xs
xsm
sm
md
lg

การท่องเที่ยวคึกคักหวั่นปราสาทในกัมพูชาได้รับความเสียหาย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 21 ก.พ. นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินขึ้นลงบันไดที่ติดตั้งเสริมเพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถชมปราสาทนครวัดได้สะดวกขึ้นและช่วยป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับโครงสร้างปราสาท หลายหน่วยงานที่ดูแลแหล่งมรดกโลกในประเทศกำลังพัฒนาต่างวิตกว่าการท่องเที่ยวที่กำลังเติบโตขึ้นหลังวิกฤตทางการเงินฟื้นตัว แหล่งโบราณสถานที่สำคัญที่เต็มไปด้วยคุณค่าทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ จะได้รับความเสียหายจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆหากไม่ได้รับการป้องกันที่ดี    -- AFP PHOTO/TANG CHHIN SOTHY </font></b>

เอเอฟพี - แผ่นป้ายสัญลักษณ์ห้ามปีนป่ายคงไม่สำคัญกับบรรดานักท่องเที่ยวที่พยายามหามุมถ่ายภาพให้ออกมาสวยที่สุด โดยเฉพาะช่วงเวลาพระอาทิตย์ตกดินเหนือปราสาทนครวัด ที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของกัมพูชา และปราสาทพนมบาแค็ง เป็นอีกสถานที่หนึ่งในการชมพระอาทิตย์ตกดินที่ให้ทัศนียภาพน่าประทับใจไม่แพ้กัน แต่ก็ยังไม่ใช่ที่ที่นักท่องเที่ยวจะผ่อนคลายได้มากนัก และยังต้องใช้ความพยายามอย่างมากที่จะบันทึกภาพโดยไม่ให้มีนักท่องเที่ยวคนติดอื่นเข้ามาในรูปด้วย

ทั้งนี้ ในปี 2553 ที่ผ่านมา กัมพูชามีนักท่องเที่ยวเยือนปราสาทนครวัด ถึง 1.15 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ถึง 25% เนื่องจากภาวะวิกฤตทางการเงินฟื้นตัว และระบบโครงสร้างพื้นฐานพัฒนาเดีขึ้น ทำให้จำนวนผู้คนที่เดินทางมายังประเทศที่อุดมไปด้วยธรรมชาติและวัฒนธรรมอย่างกัมพูชา จึงหลั่งไหลกันมา ขณะเดียวกัน ก็นำมาซึ่งรายได้เป็นจำนวนมาก แต่นักสังเกตการณ์วิตกว่า การเติบโตของการท่องเที่ยวเช่นนี้ อาจสร้างความเสียหายให้กับมรดกโลกที่มีคุณค่าแต่เปราะบางเช่นนี้

ปราสาทนครวัด เป็นปราสาทที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในบรรดาหมู่ปราสาทต่างๆ ของกัมพูชา นักท่องเที่ยวเดินชมอย่างอิสระรอบปราสาทสมัยศตวรรษที่ 12 และเพิกเฉยป้ายที่ระบุให้เดินในทิศทางเดียว ทั้งยังปีนป่ายไปบนหินที่ร่วงหล่น หลายคนเอนตัวพิงกำแพงปราสาท ขณะที่บางคนใช้มือสัมผัสไปบนรอยภาพแกะสลักหิน

โรนา โซรานโน นักท่องเที่ยวจากแคลิฟอร์เนีย กล่าวหลังจากสิ้นสุดการทัวร์ปราสาท ว่า เริ่มสังเกตเห็นร่องรอยสึกหรอ แต่ไม่รู้ว่าเป็นเพราะผ่านช่วงเวลานานหลายศตวรรษ หรือเป็นเพราะนักท่องเที่ยวจำนวนมากเหล่านี้ ขณะที่ มาร์คัส เวลช์ เพื่อนที่ร่วมเดินทางมาด้วยกัน กล่าวว่า ในอีกด้านหนึ่งเป็นเรื่องที่ยอดเยี่ยมมากที่สามารถก้าวขึ้นไปยืนอยู่บนหินโบราณและใกล้ชิดกับประวัติศาสตร์เหล่านี้ แต่ก็สงสัยว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอีกหลายปีต่อจากนี้ไป

ผู้อำนวยการองค์กร เจฟฟ์ มอร์แกน จากกองทุนมรดกโลก (World Heritage Fund) องค์กรเอกชนไม่หวังกำไรในสหรัฐ ที่ทำงานอนุรักษ์แหล่งโบราณสถานในประเทศกำลังพัฒนา ระบุว่า ปราสาทนครวัดอยู่ในความเสี่ยงอย่างมากจากการขาดความควบคุมเหล่านี้ สถานที่ปรักหักพังเหล่านี้มีอายุ 600-800 ปี จำเป็นต้องได้รับการคุ้มครองจากการท่องเที่ยว ด้วยการใช้เส้นทางที่มีมาตรฐาน สิ่งคุ้มกัน ทางเดิน และการบังคับใช้กฎระเบียบต่างๆ

นายเง็ธ โสธี รองผู้อำนวยการกรมพัฒนาการท่องเที่ยวนครวัด กล่าวว่า องค์กรอัปสราที่เป็นผู้รับผิดชอบดูแลแหล่งโบราณสถานเหล่านี้ กล่าวว่า องค์กรได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่จะช่วยลดอันตรายต่างๆ ต่อตัวปราสาท ด้วยการกั้นเชือกบริเวณโครงสร้างที่เสียหายได้ง่าย จ้างคนมากกว่า 270 คน เฝ้าระวังนักท่องเที่ยว และคอยเคลื่อนย้ายคนออกจากพื้นที่แออัด และทุกๆ 2 ปี องค์กรอัปสราจะประชุมกับเจ้าหน้าที่จากองค์กรยูเนสโก และผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ เพื่อหารือถึงความพยายามในการอนุรักษ์และอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น
<br><FONT color=#000033> ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 21 ก.พ. มัคคุเทศน์ท้องถิ่น (ซ้าย) กำลังอธิบายภาพแกะสลักฝาผนังในปราสาทนครวัดให้แก่นักท่องเที่ยว แต่ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยือนปราสาทนครวัดมีมากทำให้บางครั้่งดูแลไม่ทั่วถึง นักท่องเที่ยวบางคนก็ยื่นมือไปสัมผัสกับภาพสลักบนผนังแม้จะมีป้ายห้ามหรือมีเชือกกั้นอยู่ก็ตาม -- AFP PHOTO/TANG CHHIN SOTHY  </font></b>
<br><FONT color=#000033> ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 21 ก.พ.  นักท่องเที่ยวยืนอยู่ระหว่างช่องหน้าต่างของปราสาทนครวัดเพื่อถ่ายรูปเป็นที่ระลึก องค์กรต่างๆที่ดูแลแหล่งมรดกโลกวิตกว่าการกระทำเหล่านี้ส่งผลเสียต่อปราสาทในอนาคต หากไม่มีการจัดการที่ดี  -- AFP PHOTO/TANG CHHIN SOTHY </font></b>
<br><FONT color=#000033> ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 23 ก.พ.  นักท่องเที่ยวจำนวนมากจับจองพื้นที่รอบสระน้ำในบริเวณปราสาทนครวัดเพื่อเฝ้าชมพระอาทิตย์ขึ้นเหนือตัวปราสาท  -- AFP PHOTO/TANG CHHIN SOTHY </font></b>
กำลังโหลดความคิดเห็น