หลังเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือไทยแพน (Thailand Pesticide Alert Network: Thai-PAN) จัดแถลงข่าวเตือนว่าพบสารเคมีเกินกำหนดในองุ่นไชน์มัสแคทนำเข้าจากจีน เมื่อ 24 ต.ค.ที่ผ่านมา
ส่งผลให้ทางการอินโดนีเซียเตรียมตรวจสอบสารพิษตกค้างในองุ่นไชน์มัสแคท ที่นำเข้าจากจีน ขณะที่ทางการมาเลเซียได้ยกระดับการตรวจก่อนหน้านี้ ล่าสุด สนง.อาหารสิงคโปร์ออกมาแถลงกรณี #องุ่นไชน์มัสแคท ผู้นำเข้าต้องได้ใบรับอนุญาตจาก SFA ก่อนเท่านั้น
สิงค์โปร์ ชี้แจงผู้นำเข้าต้องได้ใบรับอนุญาตจาก SFA ก่อนเท่านั้น
สำนักข่าว CNA รายงานว่าสำนักงานอาหารสิงคโปร์ (SFA) แถลงเมื่อวันพุธ (30 ต.ค.) ว่าองุ่น Shine Muscat ที่มีจำหน่ายในสิงคโปร์ ซึ่งนำเข้าจาก จีน เกาหลี และญี่ปุ่น ยังปลอดภัยต่อการบริโภค โดยผลไม้ดังกล่าวจะต้องผ่านการทดสอบยาฆ่าแมลงและมาตรการควบคุมคุณภาพอื่นๆ
ความกังวลเกี่ยวกับผลไม้ยอดนิยมปรากฏขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา ท่ามกลางรายงานจากประเทศไทยที่ระบุว่า พบสารกำจัดศัตรูพืชในระดับสูงผิดปกติในตัวอย่างหลายตัวอย่าง
เมื่อตอบคำถามของ CNA ทาง SFA กล่าวว่า การทดสอบยาฆ่าแมลงในองุ่น Shine Muscat ไม่ตรวจพบสารตกค้างในระดับที่น่ากังวลต่อความปลอดภัยของอาหาร “SFA จะทดสอบและติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องเพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชน”
SFA ยังกล่าวเสริมอีกว่า มีกฎระเบียบที่กำหนดขึ้นเพื่อจำกัดปริมาณสารเคมีตกค้างที่ได้รับอนุญาต เช่น ยาฆ่าแมลง ที่อาจตกค้างอยู่ในอาหาร นอกจากนี้ ยังทำการทดสอบยาฆ่าแมลงในอาหารเป็นประจำ รวมไปถึงผลไม้ เช่น องุ่น Shine Muscat
จะไม่อนุญาตให้จำหน่ายอาหารหากไม่ผ่านการตรวจสอบและการทดสอบความปลอดภัยของอาหารของ SFA ผลิตภัณฑ์อาหาร รวมถึงองุ่น Shine Muscat จะต้องนำเข้าโดยผู้นำเข้าที่ได้รับอนุญาตจาก SFA เช่นกัน
“ผู้ค้าปลีกจะต้องมั่นใจว่าอาหารที่ตนจำหน่ายได้มาจากแหล่งที่ได้รับการควบคุมโดย SFA ผ่านการปรุงหรือแปรรูปในลักษณะที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ และไม่กระทบต่อความปลอดภัยของอาหาร” แถลงการณ์ระบุ
อ้างอิง https://www.channelnewsasia.com/.../shine-muscat-grapes
อินโดนีเซีย NFA เร่งตรวจสอบสารพิษตกค้างองุ่นไชน์มัสแคท
สำนักข่าว Antara ของอินโดนีเซีย เปิดเผยเมื่อ 30 ต.ค. 2567 ว่า สำนักงานอาหารแห่งชาติ (NFA) จะตรวจสอบองุ่นพันธุ์ Shine Muscat ที่มีแหล่งกำเนิดจากจีน ในอินโดนีเซีย หลังประเทศไทยพบสารพิษตกค้างที่เป็นอันตราย
"เกี่ยวกับรายงานข่าวเกี่ยวกับองุ่นพันธุ์ Shine Muscat จากจีนนั้น NFA ในฐานะหน่วยงานที่มีอำนาจจะดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติม" Arief Prasetyo หัวหน้า NFA กล่าวในแถลงการณ์อย่างเป็นทางการเมื่อวันพุธ
การสอบสวนจะเกี่ยวข้องกับการสุ่มตัวอย่างและการทดสอบในห้องปฏิบัติการเพื่อรับรองความปลอดภัยของสินค้าที่ขายอยู่ในตลาดอินโดนีเซีย
"ขั้นตอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นของเราในการรับรองว่าอาหาร โดยเฉพาะอาหารสดที่จำหน่ายอยู่ในอินโดนีเซียจะปลอดภัยต่อการบริโภค" Prasetyo กล่าว
เขากล่าวว่า ข้อบังคับของประธานาธิบดีฉบับที่ 66 ปี 2021 ซึ่งสืบเนื่องจากกฎหมายฉบับที่ 18 ปี 2012 ว่าด้วยอาหาร กำหนดให้ NFA ต้องรับรองความปลอดภัยของอาหารสดที่จำหน่าย โดยนำไปปฏิบัติทั้งโดยการออกใบอนุญาตและการติดตามตลาด
ในขณะเดียวกัน Yusra Egayanti รองผู้รักษาการด้านการกระจายการบริโภคและความปลอดภัยด้านอาหารเปิดเผยว่า NFA กำลังยกระดับใกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับค่าขีดจำกัดสูงสุดของสารตกค้าง (MRL) ของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อเพิ่มความปลอดภัยของอาหารให้มากขึ้น
เธอกล่าวว่ามาตรฐาน MRL ของยาฆ่าแมลงได้รับการควบคุมโดยกฎระเบียบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรหมายเลข 53 ตั้งแต่ปี 2018 ซึ่งจำเป็นต้องปรับปรุง
ทางการไทยตรวจพบสารตกค้างของยาฆ่าแมลงในองุ่นพันธุ์ Shine Muscat ที่จำหน่ายในตลาด โดยสภาผู้บริโภคไทยรายงานว่าองุ่นพันธุ์ Shine Muscat ที่ทดสอบ 23 ตัวอย่างจาก 24 ตัวอย่างมีสารเคมีตกค้างอันตรายเกินขีดจำกัดที่ปลอดภัย ซึ่งทำให้มาเลเซียต้องทดสอบองุ่นพันธุ์ Shine Muscat เช่นกัน
อ้างอิง https://en.antaranews.com/.../indonesia-to-test-chinas
มาเลเซีย ยกระดับการตรวจผลไม้นำเข้าจากจีน
สื่อท้องถิ่นของมาเลเซียรายงานว่า กระทรวงเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร (KPKM) ของมาเลเซียจะตรวจสอบเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรณีองุ่นไชน์มัสแคท (Shine Muscat) นำเข้าทะลักเข้าประเทศ หลังเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือไทยแพน (Thailand Pesticide Alert Network: Thai-PAN) เตือนว่าพบสารเคมีเกินกำหนดในองุ่นไชน์มัสแคทนำเข้าจากจีน
โมฮัมหมัด ซาบู รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและความมั่นคงทางอาหารเผยว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมกักกันและตรวจสอบของมาเลเซีย และกองความปลอดภัยทางชีวภาพของกรมการเกษตรจะตรวจสอบกรณีดังกล่าว และย้ำว่ากระทรวงเกษตรและความมั่นคงทางอาหารจะพิจารณาทบทวนผ่านการตรวจสอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และติดตามการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง
ซาบูเผยกับผู้สื่อข่าวว่า จนถึงขณะนี้กระทรวงเกษตรและความมั่นคงทางอาหารยังไม่ได้รับการร้องเรียนว่ามีองุ่นปนเปื้อนสารเคมีเกินกำหนด และกระทรวงจะดำเนินการทันทีหากได้รับการร้องเรียน
ในแวลาต่อมากระทรวงสาธารณสุขมาเลเซียแจ้งว่า ไม่พบยาฆ่าแมลงเกินกำหนดในองุ่นไชน์มัสแคทนำเข้าที่ตรวจสอบตลอด 4 ปีที่ผ่านมา โดยมีองุ่น 4 จาก 234 ตัวอย่างที่นำมาตรวจสอบตั้งแต่ปี 2020 จนถึงเดือนกันยายนที่ผ่านมามีสารเคมีตกค้างเกินกำหนด แต่ทั้ง 4 ตัวอย่างนี้ไม่ใช่องุ่นไชน์มัสแคท
กระทรวงสาธารณสุขระบุว่า องุ่นนำเข้าล็อตต่อไปจะได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศได้ก็ต่อเมื่อมีสารเคมีตกค้างไม่เกินระดับที่กำหนด
เครคิด : spacebar
ไทยแพน แจงสังคมไทย หยิบบรรทัดคนละอัน
ข่าวองุ่นไชน์มัสแคท สังคมไทยต้องขอบคุณองค์กรภาคประชาสังคม ที่ออกมาทำหน้าที่ในการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร อีกขา แทนหน่วยงานภาครัฐ โปรดอย่าเข้าใจผิด ❌สามเรื่องที่ไทยแพนตั้งใจทำและมั่นคงมาตลอด ✅
แต่การบิดประเด็น องุ่นไชมัสแคท ให้สวนทางกับการกำหนดมาตรฐานที่ต้องอยู่บนหลัก “ป้องกัน” ไว้ก่อนนั้น วันนี้บ้านเราเหมือนหยิบไม้บรรทัดมาคนละอัน ฉะนั้น ถึงเวลาทุกฝ่ายต้องหยุดให้ข่าวเพื่อสร้างความสับสน และควรกลับตั้งคำถาม หามาตรการการจัดการความเสี่ยง ทั้งการตรวจตั้งแต่ประเทศต้นทาง กระบวนการกักกันและเรียกคืน การแสดงฉลากให้ชัดเจน ครบถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาการตรวจวิเคราะห์ ณ ด่านอาหารและยาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเมื่อมีการตรวจเจอสารเคมีตกค้างในผักผลไม้นำเข้า จำเป็นต้องมีการประกาศผลวิเคราะห์ต่อสาธารณชน
สุดท้าย สังคมไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องอยู่เคียงข้างผู้บริโภคไม่มองการสุ่มเจอสารเคมีตกค้างในผลไม้ เป็นเรื่องน่าอับอาย หรือเป็นการจับผิดกันอีกต่อไป …
นางสาวปรกชล อู๋ทรัพย์ผู้ประสานงานเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) เปิดเผยการตรวจวิเคราะห์และเปิดเผยความจริงของไทยแพน ตามมาตรฐานของกฎหมายไทยเกิดประโยชน์ต่อ หนึ่งเกษตรกรไทยที่ทำการผลิตที่ดีแต่ถูกตีตลาดจากผลไม้นำเข้าคุณภาพต่ำ สองต่อผู้บริโภคไทยที่จะได้รับการคุ้มครองสุขภาพ สามต่อหน่วยงานของรัฐไทย ที่จะต้องเร่งยกระดับปฏิรูปความปลอดภัย และสี่ ต่อเกษตรกรจีนเองที่จะกวดขันทำการเกษตรโดยไม่เสี่ยงกับสารเคมี 20-30 ชนิด(หรือมากกว่า) ซึ่งไม่อนุญาตให้มีการใช้ในประเทศสหภาพยุโรป
สารพิษที่พบได้บ่อยในอาหารของบ้านเรา
คืออะไร ? คลิกชมคลิป https://www.facebook.com/reel/1063358515523196
ข้อมูลอ่านเพิ่มเติม https://www.tcc.or.th/shine-muscat-article/