xs
xsm
sm
md
lg

ลาวอนุรักษ์ 'ละอง-ละมั่ง' เสี่ยงสูญพันธุ์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#3366FF>ละอง หรือ ละมั่ง (Cervus eldi) สัตว์ป่าที่พบอยู่ใน สปป.ลาว อยู่ในบัญชีสัตว์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการสูญพันธุ์ </FONT></CENTER>

กรุงเทพฯ - มูลนิธิอนุรักษ์สัตว์ป่า (Wildlife Conservation Society - WCS) ร่วมกับหน่วยงานของรัฐบาลลาว ร่วมมือกันเพื่อดำเนินการอนุรักษ์สัตว์ป่าหลายชนิดที่พบว่าใกล้สูญพันธุ์ หนึ่งในจำนวนนั้นคือ ละอง ละมั่ง ที่พบว่าในปัจจุบันในพื้นที่ป่า สปป.ลาว เป็นสัตว์ป่าที่ตกอยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ด้วยเงื้อมมือของมนุษย์

ละอง หรือ ละมั่ง (Cervus eldi) เป็นกวางชนิดหนึ่งที่มีขนาดโตกว่าเนื้อทรายแต่เล็กกว่ากวางป่า เป็นสัตว์ป่าหายาก ล่าสุดมูลนิธิอนุรักษ์สัตว์ป่า สปป.ลาว ได้ปล่อยตัวละมั่งตัวหนึ่งกลับคืนสู่ป่า หลังจากที่สามารถยึดมาได้จากนายพรานคนหนึ่งในแขวงสะหวันนะเขต

"สัตว์ชนิดนี้ถูกคุกคามอย่างหนักจากนักล่าสัตว์ป่า ที่ต้องการฆ่ามันเพื่อนำไปขาย และเป็นอาหาร โดยใช้ทั้งอาวุธปืน และกับดักเพื่อล่าล้างพวกมัน" นายสุวันนี อ้วนมะนี ผู้จัดการโครงการอนุรักษ์ละมั่ง ของมูลนิธิอนุรักษ์สัตว์ป่า กล่าว ทั้งนี้เป็นรายงานของหนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ไทมส์

ละอง หรือ ละมั่ง เป็นสัตว์ป่าที่พบใน สปป.ลาว กัมพูชา แลไทย เป็นสัตว์ที่ถูกจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนภายใต้อนุสัญญา CITES อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่า และพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ชนิดพันธุ์แนบท้ายบัญชีหมายเลข 1 เป็นชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าที่ห้ามนำเข้าและส่งออกเพื่อการค้าโดยเด็ดขาด

ปัจจุบันใน สปป.ลาว พบประชากร ละอง และละมั่ง อยู่อย่างจำกัดในพื้นที่ 2 เมือง คือที่เมืองมูลป่าโมก (Mounlapamok) แขวงจำปาสัก และเมืองซลบุลี (Xonbouly) แขวงสะหวันนะเขต ซึ่งในปี 2545 เฉพาะแขวงสะหวันนะเขตมีประชากรละอง หรือ ละมั่งอยู่ประมาณระหว่าง 6 - 20 ตัว

นับจากนั้น มูลนิธิอนุรักษ์สัตว์ป่า และสถาบันสมิธโซเนียน (Smithsonian Institute) ได้ร่วมกับ กรมป่าไม้ สำนักงานกสิกรรมและป่าไม้ แขวงสะหวันนะเขต เมืองซลบุลี ดำเนินกิจกรรมเพื่อมุ่งอนุรักษ์สัตว์ป่าชนิดดังกล่าว

นายสะวันนี กล่าวว่า ในปี 2547 รัฐบาล สปป.ลาว ประกาศกำหนดพื้นที่เกือบ 6 แสนไร่ (93,000 เฮกตาร์) ในแขวงสะหวันนะเขต ตั้งเป็นเขตที่อยู่อาศัยของละอง และละมั่ง เป็นสิ่งที่ช่วยยืนยันว่าสัตว์พันธุ์นี้ได้รับการอนุรักษ์ และการดำเนินงานได้ผลมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ทางมูลนิธิอนุรักษ์สัตว์ป่า และกรมป่าไม้ กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกันดำเนินงานอนุรักษ์สัตว์ป่าที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ประกอบด้วยละอง ละมั่ง ช้างเอเชีย ชะนี และจระเข้สยาม ระหว่างปี 2547 - 2549
กำลังโหลดความคิดเห็น