xs
xsm
sm
md
lg

ตอกหมุดรถรางไฟฟ้าโฮจิมินห์สายแรกสิ้นปีนี้

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#FF0000>ภาพจาก forum.canucks.com เป็นรถรางไฟฟ้าที่เมืองสตราสเบอร์ก ฝรั่งเศส นอจากประเทศนี้แล้ว ระบบขนส่งมวลชนแบบนี้ยังพบเห็นทั่วไปในเมืองใหญ่ของยุโรป แต่สำหรับโฮจิมินห์ที่ปัญหาการจราจรอยู่ในขั้นโคม่า หลายฝ่ายตั้งคำถามว่า มันจะไม่ทำให้ถนนอัมพาตสาหัสกว่าที่เป็นอยู่หรือ? </FONT></bR>

เวียดนามเน็ต/ASTVผู้จัดการรายวัน -- นครโฮจิมินห์กำลังจะมีระบบรถรางไฟฟ้าขนส่งมวลชนเช่นเดียวกับอีกหลายนครใหญ่ในทวีปยุโรป ระบบรถรางไฟฟ้าในเมือง (Urban Tramway) สายแรกมีกำหนดวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างในปลายปี 2552 นี้

นายเหวียนแถ่งท้าย (Nguyen Thanh Thai) ผู้อำนวยการใหญ่บริษัท ร่วมทุนฝูหมี (Phu My) ซึ่งเป็นบริษัทที่ลงทุนก่อสร้างสะพานชื่อเดียวกันและเปิดใช้เมื่อเดือนที่แล้ว ประกาศแผนดังกล่าวสัปดาห์ที่ผ่านมา

การก่อสร้างรถรางไฟฟ้าสายแรก ด้วยมูลค่าการลงทุน 250 ล้านดอลลาร์ ซึ่งรวมไปถึงตัวรถ จากจำนวนทั้งหมด 3 สาย มีกำหนดแล้วเสร็จและเปิดให้บริการในปี 2557 และให้เสร็จสมบูรณ์ทั้งระบบภายในปี 2563

รถรางไฟฟ้าในเมืองสายแรก มีต้นที่สถานีท่าเรือข้ามฟากถูเทียม (Thu Thiem Ferry) ริมฝั่งแม่น้ำไซ่ง่อน ที่ถนนโตนดึ๊กถัง (Ton Duc Thang) ตัดผ่านเขต 1 กับเขต 5 ก่อนที่จะสิ้นสุดปลายทางที่สถานีรถโดยสารเมียนเตย (Mien Tay) ในเขตที่ 6

แทรมเวย์สายแรกถูกออกแบบจะให้บริการผู้โดยสารได้ถึง 300 คนต่อนาที โดยวิ่งให้บริการทุกๆ 2-3 นาที ใน ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่นครโฮจิมินห์ได้เรียกร้องให้แผนกกิจการภายใน ศึกษาโครงการตั้งศูนย์ควบคุมการจราจรที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงทำงานร่วมกับแผนกการขนส่งของนครโฮจิมินห์และตำรวจท้องถิ่นด้วย

ไม่มีการเปิดเผยว่า มีการเซ็นสัญญาโครงการนี้ตั้งแต่เมื่อไร และจะใช้เทคโนโลยีกับอุปกรณ์ระบบจากที่ใด

รถรางไฟฟ้าในนครโฮจิมินห์เป็นส่วนหนึ่งในแผนแม่บทพัฒนาการขนส่งจนถึงปี 2563 ซึ่งนครใหญ่ศูนย์กลางเศรษฐกิจในภาคใต้ของประเทศจะมีรถไฟฟ้าใต้ดิน-บนดินทั้งหมด 6 สาย รวมความยาว 107 กม. ในนั้นมีรถไฟฟ้ารางเดี่ยวรวมอยู่ด้วยจำนวน 2 สาย กับระบบรถบัสขนส่งมวลชน (Bus Rapid Transit) หรือ BRT เช่นเดียวกับที่กำลังมีการก่อสร้างในกรุงเทพฯ
<bR><FONT color=#FF0000>ภาพ commons.wikimedia.org รถรางไฟฟ้ากรุงปารีส (Paris Tramway)  เปิดใช้มาตั้งแต่เดือน พ.ย.2548 การก่อสร้างระบบรถรางไฟฟ้าอีกสายหนึ่งจะเริ่มปลายปีนี้ในนครโฮจิมินห์ คำถามเดิมๆ ก็คือ มันจะช่วยแก้ปัญหาจราจรได้จริงหรือไม่ ขณะที่ผิวถนนมีจำกัด และ จะต้องสละพื้นที่ส่วนหนึ่งให้ราง  </FONT></bR>
นครโฮจิมินห์มีปัญหาการจราจรติดขัดในขั้นโคม่า ขณะที่ผลสำรวจสำมะโนประชากรที่เพิ่งเผยแพร่อย่างเป็นทางการวันศุกร์ (23 ต.ค.) ที่แล้ว ได้พบว่า ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาก คือ จำนวนเพิ่มขึ้น 2 ล้านคนเศษในช่วง 10 ปี 2542-2552 เป็น 7.12 ล้านคนในปัจจุบัน คิดเป็นอัตราเพิ่ม 41.1% ขณะที่มีประชากรจากที่อื่นๆ เข้าไปอาศัยอีกปีละประมาณ 200,000 คน

ขณะเดียวกัน ความแออัดในเขตใจกลางเมือง กับค่าครองชีพและค่าเช่าที่พักที่พุ่งขึ้นสูง ได้ผลักดันให้ประชาชนอพยพออกไปอาศัยในเขตชานเมืองมากยิ่งขึ้น ตัวเลขทางการชี้ว่า ใน 11 เขตรอบนอก มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นเขตละกว่า 300,000 คน

โฮจิมินห์เป็นนครที่ประชากรมากเป็นอันดับ 1 ของประเทศ เทียบกับในกรุงฮานอย 6.44 ล้าน นอกจากนั้น จังหวัดอยู่รายรอบ รวมทั้ง จ.ด่งนาย (Dong Nai) ซึ่งมีเขตแดนติดกัน และ เป็นศูนย์กลางการลงทุนผลิตอุตสาหกรรมอีกแห่งหนึ่ง มีประชากรถึง 2.48 ล้าน การถ่ายเทของประชากรเข้าสู่โฮจิมินห์มีสูงมาก

สถานการณ์เช่นนี้ทำให้ต้องพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่รองรับ
<bR><FONT color=#FF0000>ภาพจาก www.infotechfrance.com รถรางไฟฟ้าอีกขบวนหนึ่งทีเมืองแคน (Caen) ในแค้วนนอร์มังดี ฝรั่งเศส ในนครโฮจิมินห์จะมีถึง 3 สายด้วยกัน เส้นทางแรกจะเริ่มก่อสร้างปลายปีนี้ แต่จะแก้ปัญหาจราจรได้จริงหรือไม่ สำหรับนครใหญ่ที่มีประชากรกว่า 7 ล้านคน</FONT></bR>
<bR><FONT color=#FF0000>ภาพจาก lightrailnow.org รถรางไฟฟ้า (Tram) หน้าตาทันสมัยที่เมืองออร์ลีนส์ ฝรั่งเศสอีกเช่นกัน ประเทศนี้ใช้ระบบแทรมเวย์มากมาย </FONT></bR>
การก่อสร้างรถระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนใต้ดิน-บนดินสายแรก เริ่มขึ้นในเดือน ก.พ.ปีที่แล้ว รถไฟฟ้าระยะทางราว 20 กม.จากย่านใจกลางเมืองไปนอกเมือง จะมีส่วนใต้ดินเพียง 2.6 กม.มูลค่าเกือบ 1,100 ล้านดอลลาร์ ในนั้นกว่า 90% เป็นเงินช่วยเหลือแบบ ODA (Official Development Assistance) จากรัฐบาลญี่ปุ่น ผ่านธนาคารเพื่อความร่วมมือกับต่างประเทศ (Japan Bank for International Cooperation) หรือ JBIC

การเซ็นสัญญาเงินกู้และเงินให้เปล่ากับรัฐบาลญี่ปุ่น รวม 904.7 ล้านดอลลาร์ มีขึ้นในเดือน เม.ย.2550 ทางการนครโฮจิมินห์ใช้เงินงบประมาณสมทบส่วนที่เหลือ

ทางการกล่าวว่า จะเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายแรกในอัตราที่ต่ำมาก ประหยัดกว่าการใช้รถจักรยานยนต์ในปัจจุบันอีก ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนหันมาใช้บริการขนส่งมวลชนของรัฐให้มากที่สุด เพื่อลดการสูญเสียจากการจราจรที่ตัดขัดสาหัส

ปีที่แล้วรัฐบาลเวียดนามได้ประกาศอนุมัติแผนการลงทุนให้บริษัทเอกชนรายหนึ่ง เพื่อสำรวจและก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายที่ 2 แต่สถานการณ์เศรษฐกิจโลกทำให้ข่าวคราวเงียบหายไป
กำลังโหลดความคิดเห็น