xs
xsm
sm
md
lg

เขมรสั่งแบน 'ล่า-ท้า-ผี' หากินกับความสยอง!

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ภาพยนตร์เรื่อง "ล่า-ท้า-ผี" ที่กำลังจะเข้าโรงฉายในวันพฤหัสบดี (27 เม.ย.) นี้ ถูกทางการกัมพูชาสั่งแบนล่วงหน้าแต่เนิ่นๆ โผล่เข้าเขมรยึดทันที

กรุงเทพฯ- เจ้าหน้าที่กัมพูากล่าวว่ากระทรวงวัฒนธรรมกำลังเตรียมการห้ามฉายภาพยนตร์ไทยเรื่อง "ล่า-ท้า-ผี" (Ghost Game) ซึ่งมีเนื้อหาและมีฉากที่ทำขึ้นมาเหมือนกับเรือนจำตูลสแลงในกรุงพนมเปญ ที่ฝ่ายเขมรแดงใช้เป็นศูนย์ทรมานและสังหารนักโทษเมื่อกว่า 30 ปีก่อน

เจ้าหน้าที่ กระทรวงวัฒนธรรมกล่าวว่า ฟิล์มหรือวัสดุใดๆ ของภาพยนตร์ "ล่า-ท้า-ผี" ที่พบในกัมพูชาจะถูกยึดในทันที เนื่องจาก "ทำร้ายชื่อเสียงของประเทศ" โดยนำเอาอดีตที่ทรมานของชาวกัมพูชาไปเป็นจุดขาย ภาพยนตร์ดังกล่าวมีกำหนดจะเข้าฉายตามโรงภาพยนตร์ในกรุงเทพฯ ในวันพฤหัสบดี (27 เม.ย.) นี้
ห้องขังคุกตูลสแลง (Tuol Sleng) ของฝ่ายเขมรแดง หรือที่เรียกว่า ค่าย S-21 ที่บางฉากในภาพยนตร์ได้เสนอออกมาคล้ายคลึงกันมาก
ภาพยนตร์ "ล่า-ท้า-ผี" บอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในซีซั่นที่สองของเรียลลิตี้โชว์สุดฮิต ซึ่งทีมงานได้รวบรวม 11 คนที่พร้อมจะเผชิญหน้ากับทุกสิ่งลี้ลับ พวกเขาจะต้องใช้ชีวิตร่วมกันในพิพิธภัณฑ์สงครามแห่งหนึ่งในประเทศกัมพูชา ซึ่งคนชุดสุดท้ายที่เคยเข้าไปเมื่อ 20 ปีก่อน ต้องตายอย่างน่าสยดสยองหลังจากนั้นไม่มีใครกล้าเข้าไปอีกเลย

ในภาพยนตร์ได้ใช้ชื่อสถานที่จำลองที่เป็นคุกในเขมรแดงว่า "เรือนจำลหุโทษ 11" ซึ่งคล้ายคลึงกับคุกตูลสแลง (Tuol Sleng) ของฝ่ายเขมรแดง หรือที่เรียกว่า "ค่าย S-21" ที่ในอดีตผู้คนหญิงชายทั้งเด็กและผู้ใหญ่กว่า 16,000 คน ต้องทนทุกข์ทรมาน กระทำการทารุณ และถูกสังหารในที่สุด

"มันเหมือนเป็นการรื้อฟื้นความทรวงทำอันแสนเจ็บปวด ไม่ใช่เพียงชาวกัมพูชาเท่านั้น แต่สำหรับเหยื่อทุกรายต่างก็ต้องการผลักไสความทรงจำที่เลวร้ายนั้นให้หลุดออกไป" นายยู้ก จาง (Youk Chhang) นักวิจัยของศูนย์เอกสารข้อมูลกัมพูชา (Documentation Center of Cambodia) ที่เป็นผู้รวบรวมหลักฐานจากตูลสแลงเพื่อเอาผิดกับอดีตผู้นำเขมรแดง กล่าว ทั้งนี้เป็นรายงานของสำนักข่าวเอเอฟพี

ประชาชนกว่า 2 ล้านคนล้มตายเพราะไม่มีอาหารตกถึงท้อง ถูกฆ่า หรือไม่ก็เหนื่อยล้า จากการถูกบังคับใช้แรงงานมากเกินกำลังกลางดินแดนที่กลายเป็นทุ่งสังหารล้างเผ่าพันธุ์ในยุคเขมรแดงครองกัมพูชา

ภาพยนตร์ "ล่า-ท้า-ผี" (Ghost Game) เป็นการร่วมสร้างของค่ายใหม่อย่างเอ็นจีอาร์ (NGR) กับบริษัท TIFA ที่ปฏิเสธความเกี่ยวข้องกันของภาพยนตร์เรื่องนี้กับประวัติศาสตร์เขมรแดง แต่ก็ยอมรับว่าบรรดาผู้ที่ได้ชมอาจคิดไปว่ามันมีลักษณะเหมือนกัน
ชาวกัมพูชาที่เข้าไปชมภาพผู้ที่เสียชีวิตที่จัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์คุกตูลสแลง ยังคงเศร้าสลดกับเหตุการณ์ยุคโหดร้ายในยุคเขมรแดง
ภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทำในประเทศไทยทั้งหมด โดยฉากเหตุการณ์ภายในคุกนั้นก็ถ่ายทำภายในเรือนจำในจังหวัดภาคกลางของไทย ซึ่งเจ้าหน้าที่อนุญาตให้เปลี่ยนป้ายบางป้ายเป็นภาษาเขมร

"เรื่องราวของภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้มีเค้าเรื่องที่เกิดขึ้นจริงในตูลสแลงและเขมรแดงไปเกี่ยวข้องเลย แต่กลับภาษาเขมรที่ได้ใช้ในภาพยนตร์นั้นเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ต้องให้ผู้ชมคิดว่ามันเป็นคุกในกัมพูชา" เอเอฟพีอ้างคำกล่าวของ พิมลทิพย์ ยี่สนเทศ ผู้จัดการใหญ่ Tifa

ในส่วนของบทภาพยนตร์ก็ต้องมีความละเอียดรอบคอบ โดยได้เสนอต่อเจ้าหน้าที่ทั้งไทย และกัมพูชาได้พิจารณาก่อนด้วย แต่เจ้าหน้าที่สถานทูตกัมพูชาในกรุงเทพฯ และเจ้าหน้าที่ทางกรุงพนมเปญก็ไม่ได้เรียกร้องให้มีการแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใดเลย.
กำลังโหลดความคิดเห็น