xs
xsm
sm
md
lg

พบแหล่งมนุษย์โบราณ 2,000 ปีในหลวงพระบาง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#3366ff>ภาพจากเว็บไซต์มหาวิทยาลัยแห่งเพนซิลวาเนีย แสดงแหล่งโบราณคดีที่ถ้ำแห่งหนึ่งในเขตเมืองหลวงพระบางของลาว ซึ่งมีการค้นพบร่องรอยของมนุษย์โบราณ ตลอดจนสิ่งของเครื่องใช้และหลุมฝังศพทั้งในยุคหินและยุคเหล็ก นักวิทยาศาสตร์โครงการนี้ได้ยืนยันการค้นพบดังกล่าว รวมทั้งพิธีปลงศพของมนุษย์โบราณเมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว</FONT></bR>

ASTVผู้จัดการออนไลน์— นักวิทยาศาสตร์โครงการวิจัยทางโบราณคดีในเขตลุ่มน้ำโขงตอนกลาง (Laos-Middle Mekong Archaeological Research Project) หรือ MMARP ได้ยืนยันการค้นพบแหล่งมนุษย์โบราณ รวมทั้งแหล่งฝังศพในเขตหมู่บ้านเซียงมวก เมืองหลวงพระบาง แขวงหลวงพระบางของลาว

นายบุนเฮือง บัวสีแสง ผู้อำนวยการร่วมของ MMARP กล่าวว่า วันที่ 1 ม.ค.ที่ผ่านมา ทีมงานได้ขุดค้นโบราณวัตถุขึ้นมาหลายชิ้น รวมทั้งไหดินเผาที่บรรจุกระดูกมนุษย์ ซึ่งวัตถุต่างๆ เหล่านั้นได้ยืนยันว่า ลาวเป็นแหล่งอารยะธรรมมาแต่โบราณกาล

"เรายังพบเครื่องมือและเครื่องใช้ที่ทำจากหิน ซึ่งคนโบราณใช้จุดไฟ มีด รวมทั้งหม้อสำหรับหุงหาอาหารที่แตกแล้ว รวมทั้งเปลือกหอย เศษอาหารที่ทิ้งไว้และชิ้นส่วนพระพุทธรูป" สำนักข่าวสารปะเทดลาวอ้างคำกล่าวของนายบุนเฮือง

ดร.จอยซ์ ไวต์ (Joyce White) นักวิทยาศาสตร์วิจัยอาวุโสของโครงการกล่าวว่า ยังไม่มีการกำหนดเวลาที่สิ่งของเครื่องใช้เหล่านั้นถูกทำขึ้นมา โบราณวัตถุที่ค้นพบจะถูกส่งไปวิเคราะห์ในสหรัฐฯ ก่อนที่จะนำกลับไปแสดงในลาว

ไหหินที่ค้นพบ 1 ใบจะส่งไปยังสหรัฐฯ แต่อีกใบหนึ่งจะยังคงอยู่ที่เดิม เพื่อทำการขุดค้นและศึกษาต่อไป ดร.จอยซ์กล่าว

โครงการแห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียได้ประกาศการค้นโบราณวัตถุหลายชิ้นบนเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยตั้งแต่ปลายเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา ทั้งระบุว่า ดินแดนประเทศลาในปัจจุบันมีร่องรอยของชุมชนโบราณหลายแห่ง ในที่ราบลุ่มน้ำโขง ตั้งแต่ภาคเหนือจรดภาคใต้
<bR><FONT color=#3366ff>แผนที่แสดงจุดที่มีการขุดค้น 2 แห่งคือ ถ้ำวังตาแหลวเมื่อปี 2551 กับ บริเวณหลืบหินที่ภูผาขาว ใกล้กับลำน้ำคาน การขุดค้นที่นั่นเริ่มเมื่อปี 2550 จนกระทั่งมีการพบโบราณวัตถุและซากเศษกระดูกมนุษย์หลายต่อหลายครั้ง ครั้งล่าสุดวันที่ 1 ม.ค.ที่ผ่านมา </FONT></bR>
หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ไทมส์รายงานเรื่องเดียวกันนี้ โดยอ้างคำกล่าวของ ดร.ไวต์ว่า สิ่งที่ทีมขุดค้นได้พบนั้นเป็น "ตัวอย่างแรกของการปลงศพมนุษย์ขั้นที่ 2 ของยุคเหล็ก ซึ่งเป็นยุคที่มนุษย์รู้จักใช้เหล็กทำเครื่องมือและอาวุธ"

ชิ้นส่วนมนุษย์ที่พบประกอบด้วย กะโหลก กระดูกท่อนขาและแขน ที่คาดว่าน่าจะมีอายุย้อนหลังไปมากกว่า 2,000 ปี ซึ่งพื้นที่บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้อยู่ในยุคเหล็ก

การค้นพบนี้อยู่ในโครงการโบราณคดีลุ่มแม่น้ำโขงส่วนกลาง ที่เป็นการร่วมกันระหว่างกรมมรดกโลกของประเทศลาวและพิพิธภัณฑ์ของมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย

"เราไม่คาดคิดว่าจะพบกะโหลกมนุษย์ถึง 2 คน ชิ้นส่วนกระดูกของคนที่ 3 ซึ่งยังเป็นเด็กทารก และชิ้นส่วนกระดูกของใครอีกคนในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา การค้นพบนี้สำคัญมากที่เดียวสำหรับโบราณคดีของประเทศลาว" ดร.ไวต์ ซึ่งเป็นรองภัณฑารักษ์ของมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย กล่าว

โครงการขุดค้นโบราณคดีนี้ได้รับทุนจากมูลนิธิเฮ็นรี ลูวซ์ (Henry Luce) เพื่อทำการสำรวจขุดค้นหาแหล่งก่อนประวัติศาสตร์ในลุ่มแม่น้ำโขง โดยในปี 2553 นี้ ทีมขุดค้นได้พยายามทำการขุดสำรวจเป็นครั้งที่ 4 ภายในถ้ำแห่งหนึ่งในแขวงหลวงพระบาง

ดร.ไวต์กล่าวว่า การสำรวจถ้ำดังกล่าว เริ่มมาตั้งแต่เดือน มี.ค. 2552 ที่ผ่านมา ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะมีชิ้นส่วนที่อยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์

"ฉันคิดว่าพื้นที่ที่เราสำรวจมีอายุประมาณ 2,000 ก่อน ซึ่งพื้นที่ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังอยู่ในยุคเหล็ก และยังพบประเพณีการฝังศพที่แตกต่างหลากหลายในช่วงของยุคก่อนประวัติศาสตร์ด้วย" ดร.ไวท์ กล่าว
<bR><FONT color=#3366ff>นักวิทยาศาสตร์ของโครงการ MMARP กำลังตรวจพิสูจน์โบราณวัตถุชิ้นหนึ่งที่ค้นพบ แต่ทั้งหมดต้องส่งกลับไปพิสูจน์วิเคราะห์เพื่อยืนยันอายุในห้องทดลอง ที่มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย </FONT></bR>
<bR><FONT color=#3366ff>เจ้าหน้าที่โครงการ MMARP สะเก๊ตภาพเครื่องมือหินโบราณ ที่ค้นพบในแหล่งโบราณคดียุคหินและยุคเหล็กในแขวงหลวงพระบาง </FONT></bR>
นับเป็นครั้งแรกที่คณะขุดค้นได้พบหลักฐานที่ผู้เชี่ยวชาญเรียกว่า การปลงศพครั้งที่สอง (Secondary Burial) ซึ่งเป็นรูปแบบพิธีกรรมการปลงศพของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยจากการสำรวจพบนี้ ปรากฏรูปแบบการฝังศพที่มีการนำศีรษะและร่างกายส่วนต่างๆ บรรจุลงไปในไหหรือหม้อแล้วฝังดิน

ก่อนที่จะนำร่างลงไหหรือหม้อนั้น ร่างของผู้เสียชีวิตได้มีการนำอวัยวะหรือเนื้อหนังออกไปแล้ว หรือบางครั้งหลังจากเสียชีวิต ส่วนต่างๆของร่างกายจะถูกรวบรวมไว้ก่อนจะบรรจุใส่หม้อแล้วฝังลงไปในดินอีกครั้ง หนังสือพิมพ์ฉบับเดียวกันกล่าว

การปลงศพที่พบนี้เป็นรูปแบบที่ไม่เหมือนการกระทำในยุคเหล็กตามปกติในบริเวณลุ่มน้ำโขง และยังไม่พบลักษณะเช่นเดียวกันนี้
จากยุคเหล็ก การค้นพบครั้งนี้จึงเป็นตัวอย่างชิ้นแรกของการปลงศพครั้งที่ 2 ในอาณาบริเวณดังกล่าว ถึงแม้ว่าจะเคยพบตัวอย่างการปลงศพครั้งที่ 2 ในเวียดนามและไทยมาแล้วก็ตาม.
กำลังโหลดความคิดเห็น