xs
xsm
sm
md
lg

อาจารย์เสรี ติดเบรก “ข่าวสึนามิ” อย่าตระหนกแต่ให้ตระหนัก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต และรองประธานมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ในวันนี้ (3 ก.ค.2568) ว่า


🔴ระยะนี้ข่าวของแผ่นดินไหว และคลื่นสึนามิหลายๆแหล่งออกมามากมาย ให้อ่านผ่านตา และไม่ต้องตระหนกตกใจ ข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหวในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาขนาดมากกว่า M4 บริเวณหมู่เกาะอันดามัน และนิโคบาร์โดยเฉลี่ยปีละประมาณ 50 ครั้ง สูงสุดขนาด 6M.1 ในปี 2563 แผ่นดินไหวคาดการณ์ไม่ได้ แต่ต้องตระหนักกับความรุนแรง และความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นจึงต้องจำ 3 ประโยค “อาคารสั่นไหว ระดับน้ำลดทันใด วิ่งให้ไกลไปที่สูง” น่ะครับ อย่าเบื่อที่จะต้องจำเนื่องจากแผ่นดินไหวรุนแรง M9.2 ในปี 2547 ที่จะทำให้เกิดคลื่นสึนามิมีรอบการเกิด >400 ปี สุภาษิตของประเทศญี่ปุ่น “ภัยพิบัติจะมาเมื่อเราลืมมัน”

🔴 ในฐานะที่เป็นคนออกสำรวจ และประเมินความรุนแรงคลื่นสึนามิ ในเหตุการณ์ปี 2547 เป็นผู้นำเอาองค์ความรู้มาเผยแพร่ตั้งแต่ปี 2542 รวมทั้งได้มีการเขียนตำรา “วิศวกรรมสึนามิ” และปัจจุบันได้รับมอบหมายจากกรมป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย ให้มาดูแลปรับปรุงระบบเตือนภัยของประเทศ ขอยืนยันกับพี่น้องคนไทยว่า ปัจจุบันศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ มีความพร้อมในระดับสากลในการเฝ้าระวัง และเตือนภัยคลื่นสึนามิตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีเครื่องมือดังต่อไปนี้ 1) ระบบตรวจจับคลื่นโดยทุ่นน้ำลึก และสถานีวัดน้ำ 2) ระบบประเมิน และวิเคราะห์คลื่นโดยฐานข้อมูล 3) ระบบการสื่อสาร โดยเฉพาะ Cell Boardcast

🔴 แต่อยากจะเรียนทุกท่านว่า แม้ประเทศไทยจะมีระบบเตือนภัยที่ดี ไม่ได้หมายความว่าการเตือนภัยจะมีประสิทธิผล ดังกรณีเหตุการณ์นอกเหนือความคาดหมายที่ประเทศญี่ปุ่น ในปี 2554 เพราะความสำคัญสูงสุดอยู่ที่ชุมชน หากปราศจากความตระหนัก ย่อมเกิดความสูญเสียตามมาได้ กล่าวคือชุมชนเข้มแข็งมีความยืดหยุ่นต่อสึนามิ ต้องมีองค์ประกอบตามรูปจิ๊กซอที่แนบมา ชุมชนในพื้นที่เสี่ยงภัยคลื่นสึนามิลองศึกษา และทำความเข้าใจดูนะครับ






กำลังโหลดความคิดเห็น