xs
xsm
sm
md
lg

ฝรั่งเศสอ้ำอึ้งหวั่นพม่าโละสัญญาโตตาลออย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#cc00> แท่นเจาะน้ำมันและก๊าซแห่งหนึ่งในแหล่งก๊าซอ่าวเมาะตะมะ (Mottama) ที่เยดากุน (Yedagun) ของพม่า เหนือขึ้นไปเล็กน้อยจะเป็นแปลงสำรวจยาดานา (Yadana) ของกลุ่มโตตาล ปตท.สผ.และบริษัทน้ำมันของพม่าเอง ฝรั่งเศสกำลังเป็นกังวลว่า มาตรการคว่ำบาตรที่รุนแรงของอียู อาจทำให้บริษัทน้ำมันของตนได้รับผลดระทบหนัก </FONT></br>

เอเอฟพี/ASTVผู้จัดการรายวัน-- ฝรั่งเศสได้แสดงความกังวลอย่างออกหน้าขณะที่สมาชิกสหภาพยุโรปชาติอื่นๆ กำลังหามาตรการคว่ำบาตรต่อระบอบทหารพม่าให้หนักข้อยิ่งขึ้น รัฐมนตรีของประเทศนี้กล่าวว่า บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของประเทศคือโตตาลออย (Total Oil) อาจจะไดรับผลกระทบจากมาตรการครั้งใหม่ และ จะส่งผลกระทบต่อประชาชนพม่า รวมทั้งประเทศไทยที่เป็นผู้ซื้อก๊าซด้วย

สหภาพยุโรปกำลังหารือเกี่ยวกับการเพิ่มมาตรการคว่ำบาตร รวมทั้งการเพิ่มแรงกดดันผ่านประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นหุ้นส่วนสำคัญของพม่าในเอเชีย หลังจากระบบทหารจับกุมและไต่สวนนางอองซานซูจี ที่ยุโรปมองว่าเป็นการทำเกินเหตุ มีนัยทางการเมืองแอบแฝงอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน

นายแบนาร์ด คูชเนอร์ (Bernard Kouchner) รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศสบอกกับที่ประชุมรัฐสภาในกรุงปารีสเมื่อวันพุธ (20 พ.ค.) ที่ผ่านมาว่า ฝรั่งเศสจะต้องพิจารณาเรื่องนี้อย่างรอบคอบ

"แรงกระทบทางเศรษฐกิจที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือโตตาล" นายคูชเนอร์บอกกับชาติสมาชิกรัฐสภา ทั้งเตือนด้วยว่าการกระทำใดๆ ก็ตามที่จะให้บริษัทน้ำมันใหญ่แห่งนี้ต้องหยุดการดำเนินกิจการในพม่าจะส่งผลกระทบภูมิภาค เนื่องจากบริษัทน้ำมันของฝรั่งเศสเป็นการลงทุนจากอียูเพียงเจ้าเดียวในขณะนี้

"โตตาลเป็นปัญหาที่พวกเรากำลังจะต้องแก้ไขต่อไป"

นายคูชเนอร์กล่าวว่าจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีผู้ใด มีความเห็นว่าไม่สมควรจะยืนยันอย่างมั่นคงในจุดยืนเกี่ยวกับโตตาล แต่ถ้าหากมีการตัดสินใจในระดับสูงเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้ ซึ่งจะนำไปสู่การทบทวนและอาจจะหมายความว่า จะมีการตัดการสนองก๊าซธรรมชาติซึ่งขัดต่อผลประโยชน์ของประชาชนพม่า ทั้งนี้ยังไม่ต้อง
กล่าวถึง "ผลกระทบต่อกรุงเทพฯ" เนื่องจากก๊าซที่ผลิตได้ส่งจำหน่ายให้แก่ไทย
<br><FONT color=#cc00> แผนที่สังเขปแสดงที่ตั้งของแหล่งก๊าซใหญ่อ่าวเมาะตะมะ ไทยน้ำเข้าก๊าซจากยาดานาตั้งแต่ปี 2541 บริษัทน้ำมันของไทยกำลังเร่งสำรวจอีกหลายหลุ่มในแหล่งเยดากุนที่อยู่ใต้ลงมา  </FONT></br>
"เราจะต้องชั่งน้ำหนักสิ่งต่างๆ เหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง" นายคูชเนอร์กล่าว พร้อมเตือนอีกว่า ถ้าหากบริษัทโตตาลถูกห้ามผลิตก๊าซในพม่า บริษัทจากจีนจะเข้าแทนที่ทันที

"ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่พิจารณาเรื่องนี้ (คว่ำบาตร) แต่หมายความว่าเรากำลังตรึกตรองเรื่องนี้อย่างจริงจัง เนื่องจากเห็นว่าสถานการณ์ในพม่าปัจจุบันไม่สามารถจะยอมรับได้จริงๆ" รัฐมนตรีฝรั่งเศสกล่าว

รัฐมนตรีต่างประทศอียูประชุมพิจารณาเรื่องนี้ในวันจันทร์ ซึ่งยังไม่มีการประกาศผลการตัดสินใจใดๆ ออกมาขณะที่รัฐมนตรีบางคนเปิดเผยว่า อียูกำลังจะหารือเพื่อกดดันผ่านกลุ่มอาเซียน ระหว่างการประชุมระดับระดับรัฐมนตรี ระหว่างสองกลุ่มที่มีกำหนดขึ้นในกรุงฮานอยเวียดนามสัปดาห์หน้า

เจ้าหน้าที่อียูกล่าวอีว่ากำลังจะมีการหารือเรื่องนี้กับรัฐบาลอินเดียและจีนซึ่งเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจสำคัญของระบอบทหารพม่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกำลังจะมีการประชุมพบปะผู้นำอียูกับจีนในวันพุธที่ผ่านมา

โตตาลเป็นบริษัทน้ำมันใหญ่ที่สุดและมีผลกำไรมากที่สุดในฝรั่งเศส เข้าลงทุนถือหุ้นใหญ่ในแปล่งก๊าซ ยาานา (Yadana) ในอ่าวเมาะตะมะมาตั้งแต่ปี 2535 ประมาณกันว่าราว 20% ของก๊าซที่ใช้อยู่ในประเทศไทยปัจจุบันนี้ นำเข้าจากแหล่งก๊าซดังกล่าว

บริษัทลูกของ ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียมจำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ของไทยร่วมถือหุ้นส่วนน้อยในแปลงสำรวจดังกล่าวกับโตตาลด้วย

สหภาพยุโรปเริ่มใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อพม่ามาตั้งแต่ปี 2539 โดยห้ามจำหน่ายอาวุธใดๆ แก่ระบอบทหาร จำกัดการเดินทางเข้าประเทศของเจ้าหน้าที่รัฐบาล ผู้นำระดับสูง รวมทั้งสมาชิกในครอบครัว อายัดทรัพย์สินของคนเหล่านั้นที่อยู่ในอาณัติของฝรั่งเศส

ปี 25250 อียูได้เพิ่มมาตรการคว่ำบาตรแข็งกร้าวยิ่งขึ้นหลังจาก พม่าปราบปรามผู้เดินขบวนเรียกร้องประชาธิปไตยอย่างรุนแรงอีกครั้งหนึ่ง.
กำลังโหลดความคิดเห็น