xs
xsm
sm
md
lg

ปูนอินทรี จัดแข่ง "INSEE Low Carbon Concrete Competition 2025" แนะคนรุ่นใหม่ใช้ปูนคาร์บอนต่ำ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ทีมนิสิตจาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับรางวัลชนะเลิศในสาขา “คาร์บอนต่ำ”
บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) จับมือ 3 สถาบันการศึกษาชั้นนำเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ดึงคนรุ่นใหม่ ‘เข้าถึง-เข้าใจ’ แนวคิดและกระบวนการผลิตปูนลดคาร์บอน ผ่านโครงการแข่งขันอินทรีคอนกรีตคาร์บอนต่ำ (INSEE Low Carbon Concrete Competition 2025)

นายมนตรี นิธิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจปูนซีเมนต์ของประเทศไทย บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) หรือ ปูนอินทรี กล่าวว่า ปูนซีเมนต์นครหลวง ให้ความสำคัญในการผลักดันการใช้ปูนคาร์บอนต่ำผ่านการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านความยั่งยืนให้กับนักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไปมาโดยตลอด และในการจัดโครงการแข่งขันคอนกรีตคาร์บอนต่ำ (INSEE Low Carbon Concrete Competition 2025) ร่วมกับสามสถาบันการศึกษาชั้นนำ ภายใต้แนวคิด “เปลี่ยนเพื่อโลกที่น่าอยู่” ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งในการสร้างความตระหนักถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางคาร์บอนเป็นศูนย์ของกลุ่มบริษัทฯ และสร้างแรงจูงใจให้เปลี่ยนมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

“การเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษาได้เข้าสู่เวทีการแข่งขันที่ได้มาตรฐาน และได้นำความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์ในห้องเรียนมาประยุกต์เพื่อปฏิบัติใช้ในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ยกระดับสู่การก่อสร้างสีเขียวอย่างยั่งยืน เป็นสิ่งที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของบริษัทฯ ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพสูงสุด ควบคู่กับเป้าหมายด้านความอย่างยั่งยืน ในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศอย่างจริงจัง อีกทั้งยังสนองนโยบาย Thailand Net Zero ของภาครัฐที่ได้ประกาศเป้าหมายสำคัญคือประเทศไทยจะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065”

   นายมนตรี นิธิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจปูนซีเมนต์ของประเทศไทย บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) หรือ ปูนอินทรี
โครงการแข่งขันอินทรีคอนกรีตคาร์บอนต่ำ (INSEE Low Carbon Concrete Competition 2025) จัดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จาก 3 สถาบันการศึกษาชั้นนำ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจกับกลุ่มบริษัทฯ ในปี 2567 โดยมีจำนวนผู้เข้าแข่งขันทั้งสิ้น 17 ทีม ใช้กติกาการแข่งขันที่ร่วมกันออกแบบโดยคณะอาจารย์จากทั้ง 3 มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมการแข่งขัน และทีมงานจากบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน)

ศาสตราจารย์ ดร.วันชัย ยอดสุดใจ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึงการสนับสนุนโครงการดังกล่าวว่า “มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เป็นเจ้าภาพร่วมในการแข่งขันคอนกรีตคาร์บอนต่ำครั้งแรก ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของมหาวิทยาลัย ที่ต้องการมอบความรู้และสนับสนุนเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้แก่บุคลากร อาจารย์ และนิสิต ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวช่วยเสริมสร้างการเรียนของนิสิต นักศึกษา ให้มีความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญที่จะทำให้โลกนี้น่าอยู่มากขึ้นจากการก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังได้เครือข่าย มิตรภาพจากเพื่อนต่างสถาบัน เพื่อต่อยอดการทำงานในอนาคต ในการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันได้ เป็นแรงบันดาลใจในการต่อยอดการศึกษาเพิ่มเติมและอย่างลึกซึ้งในอนาคต”

 ศาสตราจารย์ ดร.วันชัย ยอดสุดใจ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โดยทีมนิสิตจาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับรางวัลชนะเลิศในสาขา “คาร์บอนต่ำ” และทีมนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้รับรางวัลชนะเลิศในสาขา “กำลังอัดแม่นยำ” ซึ่งทีมที่ชนะทั้ง 2 สาขา ได้รับทุนการศึกษา โล่รางวัล และเกียรติบัตรจาก บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) อีกด้วย

นายอภิวัต พิชญธาดานนท์ ตัวแทนทีมนิสิตจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในสาขา “คาร์บอนต่ำ” กล่าวว่า "พวกเรารู้สึกเป็นเกียรติและภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในการแข่งขันในครั้งนี้ ซึ่งเปิดโอกาสให้เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมคอนกรีตคาร์บอนต่ำ ตั้งแต่กระบวนการออกแบบไปจนถึงการทดสอบประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยให้เข้าใจถึงแนวทางการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมก่อสร้างจะเป็นสิ่งที่ควรผลักดันให้เกิดการใช้งานในวงกว้างมากขึ้น"

โครงการแข่งขันคอนกรีตคาร์บอนต่ำ (INSEE Low Carbon Concrete Competition 2025)
ทั้งนี้ ในตลอดระยะการแข่งขันจะใช้ปูนอินทรีเพชรพลัส ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่มปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำของปูนซีเมนต์นครหลวงที่ได้มีการพัฒนาสูตรเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิต และได้รับการรับรองจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) มีค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ทั่วไปมากกว่า 50 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหนึ่งตันซีเมนต์

“การแข่งขันครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของแนวทางใหม่ในการพัฒนาอุตสาหกรรมก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยนิสิตนักศึกษาที่เข้าร่วมจะได้รับประสบการณ์จริงในการทำงานเป็นทีม การทดลองทางวิศวกรรม และการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ภายใต้วิสัยทัศน์การพัฒนาอย่างยั่งยืน ปี 2573 ปูนซีเมนต์นครหลวงให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพแรงงาน และสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในการพัฒนาทักษะฝีมือนักศึกษา ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” นายมนตรี กล่าวปิดท้าย

โครงการแข่งขันคอนกรีตคาร์บอนต่ำ (INSEE Low Carbon Concrete Competition 2025)

โครงการแข่งขันคอนกรีตคาร์บอนต่ำ (INSEE Low Carbon Concrete Competition 2025)


กำลังโหลดความคิดเห็น