xs
xsm
sm
md
lg

จากห้วงหาว..ถนนพันปีนครวัด-ปราสาทพิมาย!!

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


มีการเอ่ยถึง "ถนนไปสู่เมืองพิมาย" ตั้งแต่เมื่อหลายร้อยปีก่อน ในจารึกสมัยพระเจ้าชัยวรรมันที่ 7 มหากษัตริย์แห่งอาณาจักรนครวัด แต่ครั้งนี้อาจจะเป็นครั้งแรกที่นักโบราณคดีได้เห็นเส้นทางตั้งแต่ยุค 1,000 ปีปรากฏอยู่ในแผนที่ที่สร้างขึ้นจากเทคโนโลยีอันเลิศล้ำ

นักวิทยาศาสตร์จาก 4 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส สหรัฐฯ และ กัมพูชา ที่ศึกษาอาณาจักรนครวัดจากภาพถ่ายที่ใช้เทคโนโลยีดาวเทียมได้นำแผนที่จัดทำขึ้นใหม่ออกเผยแพร่ในวันอังคาร (14 ส.ค.) ที่ผ่านมา พร้อมประกาศการค้นพบร่องรอยของมหานคร (Metropolis) โบราณในดินแดนภาคเหนือของกัมพูชา

"พิมาย" ในปัจจุบันเป็นชื่อของอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา ขณะเดียวกันก็เป็นชื่อเรียกปราสาทหินที่ทำขึ้นจากหินทรายสีชมพู เช่นเดียวกันกับปราสาทบันทรายศรี (Banteay Srei) ในเมืองเสียมราฐ

เช่นเดียวกันบันทายศรี นักโบราณคดีได้พบหลักฐานที่ทำให้เชื่อว่าปราสาทพิมาย สร้างขึ้นก่อนปราสาทนครวัดหลายร้อยปี

ศิลาจารึกในสมัยพระเจ้าอีศานวรรมันที่ 1 (พ.ศ.1159-1172) ได้กล่าวถึงชื่อ "พีมปุระ" ถ้าหากชื่อนี้หมายถึง "พิมาย" ปราสาทแห่งนี้ก็อาจจะสร้างขึ้นเมื่อ 1,300 ปีมาแล้ว

ในจารึกที่ปราสาทพระขรรค์ในเขตนครวัด ซึ่งปรากฏในยุคหลังราวพุทธศตวรรษที่ 18 มีการเขียนถึงชื่อ "วิมายะปุระ"

ในจดหมายเหตุของโจต้าก้วน (Zhou Da Guan) ชาวจีนที่ไปเยือนเมืองพระนคร (Angkor Wat) ในช่วงพ.ศ.1839-40 ได้เอ่ยถึงแว่นแคว้นในเขตปกครองของอาณาจักรอันยิ่งใหญ่นี้ โดยระบุว่ามีกว่า 90 เมือง ในนั้นมีชื่อ "พิมาย" รวมอยู่ด้วย





ในจารึกสมัยพระเจ้าชัยวรรมันที่ 7 ได้พูดถึงการสร้าง "ธรรมศาลา" สำหรับคนเดินทางจำนวน 17 แห่ง ไว้ตามทางจากนครวัดไปยัง "พิมาย" ..

ยังไม่มีใครเคยเห็นถนนของกษัตริย์ชัยวรรมันสายนั้น จนกระทั่งในสัปดาห์นี้..

นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้กล่าวว่าอาณาจักรนครวัดล่มสลายลงเนื่องจากความใหญ่โตของอาณาจักร เมื่อมีประชากรมากขึ้นก็มีการตัดไม้ทำลายป่าอย่างกว้างขวาง ทำลายต้นน้ำลำธาร จนเกิดความแห้งแล้งไปทั่ว

แผนที่ที่จัดทำขึ้นใหม่จากข้อมูลรายละเอียดที่ได้จากภาพถ่ายดาวเทียมได้ทำให้การศึกษาประวัติศาสตร์อารยะธรรมของมนุษย์ในเขตร้อนก้าวไปอีกขึ้นหนึ่ง.. นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาลงไปในรายละเอียดเพื่อหาร่องรอยของประชากรนครวัดที่อาจจะมีอยู่ระหว่าง 7 แสนถึง 1 ล้านคน

ประวัติศาสตร์ของอาณาจักรนครวัดผูกพันกับการก่อเกิดและวิวัฒนาการของอาณาจักรต่างๆ ในดินแดนประเทศไทยอย่างแนบแน่น

แล้วพวกเขาเหล่านั้นหายไปไหน? เหตุใดวัฒนธรรมก่อสร้างปราสาทใหญ่จึงหายไป?
กำลังโหลดความคิดเห็น