xs
xsm
sm
md
lg

โต้เขมรขี้โม้..โลมาอิรวดีเหลือน้อยเต็มที

เผยแพร่:   โดย: MGR Online



นักวิจัยได้โต้แย้งเจ้าหน้าที่หน่วยงานอนุรักษ์ของทางการกัมพูชา ที่บอกว่า โลมาอิรวดีในแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นสัตว์หายากได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากในช่วงปีที่ผ่านมา ทำให้อุ่นใจว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในลำน้ำโขงของในประเทศนี้จะไม่สูญพันธุ์

แต่ อิซาเบล บีสลี่ย์ (Isabel Beastly) นักศึกษาปริญญาเอกแห่งมหาวิทยาลัยเจมส์คุก (James Cook University) กล่าวว่า มันเป็นไปไม่ได้เลยที่จำนวนโลมาอิรวดี จะแพร่พันธุ์รวดเร็วขนาดนั้น เพราะตัวเมียแต่ละตัวจะตกลูกเพียง 2 ปีต่อครั้ง

นายตู้จ เซียง ตะนะ (Touch Seang Tana) ประธานคณะกรรมการเพื่ออนุรักษ์โลมาแม่น้ำโขง ที่รัฐบาลกัมพูชา จัดตั้งขึ้นดูแลสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหายากชนิดนี้ กล่าวว่า ในปัจจุบันจำนวนประชากรของโลมาพันธุ์นี้มีอยู่ราว 160 ตัว เพิ่มขึ้นจากเพียง 90 ตัว เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งรัฐบาลเริ่มออกกฎระเบียบห้ามใช้ตาข่ายจับปลา เพื่อมิให้โลมาติดตาข่ายและล้มตายอย่างที่เคยเป็นมา

แต่นักวิจัยได้พากันสงสัยตัวเลข พวกเขาชี้ว่า ในทางชีววิทยาแล้วเป็นไปไม่ได้เลยที่จำนวนจะเพิ่มขึ้นรวดเร็วปานนั้น เพราะโลมาตัวเมียจะใช้เวลาตั้งท้องนาน 11 เดือน และเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า สัตว์ชนิดนี้จะตกลูกได้ 2 ปีต่อ 1 ตัวเท่านั้น

นอกจากนั้น ก็ไม่พบว่า จะมีโลมาหลงเหลืออยู่ในที่อื่นๆ ของแม่น้ำโขง ในจำนวนมากพอที่จะว่ายไปรวมเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ในประเทศกัมพูชา อย่างที่คณะกรรมการชุดของทางการแถลง
<CENTER><FONT color=#663399> ความร่าเริงและอุปนิสัยขี้เล่นแบบนี้ บางทีก็ชักนำภัยไปถึงตัวได้โดยง่ายในอดีตพวกเขมรแดงเคย ยิงตายไปหลายร้อยตัว เพื่อเอาน้ำมันไปจุดตะเกียง (ภาพ: Reuters)  </FONT></CENTER>
<CENTER><FONT color=#663399>  ชาวบ้านที่นั่นใช้แหจับปลาได้ แต่จะลากอวนเหมือนเดิมไม่ได้อีกแล้ว เพื่อสงวนชีวิตของสัตยว์โลกที่น่ารัก ซึ่งเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อย่างยิ่ง (ภาพ: Reuters)  </FONT></CENTER>

“มันเป็นไปไม่ได้เลยที่จำนวนประชากรโลมาจะเพิ่มขึ้นมากมายขนาดนั้นภายใน 1 ปี” อิซาเบลกล่าว เธอเป็นนักศึกษาปริญญาเอก ที่เคยคลุกคลีทำงานวิจัยเกี่ยวกับโลมาอิรวดีในแม่น้ำโขง ระหว่างปี 2544-2548

“นอกจากนั้น การล้มตายของโลมา ในหลายปีที่ผ่านมา ก็มีอัตราที่สูงยิ่ง และ 95% ของจำนวนที่ตายลงก็เกิดขึ้นในอาณาบริเวณที่เพิ่งจะห้ามการใช้ตาข่ายจับปลานี่แหละ” อิซาเบลกล่าว

โลมาอิรวดี หรือที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า โลมาแม่น้ำโขงนั้น ตัวโตจะมีความยาว 2-3 เมตร เมื่อดูเผินๆ ก็จะละม้ายคล้ายคลึงกับวาฬเบลูกา (beluka whale) ยังพบโลมาอิรวดีในลำน้ำอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในพม่า อินโดนีเซีย หรือกระทั่งภาคเหนือของออสเตรเลีย แต่ก็มีจำนวนน้อย

ในแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของลาว เคยมีโลมาอิรวดีชุกชุม ที่นั่นเรียกกันว่า “ปลาข่า” ซึ่งในปัจจุบันเกือบจะไม่มีเหลือให้เห็นอีกแล้ว

เพราะฉะนั้นจำนวนประชากรโลมาอิรวดีในลำน้ำแถบนี้ จึงเหลืออยู่น้อยเต็มที และหากคิดคำนวณเรื่องนี้ผิด ก็จะทำให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพันธุ์นี้สูญไปจากโลกได้ อิซาเบลกล่าว

เธอกล่าวว่าจนถึงเดือน เม.ย.2548 ประชากรโลมาอิรวดีในแม่น้ำโขง มีอยู่ระหว่าง 127-161 ตัว เท่านั้น ยังพบอีกจำนวนไม่มากในแม่น้ำมะหะกำ (Mahakam) ของอินโดนีเซีย และในแม่น้ำอิรวดี ในพม่า
กำลังโหลดความคิดเห็น