ผู้จัดการรายวัน- องค์กรการบินยักษ์ใหญ่จากเสนอเวียดนามโครงการเปิดศูนย์ซ่อมบำรุงเครื่องบินราคาสูงลิบถึง 500 ล้านดอลลาร์ในเขตเศรษฐกิจเปิดจูลาย (Chu Lai) ในภาคกลางของเวียดนาม วางแผนดันสนามบินภาคกลาง เป็นศูนย์กลางขนถ่ายสินค้าระดับอินเตอร์ หรือ โกลบอลทรานสปาร์ค ในขณะที่โครงการของไทยที่จะผลักดันสนามบินอู่ตะเภาของไทยยังไม่มีความคืบหน้า
การประกาศรุกใหญ่การลงทุนด้านการการบินและการขนส่งอากาศในเวียดนาม มีขึ้นในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างสองชาติซึ่งเป็นศัตรูคู่สงครามในอดีต กำลังพัฒนาไปสู่ระดับที่มีความแน่นแฟ้น
องค์การ The Allied Aircraft Assistance Worldwide Association หรือ AAAWA ซึ่งเป็นบริษัทอุตสาหกรรมแก้ปัญหาด้านการบินยักษ์ใหญ่ของสหรัฐ ได้ยื่นเสนอโครงการสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงขนาดใหญ่ “Star Hangar” ต่อรัฐบาลเวียดนาม ซึ่งหากโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จจะเป็นการสนับสนุนให้สนามบินจูลาย เป็นศูนย์ผ่านสินค้าระดับนานาชาติ ทั้งนี้เป็นรายงานจากหนังสือพิมพ์แถ่งเนียน
โครงการสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง “Star Hangar” มีแผนจะสร้างในเขตเศรษฐกิจเปิดจูลาย (Chu Lai Open Economic Zone) ด้วยงบลงทุนถึง 500 ล้านดอลลาร์ซึ่งเป็นโครงการที่มีเงินลงทุนสูงที่สุดของเขตเศรษฐกิจซึ่งอยู่ในภาคกลางของเวียดนาม โดยจะใช้พื้นที่กว้างถึง 610 ไร่ และคาดว่าจำเป็นต้องจ้างช่างเทคนิคและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆในการปฎิบัติงานรวมกันถึง 1,000 คน
โดยศูนย์ซ่อมบำรุงบนพื้นที่ 610 ไร่ แห่งนี้จะสามารถรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ได้คราวละ 8 ลำ ไม่ว่าจะเป็นเครื่อง เครื่องบินโบอิ้ง B787 และ เครื่องแอร์บัส A380 รวมถึงเครื่องบินขนาดเล็กชนิดต่างๆ ซึ่งจะกลายเป็นศูนย์ให้บริการซ่อมอากาศยานสำหรับสายการบินต่างๆ ทั่วเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โครงการที่องค์การการบินจากสหรัฐฯ เสนอจะเข้าไปลงทุนนี้ จะผลักดันให้สนามบินจูลายกลายเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ และ เป็นศูนย์การบินและศูนย์การขนส่งสินค้านานาชาติในระดับโลกอีกด้วย
ในปี 2538 รัฐบาลไทยเมื่อครั้งที่นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรีได้บรรจุแผนพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาให้เป็นศูนย์กลางขนส่งสินค้าแห่งที่ 3 ของโลก พร้อมๆ กับการเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานขนาดใหญ่ในภูมิภาค แต่แผนการดังกล่าวไม่มีความคืบหน้า และข่าวคราวได้เงียบหายไปในอีก 10 ปีต่อมา นัยว่าไม่ได้รับความสนใจจากนักลงทุน
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทยได้ยกเรื่องนี้ขึ้นหารือและขอการสนับสนุนจากฝ่ายสหรัฐฯ ระหว่างการเยือนวอชิงตัน ครั้งเข้ารับตำแหน่งในสมัยแรก และเรื่องก็ได้เงียบหายไปเช่นเดียวกัน
การเสนอโครงการยักษ์ใหญ่จากสหรัฐในครั้งนี้ นับเป็นสัญญาณแสดงความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศที่มีแนวโน้มจะแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น โดยนายกรัฐมนตรี ฟาน วาน ขาย ของเวียดนาม มีกำหนดจะเดินทางเยือนสหรัฐระหว่างวันที่ 19-25 มิ.ย.ตามคำเชิญของประธานาธิบดีจอร์จดับเบิลยูบุช เช่นเดียวกับผู้นำสหรัฐที่มีโครงการจะเดินทางเยือนเวียดนาม ในการประชุมเอเปก 2006 ซึ่งเวียดนามเป็นเจ้าภาพ
นอกจากนี้เมื่อต้นปีที่ผ่านมายูไนเต็ดแอร์ไลน์ของสหรัฐฯ ที่เพิ่งจะเปิดบินระหว่างนครซานฟรานซิสโกกับนครโฮจิมินห์เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.ปีที่แล้ว และเป็นสายการบินแรกในรอบกว่า 30 ปีที่มีสายการบินสัญชาติอเมริกันบินเชื่อมสหรัฐฯ กับเวียดนาม ได้ออกมากล่าวถึงตัวเลขผู้โดยสารเวียดนามที่คับคั่งมากกว่าที่สายการบินคาดไว้
เขตเศรษฐกิจเปิดจู ลาย (Chu Lai Open Economic Zone) ตั้งอยู่ในจังหวัดกว่างนาม (Quang Nam) ในภาคกลางเวียดนาม ตั้งอยู่ริมทางหลวง 1A ห่างจากนครหลวงฮานอย 860 ก.ม. จากนครโฮจิมินห์ 865 ก.ม. และ 400 ก.ม.จากภาคใต้ของลาวกับชายแดนไทย ซึ่งคาดว่าในทศวรรษนี้จะมีเส้นทางหลวงหลายสายเชื่อมเอเชียใต้-เอเชียตะวันออกเฉียงใต้-เอเชียตะวันออก ตัดผ่านบริเวณนี้ด้วย
ในปี 2547 เขตเศรษฐกิจเปิดจู ลาย ได้ประกาศการยกเว้นค่าเช่าที่ดินแก่นักลงทุนที่เข้ามาดำเนินการก่อนสิ้นปี 2548 นานถึง 10 ปี และไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ให้รัฐเป็นเวลาถึง 8 ปี
ข้อมูลเมื่อต้นปี 2548 ระบุว่ามีโครงการลงทุนทั้งในประเทศและจากต่างประเทศได้แล้ว 102 โครงการ เป็นมูลค่าประมาณ 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในนั้นเป็นโครงการลงทุนจากต่างประเทศในกิจการด้านการอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวรวมมูลค่าประมาณ 541 ล้านเหรียญ
สื่อของเวียดนามรายงานว่า นักลงทุนจากจีนได้เข้าไปปักหลักลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษจูลาย รวมเป็นเงินลงทุน 322.1 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 27% ของโครงการลงทุนทั้งหมด โดยนักลงทุนชาวจีนจากฮ่องกงเพียงแห่งเดียวกำลังจะลงทุนที่นั่นถึง 124.8 ล้านเหรียญ
นอกจากนี้ยังมีบริษัทพัฒนาที่ดินยักษ์ใหญ่จากไทย คือ อมตะคอร์ปอเรชันจำกัด เข้าไปจับจองพื้นที่เขตอุตสาหกรรมยวุ๋งกว้าต (Dung Quat) ในเขตเศรษฐกิจเปิดจูลายแล้วกว่า 3,750 ไร่ โดยเตรียมพัฒนาเป็นแหล่งอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ครบวงจรขนาดใหญ่ หลังรัฐบาลเวียดนามกับกลุ่มบริษัทฝรั่งเศส-สเปนและญี่ปุ่นประกาศแผนการลงทุนก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันแห่งแรกที่เขตเศรษฐกิจจูลาย ในช่วงต้นเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา
จูลายเป็นเขตอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศครอบคลุมพื้นที่จังหวัดกว่างนาม และจังหวัดกว่างหงาย โครงการนี้รวมทั้งการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ห่างจากท่าอากาศยานจูลายเพียง 15 ก.ม
ทั้งนี้สายการบินเวียดนามได้เริ่มเปิดเที่ยวบินตรงระหว่างฮานอยกับเขตเศรษฐกิจเปิดจูลายแล้วตั้งแต่ปีที่ผ่านมา
การประกาศรุกใหญ่การลงทุนด้านการการบินและการขนส่งอากาศในเวียดนาม มีขึ้นในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างสองชาติซึ่งเป็นศัตรูคู่สงครามในอดีต กำลังพัฒนาไปสู่ระดับที่มีความแน่นแฟ้น
องค์การ The Allied Aircraft Assistance Worldwide Association หรือ AAAWA ซึ่งเป็นบริษัทอุตสาหกรรมแก้ปัญหาด้านการบินยักษ์ใหญ่ของสหรัฐ ได้ยื่นเสนอโครงการสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงขนาดใหญ่ “Star Hangar” ต่อรัฐบาลเวียดนาม ซึ่งหากโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จจะเป็นการสนับสนุนให้สนามบินจูลาย เป็นศูนย์ผ่านสินค้าระดับนานาชาติ ทั้งนี้เป็นรายงานจากหนังสือพิมพ์แถ่งเนียน
โครงการสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง “Star Hangar” มีแผนจะสร้างในเขตเศรษฐกิจเปิดจูลาย (Chu Lai Open Economic Zone) ด้วยงบลงทุนถึง 500 ล้านดอลลาร์ซึ่งเป็นโครงการที่มีเงินลงทุนสูงที่สุดของเขตเศรษฐกิจซึ่งอยู่ในภาคกลางของเวียดนาม โดยจะใช้พื้นที่กว้างถึง 610 ไร่ และคาดว่าจำเป็นต้องจ้างช่างเทคนิคและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆในการปฎิบัติงานรวมกันถึง 1,000 คน
โดยศูนย์ซ่อมบำรุงบนพื้นที่ 610 ไร่ แห่งนี้จะสามารถรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ได้คราวละ 8 ลำ ไม่ว่าจะเป็นเครื่อง เครื่องบินโบอิ้ง B787 และ เครื่องแอร์บัส A380 รวมถึงเครื่องบินขนาดเล็กชนิดต่างๆ ซึ่งจะกลายเป็นศูนย์ให้บริการซ่อมอากาศยานสำหรับสายการบินต่างๆ ทั่วเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โครงการที่องค์การการบินจากสหรัฐฯ เสนอจะเข้าไปลงทุนนี้ จะผลักดันให้สนามบินจูลายกลายเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ และ เป็นศูนย์การบินและศูนย์การขนส่งสินค้านานาชาติในระดับโลกอีกด้วย
ในปี 2538 รัฐบาลไทยเมื่อครั้งที่นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรีได้บรรจุแผนพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาให้เป็นศูนย์กลางขนส่งสินค้าแห่งที่ 3 ของโลก พร้อมๆ กับการเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานขนาดใหญ่ในภูมิภาค แต่แผนการดังกล่าวไม่มีความคืบหน้า และข่าวคราวได้เงียบหายไปในอีก 10 ปีต่อมา นัยว่าไม่ได้รับความสนใจจากนักลงทุน
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทยได้ยกเรื่องนี้ขึ้นหารือและขอการสนับสนุนจากฝ่ายสหรัฐฯ ระหว่างการเยือนวอชิงตัน ครั้งเข้ารับตำแหน่งในสมัยแรก และเรื่องก็ได้เงียบหายไปเช่นเดียวกัน
การเสนอโครงการยักษ์ใหญ่จากสหรัฐในครั้งนี้ นับเป็นสัญญาณแสดงความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศที่มีแนวโน้มจะแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น โดยนายกรัฐมนตรี ฟาน วาน ขาย ของเวียดนาม มีกำหนดจะเดินทางเยือนสหรัฐระหว่างวันที่ 19-25 มิ.ย.ตามคำเชิญของประธานาธิบดีจอร์จดับเบิลยูบุช เช่นเดียวกับผู้นำสหรัฐที่มีโครงการจะเดินทางเยือนเวียดนาม ในการประชุมเอเปก 2006 ซึ่งเวียดนามเป็นเจ้าภาพ
นอกจากนี้เมื่อต้นปีที่ผ่านมายูไนเต็ดแอร์ไลน์ของสหรัฐฯ ที่เพิ่งจะเปิดบินระหว่างนครซานฟรานซิสโกกับนครโฮจิมินห์เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.ปีที่แล้ว และเป็นสายการบินแรกในรอบกว่า 30 ปีที่มีสายการบินสัญชาติอเมริกันบินเชื่อมสหรัฐฯ กับเวียดนาม ได้ออกมากล่าวถึงตัวเลขผู้โดยสารเวียดนามที่คับคั่งมากกว่าที่สายการบินคาดไว้
เขตเศรษฐกิจเปิดจู ลาย (Chu Lai Open Economic Zone) ตั้งอยู่ในจังหวัดกว่างนาม (Quang Nam) ในภาคกลางเวียดนาม ตั้งอยู่ริมทางหลวง 1A ห่างจากนครหลวงฮานอย 860 ก.ม. จากนครโฮจิมินห์ 865 ก.ม. และ 400 ก.ม.จากภาคใต้ของลาวกับชายแดนไทย ซึ่งคาดว่าในทศวรรษนี้จะมีเส้นทางหลวงหลายสายเชื่อมเอเชียใต้-เอเชียตะวันออกเฉียงใต้-เอเชียตะวันออก ตัดผ่านบริเวณนี้ด้วย
ในปี 2547 เขตเศรษฐกิจเปิดจู ลาย ได้ประกาศการยกเว้นค่าเช่าที่ดินแก่นักลงทุนที่เข้ามาดำเนินการก่อนสิ้นปี 2548 นานถึง 10 ปี และไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ให้รัฐเป็นเวลาถึง 8 ปี
ข้อมูลเมื่อต้นปี 2548 ระบุว่ามีโครงการลงทุนทั้งในประเทศและจากต่างประเทศได้แล้ว 102 โครงการ เป็นมูลค่าประมาณ 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในนั้นเป็นโครงการลงทุนจากต่างประเทศในกิจการด้านการอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวรวมมูลค่าประมาณ 541 ล้านเหรียญ
สื่อของเวียดนามรายงานว่า นักลงทุนจากจีนได้เข้าไปปักหลักลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษจูลาย รวมเป็นเงินลงทุน 322.1 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 27% ของโครงการลงทุนทั้งหมด โดยนักลงทุนชาวจีนจากฮ่องกงเพียงแห่งเดียวกำลังจะลงทุนที่นั่นถึง 124.8 ล้านเหรียญ
นอกจากนี้ยังมีบริษัทพัฒนาที่ดินยักษ์ใหญ่จากไทย คือ อมตะคอร์ปอเรชันจำกัด เข้าไปจับจองพื้นที่เขตอุตสาหกรรมยวุ๋งกว้าต (Dung Quat) ในเขตเศรษฐกิจเปิดจูลายแล้วกว่า 3,750 ไร่ โดยเตรียมพัฒนาเป็นแหล่งอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ครบวงจรขนาดใหญ่ หลังรัฐบาลเวียดนามกับกลุ่มบริษัทฝรั่งเศส-สเปนและญี่ปุ่นประกาศแผนการลงทุนก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันแห่งแรกที่เขตเศรษฐกิจจูลาย ในช่วงต้นเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา
จูลายเป็นเขตอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศครอบคลุมพื้นที่จังหวัดกว่างนาม และจังหวัดกว่างหงาย โครงการนี้รวมทั้งการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ห่างจากท่าอากาศยานจูลายเพียง 15 ก.ม
ทั้งนี้สายการบินเวียดนามได้เริ่มเปิดเที่ยวบินตรงระหว่างฮานอยกับเขตเศรษฐกิจเปิดจูลายแล้วตั้งแต่ปีที่ผ่านมา