เญินเยวิน/ผู้จัดการรายวัน - กระทรวงการประมงเวียดนามได้ออกข้อบัญญัติเกี่ยวกับการผลิตน้ำปลาที่เกาะฝูเกวื๊อกที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก โดยมีเงื่อนไขควบคุมระดับสารอาหารประเภทโปรตีนและชนิดของสารที่เติมลงไปในน้ำปลา เพื่อรักษาความนิยมทั้งในหมู่ชาวเวียดนามและชาวต่างประเทศ
“ฝูเกวื๊อก” เป็นเกาะทางตอนใต้ที่อยู่ห่างจากอ่าวไทยเพียง 45 กม. ต้นตำรับของกระบวนการผลิตน้ำปลาคุณภาพมีชื่อเสียง น้ำปลาที่ผลิตได้จะมีกลิ่นหอม รสชาติดี และมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าน้ำปลาที่ผลิตในที่อื่นๆ อีกทั้งยังมีกรรมวิธีในการผลิตที่สืบทอดสู่รุ่นต่อๆ มากว่า 200 ปี ซึ่งถือเป็นประเพณีที่สำคัญอย่างหนึ่งของเกาะใหญ่นี้
เพื่อควบคุมคุณภาพการผลิตน้ำปลาให้มีมาตรฐาน ทางกระทรวงการประมงกำหนดให้ผู้ผลิตจะต้องใส่ส่วนผสมของปลากะตักอย่างน้อย 85% ในการผลิตน้ำปลา และจะต้องเป็นปลาที่จับได้ในท้องทะเลทางตอนใต้ของจังหวัดเกียนยาง (Kien Giang) อันเป็นที่ตั้งของเกาะ ทั้งนี้เป็นรายงานของหนังสือพิมพ์เญินเยวิน ของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม
ส่วนเกลือที่นำมาคลุกเคล้ากับปลากะตัก ก็ต้องเป็นเกลือที่ได้มาจากเขตน่านน้ำทะเลในจังหวัดบาเหรียะ-หวุงเต่า (Baria-Vung Tao) และเมืองฟาน เถียต (Phan Thiet) ที่มีกรรมวิธีในการจับปลาและทำนาเกลือแบบดั้งเดิม
ข้อบัญญัติดังกล่าวถูกกำหนดขึ้นให้ผู้ผลิตได้ยึดถือปฏิบัติ ควบคู่ไปกับการใช้ความชำนาญที่มีอยู่ และจะต้องรักษาไว้ซึ่งกรรมวิธีการผลิตและภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบดั้งเดิมไว้
ส่วนฉลากผลิตภัณฑ์นั้น ถ้าเป็นสินค้าที่ขายในประเทศ บนฉลากจะใช้ชื่อว่า Nuoc mam Phu Quoc หรือ "น้ำปลาฝูเกวื๊อก" นั่นเอง แต่ถ้าเป็นสินค้าที่นำส่งออกไปต่างประเทศ จะใช้ชื่อว่า Phu Quoc Fish Sauce-AOC บนฉลาก
นอกจากนั้นบนฉลากก็จะต้องมีการบรรยายถึงชื่อและที่อยู่ของโรงงานผลิต บริษัทบรรจุภัณฑ์ ส่วนประกอบ คุณค่าทางโภชนาการ และปริมาตรสุทธิ
ทางกระทรวงการประมงยังได้อนุญาตให้ปรากฏชื่อเมืองฝูเกวื๊อกบนฉลาก ในฐานะเป็นสถานที่ผลิต แต่จะต้องลงบนฉลากให้นครโฮจิมินฮ์เป็นสถานที่บรรจุภัณฑ์ และจะกลับมาประเมิณค่าอีกครั้งเมื่อข้อบัญญัติฉบับนี้หมดวาระไปในอีก 3 ปีข้างหน้า
ภายใต้บทบัญญัตินี้ ทางคณะผู้ประกอบการ และการอนุมัติใบรับรองในการผลิตจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการประชาชนในจังหวัดเกียนยาง
ก่อนหน้านี้ในเดือน มิ.ย. 2544 รัฐบาลเวียดนามได้ออกตรารับรองให้กับน้ำปลาของเกาะฝูเกวื๊อก ในด้านคุณภาพและขบวนการผลิตที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
การผลิตน้ำปลานับเป็นธุรกิจหลักของผู้คนบนเกาะ และมีผู้ประกอบการกว่า 100 ราย โดยผลิตได้ปีละ 10 ล้านลิตร มีสัดส่วนคิดเป็น 5% ของผลผลิตน้ำปลาทั้งประเทศเท่านั้น ประมาณ 10% ของน้ำปลาที่ผลิตได้จะส่งออกไปยังตลาดยุโรป สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
ฝูเกวื๊อกกำลังได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วมาก มีการยกระดับสนามบินที่นั่นเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ มีการตัดถนนสายใหม่ๆ ให้ทันสมัย มีการก่อสร้างโรงแรมระดับ 4-5 ดาวหลายแห่งพร้อมรีสอร์ตหรู โดยการลงทุนของกลุ่มโรงแรม-ท่องเที่ยวชั้นนำระดับโลก
ในอนาคตอันใกล้ฝูเกวื๊อกจะกลายเป็นปลายทางท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งหนึ่งในอ่าวไทย ซึ่งทำให้ทางการวิตกว่าความเจริญใหม่ๆ และการพัฒนาตัวเกาะจะทำให้วัฒนธรรมตลอดจนภูมิปัญญาดั้งเดิมได้รับผลกระทบและถูกกลืนหายไปในที่สุด
“ฝูเกวื๊อก” เป็นเกาะทางตอนใต้ที่อยู่ห่างจากอ่าวไทยเพียง 45 กม. ต้นตำรับของกระบวนการผลิตน้ำปลาคุณภาพมีชื่อเสียง น้ำปลาที่ผลิตได้จะมีกลิ่นหอม รสชาติดี และมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าน้ำปลาที่ผลิตในที่อื่นๆ อีกทั้งยังมีกรรมวิธีในการผลิตที่สืบทอดสู่รุ่นต่อๆ มากว่า 200 ปี ซึ่งถือเป็นประเพณีที่สำคัญอย่างหนึ่งของเกาะใหญ่นี้
เพื่อควบคุมคุณภาพการผลิตน้ำปลาให้มีมาตรฐาน ทางกระทรวงการประมงกำหนดให้ผู้ผลิตจะต้องใส่ส่วนผสมของปลากะตักอย่างน้อย 85% ในการผลิตน้ำปลา และจะต้องเป็นปลาที่จับได้ในท้องทะเลทางตอนใต้ของจังหวัดเกียนยาง (Kien Giang) อันเป็นที่ตั้งของเกาะ ทั้งนี้เป็นรายงานของหนังสือพิมพ์เญินเยวิน ของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม
ส่วนเกลือที่นำมาคลุกเคล้ากับปลากะตัก ก็ต้องเป็นเกลือที่ได้มาจากเขตน่านน้ำทะเลในจังหวัดบาเหรียะ-หวุงเต่า (Baria-Vung Tao) และเมืองฟาน เถียต (Phan Thiet) ที่มีกรรมวิธีในการจับปลาและทำนาเกลือแบบดั้งเดิม
ข้อบัญญัติดังกล่าวถูกกำหนดขึ้นให้ผู้ผลิตได้ยึดถือปฏิบัติ ควบคู่ไปกับการใช้ความชำนาญที่มีอยู่ และจะต้องรักษาไว้ซึ่งกรรมวิธีการผลิตและภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบดั้งเดิมไว้
ส่วนฉลากผลิตภัณฑ์นั้น ถ้าเป็นสินค้าที่ขายในประเทศ บนฉลากจะใช้ชื่อว่า Nuoc mam Phu Quoc หรือ "น้ำปลาฝูเกวื๊อก" นั่นเอง แต่ถ้าเป็นสินค้าที่นำส่งออกไปต่างประเทศ จะใช้ชื่อว่า Phu Quoc Fish Sauce-AOC บนฉลาก
นอกจากนั้นบนฉลากก็จะต้องมีการบรรยายถึงชื่อและที่อยู่ของโรงงานผลิต บริษัทบรรจุภัณฑ์ ส่วนประกอบ คุณค่าทางโภชนาการ และปริมาตรสุทธิ
ทางกระทรวงการประมงยังได้อนุญาตให้ปรากฏชื่อเมืองฝูเกวื๊อกบนฉลาก ในฐานะเป็นสถานที่ผลิต แต่จะต้องลงบนฉลากให้นครโฮจิมินฮ์เป็นสถานที่บรรจุภัณฑ์ และจะกลับมาประเมิณค่าอีกครั้งเมื่อข้อบัญญัติฉบับนี้หมดวาระไปในอีก 3 ปีข้างหน้า
ภายใต้บทบัญญัตินี้ ทางคณะผู้ประกอบการ และการอนุมัติใบรับรองในการผลิตจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการประชาชนในจังหวัดเกียนยาง
ก่อนหน้านี้ในเดือน มิ.ย. 2544 รัฐบาลเวียดนามได้ออกตรารับรองให้กับน้ำปลาของเกาะฝูเกวื๊อก ในด้านคุณภาพและขบวนการผลิตที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
การผลิตน้ำปลานับเป็นธุรกิจหลักของผู้คนบนเกาะ และมีผู้ประกอบการกว่า 100 ราย โดยผลิตได้ปีละ 10 ล้านลิตร มีสัดส่วนคิดเป็น 5% ของผลผลิตน้ำปลาทั้งประเทศเท่านั้น ประมาณ 10% ของน้ำปลาที่ผลิตได้จะส่งออกไปยังตลาดยุโรป สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
ฝูเกวื๊อกกำลังได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วมาก มีการยกระดับสนามบินที่นั่นเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ มีการตัดถนนสายใหม่ๆ ให้ทันสมัย มีการก่อสร้างโรงแรมระดับ 4-5 ดาวหลายแห่งพร้อมรีสอร์ตหรู โดยการลงทุนของกลุ่มโรงแรม-ท่องเที่ยวชั้นนำระดับโลก
ในอนาคตอันใกล้ฝูเกวื๊อกจะกลายเป็นปลายทางท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งหนึ่งในอ่าวไทย ซึ่งทำให้ทางการวิตกว่าความเจริญใหม่ๆ และการพัฒนาตัวเกาะจะทำให้วัฒนธรรมตลอดจนภูมิปัญญาดั้งเดิมได้รับผลกระทบและถูกกลืนหายไปในที่สุด