ชาวประมงจาก จ.ฝูเอียน (Phu Yen) ที่อยู่ติดกัน สามารถลากฉลามยักษ์ขึ้นฝั่งได้นั้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา สิ่งนี้ช่วยลดความหวาดผวาของผู้คนที่ไปเที่ยวหาดทรายลงได้ชั่วคราวเท่านั้น คนจำนวนไม่น้อยยังไม่กล้าลงเล่นน้ำ เพราะเกรงว่า อาจจะเกิดการ "จับผิดตัว" และ ยังมีคำถามค้างคาใจว่า ใต้ลงไปในอ่าว "ยังจะอยู่มีอีกหรือไม่"
และทุกอย่างก็เป็นไปดังคาด
นายฟานจ่องโห่ (Phan Trong Ho) รองผู้อำนวยการสำนักงานการเกษตรและพัฒนาชนบท จ.บี่งดีง กล่าวว่า ดูจากน้ำหนักของปลาที่จับได้ รวมทั้งพิจารณาบุคลิกลักษณะโดยรวม จนถึงรอยแผลที่ถูกกัด ฉลามเคราะห์ร้ายที่ถูกสังหาร ไม่ใช่ตัวที่บรรดานักล่าเงินรางวัลออกติดตามหา
ชาวประมงที่มีประสบการณ์ก็เห็นตรงกันว่า ขนาดของฉลามที่ถูกจับได้ ไม่ใช่จะกัดได้แต่ขาของนักเล่นน้ำเท่านั้น แต่สามารถกลืนคนได้ทั้งตัว
ดร.หวอสีต๋วน (Vo Si Tuan) ผู้อำนวยการสถาบันสมุทรศาสตร์เมืองญาจาง (Nha Trang) กล่าวว่า ตัวที่ถูกจับได้เป็น "ฉลามดำ" (Black Shark) สายพันธุ์หนึ่ง ที่ไม่ได้มีนิสัยดุร้าย ต่างกับพวกฉลามขาว ฉลามเสือหรือฉลามหัวค้อน
ตามรายงานที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม วันอาทิตย์ (7 ก.พ.) ที่ผ่านมา พ่อค้าคนหนึ่งในเมืองกวีเญิน ได้ซื้อฉลามเคราะห์ร้ายไปในราคา 30 ล้านด่ง (19,500 ด่ง/ดอลลาร์) ไม่รวมครีบ (หู) ของมันที่แยกขายต่างหาก โดยมีผู้ไปอีก 30 ล้านด่ง ฉลามถูกชำแหละและขายเนื้อไปจนหมดเกลี้ยงในตลาด
ในช่วงกลางเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา มีผู้ลงเล่นน้ำในอาวกวีเญิน และถูกสัตว์น้ำลึกลับกัดได้แผลเหวอะไปหลายคน สถาบันสมุทรศาสตร์ญาจางก็ยืนยันว่าเป็นแผลที่ถูกฉลามกัด แต่ไม่สามารถระบุพันธุ์ได้ และหากรวมกับเหตุการณ์อื่นๆ เมื่อปีที่แล้ว จำนวนผู้ที่ถูกกัดก็มีกว่า 10 คน
เทศบาลนครกวีเญินตั้งเงินรางวัลนำจับ 10 ล้านด่งให้แก่ใครก็ได้ที่จับฉลามดุขึ้นมาได้ ภาคเอกชนของจังหวัดบริจาคอีก 20 ล้านด่งเข้าสมทบเงินค่าหัว เพื่อเร่งหาทางขจัดความน่าสะพรึงกลัวออกไปจากอ่าวท่องเที่ยวแห่งนี้
ฉลามยักษ์หนัก 1 ตัว เป็นตัวแรกที่ถูกจับขึ้นมา แต่ความสยดสยองก็ยังไม่ได้จากไป และการออกไล่ล่ายังดำเนินต่อไป.