กรุงเทพฯ- การสูญเสียพื้นที่ชุ่มชื้นธรรมชาติในแถบที่รากปากแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของเวียดนาม อันเนื่องมากจากการขยายของพื้นที่ทำนากุ้งนั้น ได้ทำให้นกกระเรียนหัวแดงซึ่งเป็นพันธ์หายาก บินอพยพจากเวียดนมามไปอาศัยในประเทศเพื่อนบ้าน องค์กรภาคเอกชนที่เฝ้าสังเกตติดตามฝูงนกกล่าวว่า ในช่วงปีใกล้ๆ นี้มีนกกระเรียนบินกลับเวียดนามน้อยลงทุกทีๆ
ในปี 2545 เคยมีประชากรนกกะเรียนหัวแดงอยู่ถึง 361 ตัวในพื้นที่ชุ่มน้ำธรรมชาติ ห่าเตียน-เกียนเลือง ใน จ.เกียนยาง (Kien Giang) แต่ในปีนี้นับจำนวนได้เพียง 208 ตัวเท่านั้น
ตามรายงานตัวเลขของสมาคมนกกระเรียนระหว่างประเทศ(International Crane Association) ในเดือน เม.ย. ปีนี้ ประชากรนกกระเรียนในเขตป่าสงวนแห่งต่างๆ ของเวียดนามในปีนี้นับรวมกันได้เพียง 297 ตัว น้อยกว่าตัวเลขในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ขณะเดียวกันฝูงนกกระเรียนในกัมพูชาได้เพิ่มจาก 411 ตัวของปีที่แล้วเป็น 517 ตัวในปีนี้
ในช่วงฤดูแล้งของทุกปี นกกระเรียนหัวแดงได้บินจากภาคเหนือของกัมพูชาและจากบริเวณป่าสงวนในเขตที่ราบสูงภาคกลางเวียดนาม ไปยังบริเวณที่ราบปากแม่น้ำโขง กับอีกส่วนหนึ่งไปอยู่รอบๆ แม่น้ำโตนเลสาป (Tonle Sap) ของกัมพูชา
ในเวียดนาม นกกระเรียนส่วนใหญ่อาศัยในบริเวณ อ.ห่าเตียน-เกียนเลือง ทางตอนใต้ของ จ.เกียนยาง และ เขตป่าสงวนแห่งชาติเฉิ่มจิน (Tram Chin) ใน จ.ด่งท้าป ปีนี้มีนกกระเรียนบินกลับเวียดนามน้อยลงมาก
ในอดีตนกกระเรียนมักอาศัยในป่าสงวนห่อนจ๋ง (Hon Chong) ใน อ.เกียนเลือง แต่ในปี 2545 เมื่อ จ.เกียนยาง เริ่มยกพื้นที่ป่าสงวนแห่งนี้เป็นพื้นที่นากุ้ง นกกระเรียนก็ไม่ไปปรากฎตัวอีก
ในหลายพื้นที่ๆ มีสภาพชุ่มน้ำธรรมชาติ ที่ จ.เกียนยาง ได้กลายเป็นฟาร์มเลี้ยงกุ้งซึ่งเป็นสาเหตุหลักทำให้นกกระเรียนกลับไปยัง อ.ห่าเตียน น้อยลง เช่นเดียวกับที่เขตวนอุทธยานแห่งชาติเฉิ่มจิน ที่ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไป
ถึงแม้จะมีการพัฒนาระบบนิเวศในเขตวนอุทธยานแห่งชาติของ จ.ด่งท้าป (Dong Thap) ให้ดีขึ้น แต่ยังไม่สามารถทำให้จำนวนนกกระเรียนหัวแดงเพิ่มขึ้นได้ และถ้าหากถ้าพื้นที่ชุ่มน้ำในเขต อ.ห่าเตียน-เกียนเลืองหายไปหรือลดลงอีก ก็อาจจะทำให้ฝูงนกกระเรียนหายไปเช่นที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยมาแล้ว.