xs
xsm
sm
md
lg

เลขาฯ ยูเอ็นล้มเหลว ปัญหาพม่าทางเลือกน้อยลง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#cc00cc>ถูกหักหน้า-- ภาพรอยเตอร์วันที่ 3 ก.ค.2552 นายบันคีมุน (Ban Ki-mun) พบหารือข้อราชการกับ พล.อ.อาวุโสตานฉ่วย ผู้นำสูงสุดของพม่าในเมืองเนย์ปีดอ แต่ทางการพม่าไม่อนุญาตให้เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ ได้พบหารือกับนางอองซานซูจี ผู้นำฝ่ายค้านที่กำลังถูกดำเนินคดีขณะนี้ นักวิเคราะห์กล่าวว่ารัฐบาลทหารพม่าอดทนต่อเสียงวิจารณ์มากขึ้น.</FONT></bR>

กรุงเทพฯ (รอยเตอร์)--ประชาคมระหว่างประเทศมีทางเลือกน้อยลงสำหรับปัญหาพม่า หลังจากเลขาธิการใหญ่สหประชาชาติประสบความล้มเหลวสัปดาห์ที่แล้วในการเจรจาชักชวนผู้นำคณะปกครองทหาร ในการสร้างความปรองดองแห่งชาติ

นายบันคีมุนยอมเสี่ยงต่อการเสื่อมเสียชื่อเสียง ยอมรับคำเชิญของผู้นำทหารไปเยือนประเทศที่โดดเดี่ยวตัวเองจากประชาคมระหว่างประเทศ ซึ่งนักวิเคราะห์กล่าวว่า เลขาฯ ยูเอ็นกลับไปด้วยสองมือเปล่า

คณะปกครองทหารได้ปฏิเสธคำร้องขอของนายบัน ที่ต้องการพบหารือกับนางอองซานซูจี ผู้นำฝ่านค้านที่กำลังถูกทางการทหารดำเนินคดี ซึ่งดูเหมือนว่าเผด็จการในประเทศนี้ทนทางต่อกระแสการวิพากษ์วิจารณ์มากกว่าครั้งไหนๆ และยังรู้สึกสบายยิ่งขึ้นอีกด้วยในการอยู่อย่างโดดเดี่ยว

"ไพ่เลขาฯ ยูเอ็นถูกทิ้งออกไปแล้ว (ขณะนี้) นายบันเป็นฝ่ายแพ้ แต่เราก็ไม่ได้แปลกใจอะไร" นายดีเร็ก ทอนกิน (Derect Tonkin) อดีตเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทยกล่าวกับสำนักข่าวรอยเตอร์ ปัจจุบันบยุคคลผู้นี้เป็นผู้เชี่ยวชาญและนักวิเคราะห์สถานการณ์ในพม่า

"ผมไม่ทราบเช่นกันว่าประชาคมระหว่างประเทศจะทำอย่างไร นับตั้งแต่นี้ต่อไป" นักวิเคราะห์คนเดียวกันกล่าว
<bR><FONT color=#cc00cc>หายาก-- ภาพรอยเตอร์วันที่ 3 ก.ค.2552 รอง พล.อ.อาวุโสหม่องเอ (ซ้ายสุด) พล.อ.ตูระฉ่วยมาน พล.อ.เต็งเส่ง นายกรัฐมนตรี กับเลขาธิการที่ 1 คณะปกครองทหารและ นายเนียนวิน รมว.ต่างประเทศนั่งรอคอย นายบันคีมุน เข้าพบหารือกับ ผู้นำสูงสุดที่เรือนรับรองเมืองเนย์ปีดอ ทางการพม่าจัดต้อนรับเลขาฯ ยูเอ็นสมเกีบยรติ แต่กลับบ้านด้วยสองมือว่างเปลาา การทูตล้มเหลว เพราะนายพลเหล่านี้มิใช่นักการทูต? </FONT></bR>
ปัญหาพม่ากำลังจะถูกหยิบขึ้นหารือในที่ประชุมสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน ที่มีกำหนดขึ้นใน จ.ภูเก็ตของไทยเดือนนี้ ซึ่งนางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ จะเข้าร่วมด้วย

อาเซียนได้รับพม่าเข้าเป็นสมาชิกโดยหวังจะช่วยหาทางให้คณะปกครองทหารยอมรับในวิถีประชาธิปไตย และแม้ว่าเมื่อเร็วๆ นี้อาเซียนจะได้ละทิ้งธรรมเนียมปฏิบัติเดิมที่ยึดถือมาและเริ่มวิพากษณ์วิจารณ์พม่า แต่ความล้มเหลวของเลขาธิการใหญ่ยูเอ็น ก็อาจจะถือเป็นความล้มเหลวของอาเซียนเช่นเดียวกัน

คาดว่ากำลังจะมีการออกคำแถลงอีกครั้งหนึ่งเรียกร้องให้มีการปล่อยนางอองซานซูจีกับนักโทษการเมือง แต่ก็จะเป็นเช่นทุกครั้งที่ผ่านมาคือ คำเรียกร้องไมใด้รับการเคารพ และไม่มีการปฏิบัติตาม
นายกอร์ดอน บราวน์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ กล่าวในสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า โลกกำลังเตรียมตัวแสดงปฏิกิริยาต่อพม่า "อย่างจริงจัง" ยิ่งขึ้น
<bR><FONT color=#cc00c>ภาพรอยเตอร์วันที่ 4 ก.ค.2552 เมืองหลวงใหม่เนย์ปีดอสร้างขึ้นกลางป่ากลางเขา ในวันนี้ไปที่ไหนๆ ก็ยังเห็นการก่อสร้างไปทั่ว ที่นี่เป็นสวรรค์วิมานและเป็นปราการสุดท้ายของเผด็จการทหารหนังเหนียวที่สุดในโลก ไม่มีการประท้วงรบกวนเกือบจะรายวันเช่นในกรุงย่างกุ้งเมื่อก่อน และพวกเขาทนทานต่อเสียงวิจารณ์ยิ่งขึ้น </FONT></bR>
แต่การปฏิบัติต่อผู้นำสหประชาชาติ รวมทั้งทูตพิเศษของยูเอ็นก่อนหน้านั้น ได้แสดงให้เห็นว่าการทูตประสบความล้มเหลว และวิธีการที่แข็งกร้าวยิ่งกว่าเดิมย่อมจำเป็น

**กำลังพูดกับนายพล-ไม่ใช่นักการทูต**

"ทุกคนล้วนได้พยายามทางการทูต แต่พวกนายพลที่เรากำลังติดพันด้วยนี้ไม่ใช่นักการทูต" นายมาร์ก ฟาร์เมเนอร์ (Mark Farmaner) แห่งคณะกรรมการรณรงค์เพื่อพม่า (Burma Campaign) ในประเทศอังกฤษกล่าว

"พวกนายพลพวกนั้นทนทานต่อเสียงวิจารณ์ แต่จะไม่ทนต่อแรงกดดัน พวกเขาหวาดกลัวกับแรงกดดันจริงๆ และ พวกนี้มักจะคิดว่า ไม่มีใครสามารถแตะต้องพวกเขาได้"

ยังไม่มีกำหนดการใดในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในขณะนี้ แต่เวทีดังกล่าวก็เสี่ยงต่อการใช้อำนาจยับยั้งโดยจีนซึ่งเป็นพันธมิตรใหญ่ที่สุดและใกล้ชิดที่สุดกับระบอบทหารในพม่า รวมทั้งรัสเซียซึ่งเป็นประเทศหนึ่งที่มีอำนาจในการใช้สิทธิ์วีโต้ ซึ่งสามารถขัดขวางขบวนการต่างๆได้
<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพเอเอฟพีวันที่ 30 มิ.ย.2552 เลขาธิการใหญ่ยูเอ็นแวะเยือนญี่ปุ่นและได้พบหารือกับนายฮิโรฟุมิ นากาโซเน่ รมว.ต่างประเทศ ก่อนเดินทางเยือนพม่าเพื่อกล่อมให้คณะปกครองทหารจัดการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยมีพรรคการเมืองหลายพรรคเข้าร่วมด้วยและให้ปล่อยนักโทษการเมืองทั้งหมด </FONT></bR>
นักวิเคราะห์บางรายเสนอว่า สหประชาชาติควรจะทดสอบพลังของระบอบทหาร โดยการฟ้องร้องทางกฎหมายต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน ด้วยการตั้งคณะกรรกมการสอบสวนเรื่องนี้ขึ้นมา หรือนำเข้าสู่ศาลระหว่างประเทศ (ในกรุงเฮก)

**จีนถือกุญแจและสำคัญยิ่งขึ้นทุกวัน**

สายตาหลายคู่มองไปที่จีน ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ได้แสดเงความยืดหยุ่นทางการทูต ด้วยการสนับสนุนมาตรการคว่ำบาตรเกาหลีเหนือซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน ที่กำลังพัฒนาอวุธนิวเคลียร์
ไม่ต่างกับในเกาหลีเหนือ จีนมีความห่วงใยต่อความไร้เสถียรภาพในพม่า และอาจจะเต็มใจร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศ ถึงแม้จีนจะมีความห่วงใยอย่างมากต่อผลประโยชน์ทางการค้ามหาศาลกับพม่าก็ตาม

"พวกนายพลรู้สึกว่าสามารถรอดพพ้นจากทุกสิ่งทุกอย่างได้เนื่องจากมีจีนคุ้มหัวอยู่ แต่นั่นอาจจะไม่ใช่เรื่องสำคัญอีกต่อไป" นางเด็บบี้ สต๊อดดาร์ด (Debbie Stoddard) แห่งองค์การเครือข่ายทางเลือกอาเซียนต่อปัญหาพม่า (ASEAN Network on Burma)

"มันถึงเวลาที่จะต้องมีข้อมติของสหประชาชาติออกมาสักอย่าง และ ถึงเวลาที่นายบันจะต้องเอาจริงเอาจังต่อพม่า ระบอบทหารเกรงกลัวต่อข้อมติของคณะพมนตรีความมั่นคง แต่ถ้าหากไม่มีการดำเนินการ พวกนายพลก็จะกระทำในสิ่งที่พวกเขาอยากจะทำต่อไป" นางสต็อดดาร์ดกล่าว
<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพรอยเตอร์วันที่ 2 ก.ค.2552 นายบันคีมุนแวะเยือนสิงคโปร์ พบหารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรีลีเซียนลุง ก่อนเดินทางเข้าพม่า นายอิบรอฮิม แกมบารี ทูตพิเศษยูเอ็นไปร่วมการพบสนทนาครั้งนี้ด้วย ทั้งนายลีและนายแกมบารี เพิ่งกลับจากพม่าเมื่อเร็วๆ นี้เช่นกัน ต่างช่วยกัน ติวเข้ม ให้เลขาฯ ยูเอ็น </FONT></bR>
**สหรัฐฯ เก้ๆ กังๆในปัญหาพม่า**

เมื่อนายบารัก โอบามา ขึ้นดำรงตำแหน่งประธนาธิบดีสหรัฐฯ ฝ่ายนโยบายการต่าสงประเทศได้แสดงท่าทียืดหยุ่นยิ่งขึ้นในปัญหาพม่า โดยประกาศจะเข้าร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านในเอเชีย หาทางต่อรองกับระบอบปกครองประเทศนี้ แต่เหตุการณ์การจับกุมนางอองซานซูจี ได้ทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ ต้องทบทวนท่าทีใหม่

ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ที่รับผิดชอบกิจการเอเชียแปซิฟิกกล่าวเมื่อเดือนที่แล้วว่า การจับกุมดำเนินคดีนางซูจี ได้ทำให้สหรัฐฯ ไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากจะต้องดำเนินการแข็งกร้าวยิ่งขึ้น โดยรวมกับกลุ่มอาเซียน จีนและอินเดีย เพื่อหาทางกดดันระบอบทหารพม่าให้ปฏิรูปประชาธิปไตย

สหรัฐฯ กับสหภาพยุโรปได้รวมตัวกันคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัฐบาลทหารพม่าในฃช่วงหลายปีที่ผ่านมา สหรัฐฯ และอียูต่างประเทศต่ออายุการคว่ำบาตรต่อไปอีก 1 ปี หลังการจุบกุมนางซูจีครั้งล่าสวุด ขณะที่อียูประกาศจะหาทางกระชับการคว้ำบาตรให้หนักยิ่งขึ้นไปอีก
สหภาพยุโรปได้หยิบปัญหาพม่าขึ้นประชุมหารือกับกลุ่มอาเซียนในกรุงฮานอยเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา แต่ก็ทำได้เพียงแค่การออกคำแถลงร่วมเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองกับผู้นำฝ่ายค้านเท่านั้น ยังไม่มีมาตรการอื่นใดออกมาอีก.
กำลังโหลดความคิดเห็น