xs
xsm
sm
md
lg

ลูกโลมาน้ำโขงตายเยอะ!! สงสัยเหมืองทองลาวตัวการ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

 <bR><FONT color=#cc00CC>ประชากรลดน่าใจหาย ภาพที่ WWF นำออกแจกจ่าย ถ่ายเมื่อวันที่ 2 มี.ค.2552 โลมาฝูงนี้กำลังดำผุดดำว่ายในลำน้ำโขงช่วงที่ไหลผ่าน จ.กระแจ๊ะ (Kratie) ทางตะวันออกเฉียงเหนือกัมพูชา องค์การพิทักษ์สัตว์ป่ากล่าวว่า การปนเปื้อนและมลภาวะในลำน้ำเป็นสาเหตุให้ลูกโลมาอิรวดีเสียชีวิตมากในช่วงหลายปีมานี้ และ กำลังเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ </FONT></bR>

เอเอฟพี/ASTVผู้จัดการออนไลน์-- องค์การอนุรักษ์สัตว์ป่าโลกกล่าวว่าสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมจากสารฆ่าแมลงและสารพิษต่างๆ ที่ถูกปล่อยลงลำน้ำโขงเป็นสาเหตุทำให้โลมาอิรวดีซึ่งเป็นโลมาน้ำจืด สัตว์เลี้ยงด้วยนมที่ใกล้สูญพันธุ์ล้มตายไปจำนวนมาก ปัจจุบันเหลืออยู่น้อยเต็มที

ช่วง 5-6 ปีมานี้นักวิทยาศาสตร์ยังได้พบลูกโลมาแม่น้ำโขงล้มตายไปกว่า ครึ่งร้อย โดยพบสารตะกั่วจำนวนมากตกค้างอยู่ในตัว ซึ่งสงสัยว่าจะถูกปล่อยจากเหมืองทอง

องค์การนี้ออกคำแถลงในเมืองหลวงของกัมพูชาวันพุธ (18 มิ.ย.) เตือนว่าสภาพการปนเปื้อนสารพิษในลำน้ำโขงกำลังทำให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหายากชนิดนี้ใกล้หมดไปจากโลก ปัจจุบันเหลืออยู่แค่ 64-76 ตัว นอกจากนั้นยังได้พบสารพิษในตัวของลูกโลมาอิรวดีกว่า 50 ตัวที่ล้มตายลงตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา

จำนวนประชากรของ โลมาแม่น้ำโขงลดลงไปมากหากเทียบกับตัวเลขของ WWF เมื่อปี 2550 ที่เคยมีอยู่ระหว่าง 80-100 ตัว และ 127-161 ตัวจนถึงเดือน เม.ย.2548

"สารมลพิษเหล่านี้ถูกปล่อยลงสู่สภาพแวดล้อมจำนวนมาก แหล่งที่มาของสารมลพิษพวกนี้อาจเกี่ยวข้องกับหลายประเทศ ที่แม่น้ำโขงไหลผ่าน" นายสัตว์แพทย์เวิร์น โดฟว์ (Verne Dove) แพทย์ผ่าตัดของ WWF กล่าวในคำแถลง

องค์การอนุรักษ์สัตว์ป่านี้ยังกล่าวอีกว่า ปัจจุบันกำลังมีการสืบสวนเกี่ยวกับสารปนเปื้อนที่พบในลำน้ำโขง ที่ไหลผ่านกัมพูชา ลาว พม่า จีน เวียดนามและดินแดนมณฑลหยุนหนันของจีน

WWF สงสัยว่าสารตะกั่วที่พบในระดับสูงในตัวของลูกโลมาที่เสียชีวิตนั้น ถูกปล่อยมาจากกิจกรรมเกี่ยวกับเหมืองทอง
<bR><FONT color=#cc00CC>อาจจะไม่ได้เห็นอีก-- ภาพที่ WWF นำออกแจกจ่ายเใมื่อวันพฤหัสบดี (18 มิ.ย.) ถ่ายตั้งแต่วันที่ 2 มี.ค.2552 โลมาแม่น้ำโขงโผล่ส่วนหัวขึ้นเหนือน้ำให้เห็น ในลำน้ำช่วงไหลผ่าน จ.กระแจ๊ะ (Kratie) ทางตะวันออกเฉียงเหนือกัมพูชา WWF กล่าวว่าหลายปีมานี้พบลูกโลมาน้ำโขงตายไปกว่า 50 ตัวและพบสารพิษปนเปื้อน. </FONT></bR>
กองทุนเพื่อพิทักษ์สัตว์ป่า หรือ WWF (World Wildlife Fund) ไม่ได้ระบุว่า เหมืองทองจากที่ใดที่ปล่อยสารตะกั่วลงสู่ลำน้ำโขงและเป็นต้นเหตุทำให้เปลาตาย แต่ข้อเท็จจริงก็คือ เหนือลำน้ำขึ้นไปมีในปัจจุบันมีเหมืองทอง-ทองแดงเซโปน ในแขวงสะหวันนะเขต กับเหมืองภูเบี้ยในแขวงเวียงจันทน์ของลาว ที่เปิดสายการผลิตแล้วเหมืองทุกแห่งจะปล่อยน้ำเสียลงสู่ลำน้ำสาขาและไหลลง แม่น้ำโขงในที่สุด

สารตะกั่วกับสารพิษอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง อันเป็นผลจากการสกัดสินแร่เพื่อให้ได้แร่ล้ำค่าเชิงเศรษฐกิจ ถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำโดยอาจจะไม่ได้ผ่านการบำบัดหรือบำบัดไม่เพียงพอ

คำแถลงระบุอีกว่า ปัจจุบันโลมาแม่น้ำโขงทั้งในกัมพูชาและลาวต้องการโครงการด้านสุขอนามัยอย่างเร่งด่วน เพื่อแก้ไขผลกระทบจากสภาพเน่าเสียที่มีต่อระบบต้านทานในตัวของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดนี้

การผสมพันธุ์ในกลุ่มเล็กๆ กลุ่มเดียวกัน อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระบบภูมิต้านทานอ่อนแอลงในหมู่ลูกโลมาที่ล้มตาย ซึ่งทั้งหมดมีอายุเพียง 2 สัปดาห์

"โลมาแม่น้ำโขง นั้นอยู่โดดเดี่ยวจากสายพันธุ์พวกเดียวกัน พวกนี้กำลัง ต้องการความช่วยเหลือ" ผู้อำนวยการของ WWF ในกัมพูชากล่าวพร้อมทั้งชี้ว่า สัตว์สายพันธุ์นี้อดทนสูงมาก ถ้าหากถิ่นที่อยู่ของพวกมันได้รับการปกป้อง

โลมาอิรวดีที่อาศัยอยู่ในลำน้ำโขงช่วงความยาว 190 กิโลเมตรระหว่างกัมพูชาและลาว ถูกขึ้นทะเบียนเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์เมื่อปี 2547

ครั้งหนึ่งเคยมีโลมาสายพันธุ์นี้แหวกว่ายในลำน้ำโขงนับพันๆ ตัว ถึงแม้จะได้รับการนับถือให้เป็นสัตว์ที่ศักดิ์สิทธิ์ทั้งในกัมพูชาและลาว แต่จำนวนได้ลดลงเรื่อยๆ จาก การติดตาข่ายที่ลักลอบจับปลาอย่างผิดกฎหมายในช่วงที่เกิดสงครามกลางเมืองในกัมพูชา ซึ่งใช้ไขมันของโลมาหล่อลื่นเครื่องจักรชนิดต่างๆ รวมทั้งใช้เป็นน้ำมันตะเกียงอีกด้วย
<br><FONT color=#cc00cc>ภาพจากเว็บไซต์แห่งหนึ่ง นักท่องเที่ยวชาวตะวันตกถ่ายเอาไว้เมื่อปีที่แล้ว คู่นี้กำลังดำผุดดำว่ายในลำน้ำโขงช่วง จ.กระแจ๊ะ (Kratie) ของกัมพูชาเช่นกัน สหประชาชาติช่วยกัมพูชาพัฒนาที่นั่นตั้งแต่ปี 2550 เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์</FONT></br>
รัฐบาลกัมพูชาได้พยายามเฝ้าดูแลโลมาอิรวดี และส่งเสริมให้แหล่งที่อยู่ของพวกมันเป็นแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งปราบปรามพวกลักลอบจับปลาโดยใช้อวนและตาข่ายที่ผิดกฎหมายด้วย

ทุกฝ่ายได้แต่หวังว่าการห้ามใช้อวนที่ผิดกฎหมายในการจับปลา จะช่วยเพิ่มจำนวนโลมาอิรวดีในสองประเทศนี้เป็นประมาณ 170 ตัวในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

แม่น้ำโขงเป็นหนึ่งในห้าสายแม่น้ำทั่วโลกซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของโลมาอิรวดี เชื่อกันว่าปัจจุบันลำน้ำโขงช่วงที่อยู่ในกัมพูชาเป็นถิ่นที่อยู่ของโลมาฝูงใหญ่ที่สุดที่ยังเหลืออยู่

เป็นที่ทราบกันดีว่าโลมาตัวเมียใช้เวลาตั้งท้องนาน 11 เดือน และ ตกลูกได้ 2 ปีต่อ 1 ตัวเท่านั้น

โลมาอิรวดีอาศัยรวมกันเป็นกลุ่มในแหล่งน้ำลึก ในลำน้ำโขงที่มีอยู่เพียงไม่กี่แห่งหนังสีเทาซีด ตัวโตจะมีความยาว 2-3 เมตร เมื่อดูเผินๆ ก็จะละม้ายคล้ายกับวาฬเบลูกา (beluga whale) ยังพบโลมาอิรวดีในลำน้ำอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในพม่า อินโดนีเซีย หรือกระทั่งภาคเหนือของออสเตรเลีย แต่ก็มีจำนวนน้อย

ในแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของลาว เคยมีโลมาอิรวดีชุกชุม ที่นั่นเรียกกันว่า “ปลาข่า” ซึ่งในปัจจุบันเกือบจะไม่มีเหลือให้เห็นอีกแล้ว

แม่น้ำโขงเป็นลำน้ำที่มีการประมงมากที่สุดของโลก แต่ละปีจับปลารวมกันได้ประมาณ 2.5 ล้านตัน มูลค่ากว่า 2,000 ล้านดอลลาร์ ลำน้ำสายนี้ยังเป็นแหล่งโปรตีนจากสัตว์ราว 80% สำหรับประชา กรประมาณ 60 ล้านคนที่อาศัยทำกินอยู่ตามลุ่มน้ำตลอดสองฟากฝั่ง
<br><FONT color=#cc00cc>ไม่มีพิษมีภัยต่อผู้ใด อุปนิสัยขี้เล่น ซุกซน ซึ่งบางครั้งเป็นการเชื้อเชิญภัยจากมือมนุษย์ให้เข้าถึงตัวได้โดยง่าย </FONT></br>
เหมืองทองเซโปนของบริษัทล้านช้างมิเนอรัลส์ ที่ถือหุ้นใหญ่โดยออซมิเนอรัล (OZ Minerals) จากออสเตรเลีย ปัจจุบันกลุ่มมินเมทัลส์ (Minmetals) จากจีนกำลังดำเนินการควบรวมกิจการของกลุ่มเหมืองแห่งออสเตรเลียกลุ่มนี้.

**ทั่วโลกเหลือโลมาน้ำจืดไม่ถึง 1,000 ตัว**

ตามข้อมูลของ WWF ในปลายปี 2550 มีโลมาอิรวดีเหลืออยู่ทั่วโลกไม่ถึง 1,000 ตัว สาเหตุสำคัญทำให้ประชากรลดลงคือสภาพน้ำที่เป็นพิษ

แอนนา ฟอร์สลันด์ (Anna Forslund) ผู้ประสานงานเริ่มแรกเกี่ยวกับโลมาแม่น้ำของ WWF กล่าวว่า แม่น้ำแยงซีในจีน แม่น้ำโขงในกัมพูชา แม่น้ำคงคาในอินเดีย และ แม่น้ำสินธุในปากีสถาน เป็น แม่น้ำที่โลมาเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากที่สุดในโลก

นักวิทยาศาสตร์ผู้นี้กล่าวอีกว่า โลมาน้ำจืดเหล่านี้ต้องทนทุกข์ทรมานจากการสร้างเขื่อน การจับปลามากเกินไป การเกษตรแบบผิดๆ การทำเหมือง มลภาวะเป็นพิษ และน้ำเน่าเสีย ตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1970 เป็นต้นมา

"เราสามารถมองเห็นถึงความเชื่อมโยงกัน โลมาแม่น้ำต้องพึ่งพาอาศัยน้ำและผู้คนต้องพึ่งพาอาศัยน้ำเช่นกัน ดังนั้นระดับความเป็นพิษในคนที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวอาจมีค่าเท่ากัน จำนวนโลมาน้อยลงแสดงให้เห็นถึงน้ำที่ไม่ดีต่อสุขภาพ" ฟอร์สลันด์กล่าว

**ยูเอ็นช่วยเขมรบูมท่องเที่ยวชมโลมาอิรวดี**

ในปี 2550 องค์การการท่องเที่ยวโลกของสหประชาชาติ (World Tourism Organization) ร่วมกับรัฐบาลกัมพูชาจัดโครงการคุ้มครองโลมาอิรวดี พร้อมทั้งฟื้นฟูหมู่บ้านริมแม่น้ำ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวกับเศรษฐกิจท้องถิ่น

ทั้งหมดนี้รวมอยู่ในแผนการที่ใหญ่กว่าของของยูเอ็น ที่จะแปรสภาพพื้นที่บริเวณลำน้ำแม่โขงความยาวกว่า 200 กม.ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

"โลมาอิรวดี เป็นทรัพย์สมบัติทางธรรมชาติอันล้ำค่าที่เราควรช่วยกันคุ้มครอง นับว่าเป็นสัญลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของประเทศอันดับ 2 รองจากนครวัดเลยทีเดียว" นายธก สุขุม (Thok Sokhum) เจ้าหน้าที่การท่องเที่ยวของกัมพูชาในครั้งนั้น
<br><FONT color=#cc00cc>ภาพจากเว็บไซต์เมื่อครั้งที่เหมืองทองเซโปนเริ่มส่งออกแผ่นทองแดงหลายปีก่อน เหมืองใหญ่ที่สุดในลาวแห่งนี้ตกเป็นจำเลยขององค์การอนุรักษ์สภาพแวดล้อม ฐานเป็นตัวการปลอยสารพิษลงลำน้ำโขง.. แน่นอนกำลังจะมีผู้ออกมาปฏิเสธการกล่าวหานี้  </FONT></br>
ข้อมูลของ WWF ระบุว่าจนถึงเดือน ส.ค.2550 มีโลมา 80-100 ตัว อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขง ระหว่าง จ.กระแจ๊ (Kratie) ถึงเขตชายแดนกัมพูชาและลาว นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเคยกล่าวเตือนเมื่อหลายปีก่อนว่า ยุคที่โลมาจะสูญพันธุ์กำลังใกล้เข้ามาแล้ว ดังนั้นการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ให้มีรายได้มากขึ้นจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้โลมารอดชีวิตอยู่ได้

ภายใต้โครงการดังกล่าวจะมีตำรวจออกลาดตระเวน เพื่อดูแลคุ้มครองโลมา มีมาตรการเด็ดขาดต่อการใช้ตาข่ายจับปลา โดยจะจัดพื้นที่สำหรับหากปลาเฉพาะอย่างเข้มงวด พร้อมทั้งจับตาการจับปลาที่ผิดกฎหมาย เช่น การใช้ระเบิด การใช้สารไซยาไนด์ และ ช็อตด้วยไฟฟ้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ในแม่น้ำ

โครงการนี้ได้รับเงินทุนจากรัฐบาลกัมพูชา องค์การสหประชาชาติ และหน่วยงานด้านการพัฒนาของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งจะมีการวางแผนฟื้นฟูพื้นเขตเมืองในบริเวณใจกลางจังหวัดกระแจ๊ เพื่อเปลี่ยนเมืองริมฝั่งแม่น้ำแห่งนี้ให้เป็นประตูหน้าด่านการท่องเที่ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

หลังจากพัฒนาเมืองกระแจ๊ให้ดีขึ้นแล้ว ก็จะจัดทำแผนผัง Mekong Discovery Trail ซึ่งประกอบไปด้วยเส้นทางการขี่จักรยาน และกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้วางแผนโครงการกล่าวว่า จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งชุมชนท้องถิ่น ธุรกิจขนาดเล็ก และโลมาที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าว

ยังไม่ทราบความคืบหน้าเกี่ยวกับการดำเนินการเรื่องนี้ในปัจจุบัน
[ข้อมูลที่ถูกลบ]
[ข้อมูลที่ถูกลบ]
[ข้อมูลที่ถูกลบ]
[ข้อมูลที่ถูกลบ]
[ข้อมูลที่ถูกลบ]
กำลังโหลดความคิดเห็น