโลก ที่เสียชีวิตหรือสูญหายไปในกัมพูชา ระหว่างปี 2513-2518 ในสมัยรัฐบาลลอนนอลที่สหรัฐฯ ให้การหนุนหลัง จนกระทั่งถูกโค่นลงจากอำนาจโดยกองกำลังพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา หรือ “เขมรแดง”

ตัวเลขของสโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศในกรุงพนมเปญเมื่อก่อนนี้ได้บันทึกจำนวนผู้สื่อและช่างภาพเสียชีวิตในกัมพูชาไว้กว่า 50 คน แต่รัฐบาลกัมพูชาคงตัวเลขอย่างเป็นทางการเอาไว้อย่างน้อย 37 คนเท่านั้น

ถึงกระนั้นก็ผู้สื่อข่าวเสียชีวิตและสูญหายไปในช่วง 5 ปีแห่งสงครามในกัมพูชา ก็ยังมีจำนวนมากกว่าที่เสียชีวิตในสงครามเวียดนามทั้งหมด นายเขียวกัญฤทธิ์ รัฐมนตรีกระทรวงแถลงข่าว กล่าวว่า รัฐบาลกำลังพยายามอย่างยิ่งในการจัดสร้างอนุสรณ์ เพื่อเป็นการเคารพและรำลึกถึงคนเหล่านั้น

นายเขียว ได้หารือเรื่องนี้ในวันจันทร์ 27 มิ.ย.ที่ผ่านมา กับนางอัตสึโกะ คาเนโกะ อดีตหัวหน้าสำนักข่าวเกียวโด (Kyodo) ประจำกรุงพนมเปญ กับ นางโยโกะ อิชิยามา ภรรยาของผู้สื่อข่าวของเกียวโดคนหนึ่งที่เสียชีวิตระหว่างปฏิบัติงานในกัมพูชา

ทางการกัมพูชาได้เลือกส่วนหนึ่งในบริเวณสวนสาธารณะหน้าโรงแรมเลอโรยัล (Le Royal) เป็นสถานที่สำหรับก่อสร้างอนุสรณ์สถาน เนื่องจากโรงแรมดังกล่าวเป็นแหล่งชุมนุมของบรรดานักข่าวต่างชาติ และใช้เป็นที่ส่งเทเล็กซ์รายงานข่าวกลับไปยังสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศอีกด้วย

ผู้สื่อข่าวชาวญี่ปุ่นเสียชีวิตถึง 10 คนในช่วงปีดังกล่าวซึ่งเป็นจำนวนมากที่สุด รวมทั้งนายโกกิ อิชิยามา (Koki Ishiyama) อดีตผู้สื่อข่าวสำนักข่าวเกียวโดสามีของนางโยโกะด้วย

รายอื่นๆ เป็นผู้สื่อข่าวฝรั่งเศส 8 คน อเมริกัน 7 ชาวเขมรเอง 4 สวิส 2 คน นอกจากนั้นเป็น เยอรมัน ออสเตรีย เนเธอร์แลนด์ อินเดีย ลาวกับออสเตรเลียชาติละ 1 คน

เดือน เม.ย.ปีที่แล้วนางโยโกะกับเพื่อนอดีตผู้สื่อข่าวต่างชาติจากทั่วโลกราว 40 คน ได้เดินทางเข้ากัมพูชาและชุมนุมกันใน จ.กัมปงสะปือ ทางตะวันตกกรุงพนมเปญ ในโอกาสครบรอบ 40 ปีการสิ้นสุดของสงคราม ทุกคนเข้าร่วมพิธีทางศาสนาทำบุญอุทิศส่วนกุศล แด่มิตรสหายที่เสียชีวิต

ความคิดริเริ่มเกี่ยวกับการสร้างอนุสรณ์สถานเป็นจริงเป็นจังยิ่งขึ้นเมื่อปีที่แล้ว ผู้สื่อข่าวทุกคนพร้อมใจกันยินดีจะช่วยออกทุนสมทบกับทางการกัมพูชาในการก่อสร้าง ซึ่งยังไม่มีการเปิดเผยรูปแบบ รายละเอียด รวมทั้งขนาดของอนุสรณ์สถานในขณะนี้

ผู้สื่อข่าวที่สูญหายคนยังรวมทั้งฌอน ฟลีน (Sean Flynn) นักแสดงฮอลลีวูด ชาวอเมริกันที่หันมาประกอบอาชีพนี้ ฟลีนซึ่งในขณะนั้นอายุเพียง 28 ปีหายไปอย่างไร้ร่องรอยขณะปฏิบัติงานใน จ.รัตนคีรี ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชา ติดชายแดนเวียดนาม

ญาติและเพื่อนๆ ได้ช่วยติดตามค้นหาตลอดเวลา 30 ปีที่ผ่านมาแต่ยังไม่พบหลักฐานหรือร่องรอยใดๆ

มีความเป็นไปได้ทั้งสองทางเกี่ยวกับการหายสาบสูญของผู้สื่อข่าวคนนี้ ทฤษฎีแรกเขาถูกสังหารโดยกองโจรเขมรแดงฐานต้องสงสัยเป็น "ซีไอเอ" อันเป็นข้อหาที่เขมรแดงนิยมมากที่สุดในการสังหารศัตรูทางการเมืองในช่วงนั้น

มีความเป็นได้เช่นกันที่ฟลีนถูกสังหารโดยเจ้าหน้าที่ระบอบลอนนอล ฐานไปรู้เห็นการสังหารหมู่ประชาชนอย่างโหดร้าย เพราะต้องสงสัยเป็นคอมมิวนิสต์

ในช่วง 5 ปีดังกล่าว เจ้าหน้าที่ทั้งทหารและตำรวจของฝ่ายรัฐบาล ได้สังหารประชาชนผู้บริสุทธิ์อย่างป่าเถื่อนอีกจำนวนมากด้วยข้อหาฝักใฝ่ในลัทธิคอมมิวนิสต์หรือสนับสนุนเขมรแดง แต่ไม่ค่อยมีการกล่าวถึงเรื่องนี้มากนัก ทุกฝ่ายมักจะโยนกระดูกกับหัวกะโหลกมนุษย์ทุกชิ้นที่ขุดพบให้เป็นผลงานของฝ่ายเขมรแดง
<bR><FONT color=#000033>ภาพวันที่ 17 ธ.ค.2550 นักศึกษาสาวนั่งริมสวนสาธารณะด้านหน้ามหาวิทยาลัยการบริหารกรุงพนมเปญในยามเช้าตรู่ ด้านหลังคือโรงแรมเลอรอยัล (Raffles Le Royal) บริเวณนี้ถูกเลือกเป็นที่ก่อสร้างอนุสรณ์สถานสำหรับผู้สื่อข่าวต่างชาติที่เสียชีวิตในกัมพูชาระหว่างปี 2513-2518 สมัยรัฐบาล พล.อ.ลอนนอล ที่สหรัฐฯ หนุนหลังจนถึงปีที่ฝ่ายเขมรแดงยึดอำนาจ.-- ภาพโดย วุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร.  </b>
2
รำลึกถึงเพื่อนผู้จากไป by Reuters
<bR><FONT color=#000033>คาร์ล โรบินสัน (Carl Robinson) อดีตผู้สื่อข่าวเอพีประจำกรุงพนมเปญ กับนายชางซอง (Chhang Song) อดีตรัฐมนตรีกระทรวงแถลงข่าวกัมพูชา ยืนอยู่ข้างแผ่นป้ายรำลึกถึงผู้สื่อข่าวที่เสียชีวิตในช่วงสงคราม (2513-2518) นายโรบินสันกับผู้สื่อข่าวต่างชาติราว 40 คน รวมตัวกันใน จ.กัมปงสะปือ วันที่ 22 เม.ย.2553 เพื่อรำลึกถึงเพื่อนพ้องที่จากไป. --  REUTERS/Chor Sokunthea. </b>
3
<bR><FONT color=#000033>ทิม เพจ (Tim Page) อดีตช่างภาพนิตยสารไทม-ไลฟ์ แห่งสหรัฐฯ เข้าร่วมพิธีทางศาสนา วันที่ 22 เม.ย.2553 ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ใน จ.กัมปงสะปือ ห่างจากกรุงพนมเปญไปทางตะวันตกราว 65 กม. เพื่อรำลึกถึงเพื่อนพ้องที่เสียชีวิตในช่วงปี 2513-2518 อดีตผู้สื่อข่าวราว 40 คนจากทั่วโลกที่เคยปฏิบัติงานในกัมพูชาไปรวมตัวกันที่นั่น แต่อนุสรณ์สถานผู้เสียชีวิตจะสร้างขึ้นในกรุงพนมเปญ. -- REUTERS/Chor Sokunthea.  </b>
4
<bR><FONT color=#000033>อลิซาเบ็ธ เบ็คเกอร์ (Elizabeth Becker) อดีตผู้สื่อข่าววอชิงตันโพสต์ อ่านรายชื่อเพื่อนพ้องที่เสียชีวิตและสูญหายในช่วงปี 2513-2518 ขณะที่โยโกะ อิชิยามา (Yoko Ishiyama) อดีตผู้สื่อข่าวเกียวโด นั่งสะอื้นอยู่ข้างๆ ในพิธีทำบุญรำลึกถึงสามีซึ่งเป็นผู้สื่อข่าวสำนักเดียวกัน พิธีจัดขึ้นที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งใน จ.กัมปงสะปือ (Kampong Speu)  อดีตผู้สื่อข่าวราว 40 คนจากทั่วโลกที่เคยไปปฏิบัติงานในกัมพูชาไปรวมตัวกันที่นั่น วันที่ 22 เม.ย.2553.-- REUTERS/Chor Sokunthea. </b>
5
กำลังโหลดความคิดเห็น