xs
xsm
sm
md
lg

เขมรถกเดือด BTS ทำรถไฟฟ้าพนมเปญ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online



ผู้จัดการรายวัน-- นักวิชาการและนักธุรกิจในกัมพูชากำลังถกเถียงกันอย่างหนักเกี่ยวกับความเหมาะสม ที่จะมีรถไฟฟ้าในกรุงพนมเปญถึง 2 สาย หลังจากสื่อได้รายงานเรื่อง บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS (Bangkok Mass Transit System) มีแผนจะเข้าลงทุนก่อสร้างที่นั่น

บริษัทรถไฟฟ้าบีทีเอสของไทย มีแผนจะสร้างรถไฟฟ้าแบบเดียวกันกับในกรุงเทพฯ ในเมืองหลวงของกัมพูชาทั้งนี้เป็นรายงานจากสำนักข่าวเอเคพี (Agence Kampuchean Presse) ซึ่งเป็นสำนักข่าวของทางการ

บีทีเอสเตรียมใช้เงินลงทุนสำหรับโครงการดังกล่าวประมาณ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เอเคพีฉบับภาษาฝรั่งเศส อ้างรายงานชิ้นหนึ่งของนิตยสารภาษาเขมร "สตาร์" เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

เส้นทางรถไฟฟ้าสายแรกจะเริ่มต้นจากสะพานมิตรภาพญี่ปุ่น-กัมพูชาไปสิ้นสุดที่สะพานมุนีวงศ์ รวมระยะทาง 7 กม. ขณะที่อีกหนึ่งสายจะมีระยะทาง 8 กม. เริ่มต้นจากตลาดกลางไปจนถึงเขต อ.สตึงมีชัย (Steung Meanchey) ศูนย์กลางอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าส่งออก

“รัฐบาลกัมพูชาและบริษัทบีทีเอสของไทยได้ศึกษาเกี่ยวกับโครงการดังกล่าว และจะร่วมมือกันในการก่อสร้างเส้นทาง” นิตยสารฉบับเดียวกันอ้างคำกล่าวของนายไม วุฑธี (Mai Vuthy) ซึ่งอ้างว่าเป็นตัวแทนของบีทีเอสในกัมพูชา

“ผู้จัดการรายวัน” ไม่สามารถติดต่อขอความเห็นใดๆ จากผู้บริหารของบริษัทรถไฟฟ้าของไทยได้ในสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา

ตามกำหนดการของโครงการ บีทีเอสจะใช้ระยะเวลาก่อสร้างตั้งแต่ปี 2551-2554เมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้ว รถไฟฟ้าจะเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 6 โมงเช้า ถึง 4 ทุ่ม คิดค่าโดยสารเที่ยวละประมาณ 1 ดอลลาร์ สื่อของกัมพูชาอ้างคำกล่าวของนายวุฑธี

"เมื่อเรามีรถไฟฟ้าใช้ จะทำให้ลดการจราจรอันติดขัดลงได้...ทั้งยังช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นด้วย" เอเคพีอ้างคำกล่าวของนายโสพรรณ จะเรียง (Chreang Sophan) รองผู้ว่าราชการกรุงพนมเปญ

“ผู้จัดการรายวัน” สามารถติดต่อขอความเห็นจากบุคคลที่เกี่ยวข้องในกรุงพนมเปญได้ในวันสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตามหลายฝ่ายในกัมพูชาเชื่อว่า รถไฟฟ้าแบบสกายเทรน ไม่เหมาะสำหรับเมืองหลวง และ ไม่อาจจะเป็นที่สนใจของบรรดานักท่องเที่ยวได้ เนื่องจากชาวต่างชาติที่ไปกัมพูชาอยากจะชมความสวยงามของของพระราชวังเก่าและบ้านเรือนตั้งแต่สมัยอาณานิคม มากกว่าจะไปชมระบบคมนาคมที่ ทันสมัยซึ่งหาชมได้ในแหล่งอื่นๆ ในเอเชีย

นักวิชาการผู้หนึ่งกล่าวว่า รถไฟฟ้ายกระดับกำลังจะทำลายทัศนียภาพของกรุงพนมเปญอย่างสิ้นเชิง รัฐบาลควรให้ความใส่ใจพัฒนาการศึกษาและระบบสาธารณสุขพื้นฐานของประชาชนมากกว่า

นักวิชาการอีกคนหนึ่งกล่าวว่า ควรจะนำงบประมาณก้อนนี้ไปลงทุนพัฒนาการรถไฟของประเทศให้ดีกว่าทุกวันนี้หรือนำไปใช้ในโครงการพัฒนาเพื่อลดความยากจนของประชาชน แทนที่จะเปิดทางบริษัทต่างชาติ “เข้าไปเพิ่มความยากจนให้แก่ชาวกัมพูชา”

นักธุรกิจอีกคนหนึ่งกล่าวว่า รถไฟฟ้า 2 สายดังกล่าวไม่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ เนื่องจากต้องลงทุนถึง 500 ล้านดอลลาร์ ด้วยระยะทางรวมกันเพียง 15 กิโลเมตรซึ่งเท่ากับมีต้นทุนราว 33 ล้านดอลลาร์ต่อ กม. จะต้องใช้เวลากี่ปีจึงจะคุ้มทุน

นักวิชาการอีกผู้หนึ่งให้ความเห็นว่า ระบบรถไฟฟ้าขนาดเบา (Light Rail System) ส่วนใหญ่จะมีอายุการใช้งานเพียง 35 ปีเท่านั้นจากนั้นจะมีค่าบำรุงรักษาที่สูงมาก

“กรุงพนมเปญมีประชากรเพียง 2 ล้านคนเศษ ส่วนใหญ่ยังยากจนแบบติดดิน ใครคิดจะสร้างรถไฟฟ้าที่นี่ก็เสียสติแล้ว..” ผู้ที่อ้างตัวเองเป็นนักธุรกิจอีกคนหนึ่งให้ความเห็นบนเว็บไซต์ภาษาเขมรแห่งหนึ่ง ของชาวเขมรโพ้นทะเลในแคลิฟอร์เนีย

บางคนยังให้ความเห็นอีกว่า แม้จะมีความเป็นไปได้โครงการใหญ่ขนาดนี้ก็จะต้องมีการประกวดราคากันอย่างโปร่งใส เปิดโอกาสให้ประเทศที่มีเทคโนโลยีขนส่งมวลชนระบบรางเข้าแข่งขันด้วย ขณะที่ไม่มีบริษัทจากประเทศไทยแห่งใดเป็นเจ้าของเทคโนโลยีนี้เลย

“รัฐบาลต้องเปิดโอกาสให้บริษัทจากเยอรมนีหรือญี่ปุ่นเข้าประกวดราคาด้วย เนื่องจากทั้งสองประเทศเป็นเจ้าของเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในระบบขนส่งมวลชน บริษัทจากไทยไม่ได้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีอะไร” นักธุรกิจคนเดียวกันกล่าว

ชาวกัมพูชาบางคนที่ร่วมแสดงความคิดเห็นบนเว็บไซต์กล่าวว่า หากจะดึงดูดนักท่องเที่ยวจริงๆ รัฐบาลควรจะต้องปรับปรุงระบบจราจรในประเทศให้ปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยวและทำให้กรุงพนมเปญเป็นเมืองที่สะอาดเสียก่อน แทนที่จะเป็น—สลัมแห่ง
เอเชีย—เช่นทุกวันนี้”

รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา หรือ ชื่อที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า รถไฟฟ้าบีทีเอส เป็นระบบขนส่งมวลชนแบบรางของกรุงเทพมหานคร ดำเนินการโดย บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด มหาชน (Bangkok Mass Transit System Plc)
<CENTER><FONT color=#FF0099>  ภาพถ่ายวันที่ 26 ก.ค.2550-- นักท่องเที่ยวจากประเทศไทยคณะหนึ่งไปเที่ยวชมพระราชวัง นักวิชาการกล่าวว่า ชาวต่างชาติไปเที่ยวกรุงพนมเปญ ไม่ได้หวังจะไปดูหรือไปเพื่อลองนั่งรถไฟฟ้า <FONT></CENTER>
รถไฟฟ้าบีทีเอสเริ่มเปิดให้บริการครั้งแรกวันที่ 5 ธันวาคมในปี พ.ศ. 2542 โดยอัตราค่าโดยสาร เริ่มต้นที่ 15 บาท สูงสุด 40 บาท เป็นระบบซึ่งดำเนินการแยกต่างหากจาก รถไฟฟ้ามหานคร หรือ รถไฟฟ้าใต้ดิน

ในปัจจุบันกำลังมีการก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีลม ช่วงถนนตากสินข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปยังแยกตากสินรวมระยะทาง .2 กิโลเมตรโดย กทม. ใช้เงินลงทุนเอง 100% เป็นเงินทั้งสิ้น 2,393 ล้านบาท

ในเมืองหลวงของกัมพูชาปัจจุบัน ยังไม่มีระบบรถเมล์โดยสารประจำทาง และ กำลังจะมีรถแท็กซี่มีเตอร์ให้บริการเป็นครั้งแรกใน

เดือน ก.ย.นี้ ปัจจุบันรถจักรยานยนต์ รถสมล้อเครื่องรับจ้าง และมอเตอร์รับจ้าง เป็นพาหนะหลัก

อย่างไรก็ตามในกัมพูชากำลังมีการก่อสร้าง-ยกระดับทางหลวงหลายสาย รวมทั้งสายศรีโสภณ-เสียมราฐ สายช่องสะงำ-เสียมราฐ ที่ตั้งของปราสาทหินนครวัด และ สายเกาะกง-สีหนุวิลล์ โดยความช่วยเหลือจากรัฐบาลไทย

ขณะเดียวกัน รัฐบาลจีนกำลังช่วยกัมพูชาก่อสร้างทางหลวงเลข 7 ระยะทางกว่า 300 กม.ช่วง จ.กระแจ๊ (Kratie) ไปยัง จ.สตึงแตร็ง (Strung Treng) ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไปบรรจบกับทางหลวงเลข 13 ใต้ในลาว.
กำลังโหลดความคิดเห็น