xs
xsm
sm
md
lg

มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ช่วยไทย ด้วย 4 กลยุทธ์พัฒนาที่ยั่งยืน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ดีปาลี คันนา ผู้อำนวยการ สำนักงานภูมิภาคเอเชีย มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ วันที่ให้สัมภาษณ์พิเศษ ดร.สุวัฒน์ ทองธนากุล บรรณาธิการ Green Innovation & SD สื่อเครือผู้จัดการ
ดีปาลี คันนา ผู้อำนวยการ สำนักงานภูมิภาคเอเชีย มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ให้สัมภาษณ์พิเศษ บรรณาธิการ Green Innovation & SD สื่อเครือผู้จัดการถึงบทบาทมูลนิธิฯในประเทศไทยต่อเนื่องมากว่า 100 ปี ว่าจากวิสัยทัศน์และพันธกิจที่มุ่งสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้มวลมนุษยชาติ(to serve the well-being of the humanity) แต่อุปสรรคก็คือ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

มูลนิธิฯกำหนดกลยุทธ์หลัก 4 ด้าน ดังนี้

1 Food & Climate ด้านอาหารและสภาพภูมิอากาศ

มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล โครงการนี้ช่วยเสริมสร้างศักยภาพของผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการในการสำรวจประชากรวงกว้าง วัดด้วย “คะแนนคุณภาพอาหาร”เพื่อยกระกับคุณภาพอาหารและตัวบ่งชี้ทางชีวภาพด้านโภชนาการในประชากร จนมหาวิทยาลัยมหิดลได้เป็นผู้นำในโครงการตารางธาตุอาหาร (Periodic Table of Food Initiative)
นอกจากนี้ มูลนิธิฯยังได้ร่วมกับกรมความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนมหาวิทยาลัยมหิดลในการพัฒนาโมเดลธุรกิจชุมชนที่ยั่งยืน เพื่อลดการปล่อยก๊าซและเพิ่มรายได้ผ่านการรีไซเคิลขยะทางการเกษตร ก๊าซชีวภาพและวิธีแก้ปัญหาอื่น ๆ

2. Health & Climate ด้านสุขภาพและสภาพภูมิอากาศ

2.1โรงพยาบาลศิริราชกับมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ มีความสัมพันธ์ตลอดมาตั้งแต่ปี 2462โดยสนับสนุนการเปิดหลักสูตรแพทยศาสตร์ศึกษาเป็นครั้งแรกและยังมีโครงการอื่นๆที่ช่วยส่งเสริมให้โรงพยาบาลศิริราชเป็นสถาบันสุขภาพชั้นนำของประเทศไทย

2.2 การเฝ้าระวังโรคในลุ่มน้ำโขง (MBDS) มูลนิธิฯได้มอบเงินสนับสนุนให้แก่ประเทศในลุ่มน้ำโขงตั้งแต่ปี 2544 เพื่อการเฝ้าระวังโรคในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประเทศไทยได้รับเงินช่วยเหลือมากที่สุด และกลายเป็นศูนย์กลางของเครือข่ายนี้ ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อรวบรวมข้อมูลการ วิเคราะห์และเผยแพร่เกี่ยวกับรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปของโรคติดเชื้อในภูมิภาค 

มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์มีความสัมพันธ์อันยาวนานกับประเทศไทยมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 ข้อมูลเพิ่มเติมจากรายงานปี 2023 มูลนิธิฯ มุ่งเน้นไปที่การเฝ้าระวังโรคระบาดใหม่

-เจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชน 518,000 คนใน 13ประเทศได้รับการสนับสนุนจากนโยบายด้านสุขภาพชุมชนที่แข็งแกร่งขึ้น มีกรณีศึกษาด้านการลงทุนและเครื่องมือดิจิทัลต่างๆยืนยัน

-ประชากรมากกว่า 61 ล้านคนได้รับประโยชน์จากเครื่องมือการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อที่แม่นยำยิ่งขึ้น

-มูลนิธิฯ สามารถระดมเงินจำนวน 100 ล้านดอลลาร์สำหรับระบบสุขภาพชุมชนเพิ่มเติมจากเงินทุนของมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ จำนวน 15 ล้านดอลลาร์จากผู้บริจาคทวิภาคีและพหุภาคี

การใช้ข้อมูลทางสาธารณสุขเพื่อป้องกันและจัดการกับโรคระบาดซึ่งเป็นผลจากสภาพภูมิอากาศโลกรวน เช่น วันที่อุณหภูมิพุ่งสูงขึ้นมาก ทำให้ผู้คนมีโอกาสติดเชื้อโรคได้ง่าย แต่ถ้าไม่ไปทำงานนอกบ้าน ก็จะขาดรายได้ มูลนิธิจึงทำประกันภัยให้กับผู้ที่มีความเสี่ยงเหล่านี้(Parametric Insurance)

3.Energy & Climate ด้านพลังงานและสภาพภูมิอากาศ

ความร่วมมือระหว่างมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์และมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2515โดยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ที่ยากจน ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืน

ในปี 2567มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ได้มอบเงินให้มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงเพื่อสนับสนุนการพัฒนาและจัดการโครงการคาร์บอนเครดิตคุณภาพสูงในประเทศไทย มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงได้ขยายขอบเขตให้ครอบคลุมถึง “โครงการคาร์บอนเครดิตจากป่าชุมชน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”และได้นำไปปรับใช้ใน 11จังหวัดทั่วประเทศไทย ทำให้มีผู้ได้รับประโยชน์กว่า 455,611 ครัวเรือน

มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ให้การช่วยเหลือประเทศที่ขาดแคลนระบบพลังงานใหม่หรือที่ต้องการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยสามารถสร้างอาชีพได้กว่า 600,000 ตำแหน่ง สนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน หรือพลังงานหมุนเวียน เพื่อส่งเสริมให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน เพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อนในปี 2567

อีกทั้งยังได้ร่วมมือกับกรมความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนมหาวิทยาลัยมหิดลในการพัฒนาโมเดลธุรกิจชุมชนที่ยั่งยืนเพื่อลดการปล่อยก๊าซและเพิ่มรายได้ผ่านการรีไซเคิลขยะทางการเกษตร ก๊าซชีวภาพและวิธีแก้ปัญหาอื่น ๆ

4.Climate Finance การเงินเพื่อสภาพภูมิอากาศ
มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ร่วมมือกับองค์กรทางการเงินในระดับโลกเพื่อสนับสนุนงบประมาณให้กับประเทศแถบเอเชียและแอฟริกาที่เดือดร้อนจากภัยธรรมชาติ เพราะสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เช่น สนับสนุนสถาบันสิ่งแวดล้อมสตอกโฮล์มประจำทวีปเอเชียในการจัดตั้งศูนย์การเงินเพื่อความยั่งยืน (CFSB)ขึ้นที่กรุงเทพฯโดยศูนย์ดังกล่าวจะช่วยประเมินความพร้อมและการเข้าถึงแหล่งทุนด้านสภาพภูมิอากาศ และความต้องการด้านศักยภาพของรัฐบาลในระดับประเทศและท้องถิ่นในบังกลาเทศ กัมพูชา เนปาล และไทย

ศูนย์นี้ มีหน้าที่ช่วยออกแบบและดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพเพื่อช่วยให้ผู้นำสามารถเข้าถึงและใช้เงินทุนด้านสภาพภูมิอากาศสำหรับประเทศและเมืองของตน

มูลนิธิฯมุ่งมั่นแสวงหาแหล่งทุนใหม่สำหรับสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนในขณะที่สนับสนุนเงินทุนแก่พันธมิตรที่มุ่งมั่นในการฟื้นฟูระบบนิเวศทั่วโลก

-ชุมชนกว่า 300 แห่งในสหรัฐฯ ได้รับประโยชน์จากโครงการพลังงานสะอาด

-เงินทุนกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ได้รับการระดมสำหรับกองทุน Zero Gap ที่ได้รับทุนเต็มจำนวนซึ่งประกอบด้วยการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับโครงการจำนวน 12 โครงการ รวมเป็นการระดมทุนทั้งหมดที่เพิ่มขึ้นถึง 35 เท่า

-กำหนดข้อผูกพันใหม่มูลค่ากว่าหนึ่งแสนล้านดอลลาร์ในรูปแบบเงินฝากสำหรับสถาบันการเงินเพื่อพัฒนาชุมชน (CDFIs) และสถาบันเงินฝากสำหรับชนกลุ่มน้อย (MDIs) รวมถึงการมีส่วนร่วมกับผู้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับกลไกนโยบายและการเงินเพื่อขยายโมเดลธุรกิจชุมชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางสู่เป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศไทย

อีกโครงการสำคัญที่มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ได้ร่วมก่อตั้งในประเทศไทย ก็คือ Prince Mahidol Award Conference หรือ PMAC มีการจัดประชุมในช่วงเดือนมกราคมของทุกปี ที่รวบรวมสุดยอดผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์และสาธารณสุขของโลกกว่าพันคน ที่จะมาเสวนาและแบ่งปันประสบการณ์ในด้านนวัตกรรมและอนาคตของการแพทย์และสาธารณสุข โดยมุ่งหมายให้ประเทศไทยเป็นผู้นำและศูนย์กลางการเผยแพร่ความรู้ และยังมีการมอบรางวัลอันทรงเกียรติให้กับบุคคลที่มีคุณูปการโดดเด่นต่อวงการแพทย์และสาธารณสุข


กำลังโหลดความคิดเห็น