xs
xsm
sm
md
lg

เวียดเศร้าลูกหมีเคราะห์ร้ายสิ้นชีพ เหตุขังแม่สกัดน้ำดี

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#3366ff>สลดใจ-- ภาพเอเอฟพีเผยแพร่วันที่ 6 ก.พ.2553 เป็นหมีควายหนึ่งใน 19 ตัวที่ได้รับการช่วยเอออกจากฟาร์มเพาะเลี้ยงที่ผิดกฎหมายของชาวไต้หวัน ใน จ.บี่งซเวือง (Binh Duong)  ช่วงวันตรุษที่ผ่านมาหมีเพศเมียตัวหนึ่งได้ให้กำเนิดลูกน้อยอย่างไม่มีใครคาดคิดมาก่อน แต่สภาพอิดโรยของแม่ทำให้เจ้า เสือน้อย เสียชีวิตในสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา.</FONT></bR>

ไซ่ง่อนหยายฟง-- ลูกหมีควายตัวน้อยที่เกิดออกมาอย่างไม่ตั้งใจ จากแม่หมีที่ถูกช่วยมาจากฟาร์มสกัดดีหมีผิดกฎหมายในเวียดนาม ได้เสียชีวิตแล้วในสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อข่าวนี้เผยแพร่ออกไปก็ได้ทำให้ประชาคมออนไลน์เวียดนามพากันเศร้าสลดใจ หลายคนกล่าวว่าสาเหตุเนื่องจาก สภาพของแม่หมีที่ไม่สมบูรณ์เนื่องจากถูกขังเพื่อสกัดน้ำดี

ตามรายงานของสำนักข่าวเอเอฟพี นักสังคมสงเคราะห์สัตว์รายหนึ่งยืนยันเรื่องนี้อย่างเป็นทางการในวันจันทร์ (22 ก.พ.)

"เสือน้อย" ลูกหมีอายุ 1 สัปดาห์ ที่ตั้งชื่อต้อนรับเทศกาลวันตรุษญวน ตายในเช้าวันอาทิตย์ (21 ก.พ.) ภายในช่วยเหลือหมีควาย ใกล้กรุงฮานอย แม้ว่าเจ้าหน้าที่จะพยายามช่วยเหลืออย่างเต็มที่ หมีเคราะห์ร้ายเหล่านี้ได้รับการดูแลจากมูลนิธิสัตว์แห่งเอเชีย (Animals Asia Foundation) ฮ่องกง

แม่หมีควายของเจ้าเสือน้อย เป็นหนึ่งในหมี 19 ตัว ที่ได้รับการช่วยเหลือในเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา หลังจากถูกจับขังอยู่ในตู้คอนเทนเน่อร์สำหรับบรรทุกสินค้าที่ จ.บิ่งเซวือง ใกล้กับนครโฮจิมินห์

"ทีมสัตว์แพทย์ของเราต่างรู้สึกแปลกใจกับการเกิดของลูกหมี เนื่องจากฟาร์มสัตว์ในเวียดนามถูกห้ามไม่ให้มีการเพาะพันธุ์" มูลนิธิสัตว์แห่งเอเชียชี้บนเว็บไซต์

นักสงเคราะห์สันนิษฐานว่า แม่หมีอาจจะถูกจับออกไปจากป่า ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายของเวียดนาม นอกจากนั้นยังมีหมีตัวอื่นๆ ที่เสียชีวิตลงในภายหลัง หลังจากพบว่า อวัยวะภายในของหมีถูกตัดออกไปด้วย

ดีหมีถูกทำให้เชื่อว่า เป็นยาชั้นดีในการรักษาโรคหลายชนิดตามตำรับยาแผนโบราณของจีน โดยน้ำดีของหมีจะถูกสกัดออกมาด้วยเข็มฉีดยาในขณะที่หมียังมีชีวิตอยู่ ซึ่งกระบวนการสกัดดีหมีนี้กลุ่มนักเคลื่อนไหวระบุว่าเป็นการกระทำที่ส่งผลอันตรายต่อหมีอย่างมาก

การทำฟาร์มหมีเพื่อสกัดน้ำดีถือว่าเป็นสิ่งผิดกฎหมายในเวียนดามในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่เจ้าของได้รับอนุญาตให้เลี้ยงหมีที่มีอยู่เดิมต่อไป และ ในปี 2548 เวียดนามได้ทำฝังไมโครชิปลงไปในตัวหมีหลายพันตัวเป็นการลงทะเบียน เพื่อให้สามารถตรวจสอบและควบคุมจำนวนประชากรหมีที่เลี้ยงไว้

หมีควาย ( Asiatic black bear) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “หมีดำพันธุ์เอเชีย” เป็นสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์.
กำลังโหลดความคิดเห็น