xs
xsm
sm
md
lg

สถาบันเพิ่มผลผลิตฯ จัดสัมมนาบูรณาการ 3 มิติ "คน - กระบวนการ - เทคโนโลยี" ช่วยองค์กรบรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



งานสัมมนา “Thailand Productivity Forum 2024 Synchronizing People, Process, and Technology: Driving Future Workforce Success” โดยสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ได้ตอกย้ำพันธกิจของสถาบัน ที่มุ่งเน้นความสำคัญด้านการเพิ่ม Productivity โดยบูรณาการทั้ง 3 มิติ ระหว่าง คน กระบวนการ และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นกุญแจในการขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุเป้าหมายและเติบโต อย่างยั่งยืนในบริบทโลกยุคดิจิทัล
 

พร้อมถ่ายทอดความรู้และวิสัยทัศน์ โดยเหล่าวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กรชั้นนำ ในหัวข้อ Challenges and Opportunities: Shaping the Future of Workforce Development in the Digital Age โดย จุลนภ ศานติพงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม และธุรกิจ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) และ From Challenges to Solutions: A Success Story in Navigating Workforce Sustainability (People, Process and Technology) โดย ณัฐวุฒิ เกียรติไชยากร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานทรัพยากรบุคคล บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด และ ภูธัต เนตรสุวรรณ Home Care Thailand, Malaysia, and Singapore HR Director Unilever ประเทศไทย รวมถึง Workshop เจาะลึกเทคนิคการใช้ AI เสริมพลังการทำธุรกิจ เพิ่มประสิทธิภาพงาน โดย ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรม ปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีหุ่นยนต์ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2567 โรงแรมเดอะเบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ

(ที่ 3 ซ้าย) นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
ในการนี้ นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ได้เน้นย้ำถึงความตั้งใจในการจัดงาน ที่สอดรับกับเป้าหมายเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน “ในปีนี้ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ มีความยินดียิ่ง ที่ได้ร่วมเดินทางกับภาคธุรกิจไทยมาอย่างยาวนานถึง 30 ปี แห่งการเป็นพันธมิตรด้านผลิตภาพที่ทุ่มเทช่วยเหลือองค์กรไทยอย่างต่อเนื่อง เราได้ร่วมเดินทางไปด้วยกัน เพื่อสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนให้กับธุรกิจไทย ด้วยการแนะนำแนวทางในการยกระดับผลิตภาพ และพัฒนาศักยภาพบุคลากร ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ ภายใต้วิสัยทัศน์ Redefining Productivity for Sustainable Success ผลิตภาพนิยามใหม่ สู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สถาบัน ได้พัฒนาองค์ความรู้ เทคนิค และเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างไม่หยุดนิ่ง เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการด้านผลิตภาพที่ตอบโจทย์ธุรกิจ ควบคู่ไปกับการสร้าง เครือข่ายความร่วมมือทั้งในและต่างประเทศ โดยยึดถือผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาบุคลากร การยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการ หรือการเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันของไทย พร้อมกับการปลูกฝังแนวคิดการดำเนินธุรกิจที่ส่งมอบคุณค่าให้กับสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม
งานสัมมนาครั้งนี้เราได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญชั้นนำจากหลากหลายองค์กรมาร่วมแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์และมุมมองเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการองค์กรยุคใหม่ ทั้งในด้านการพัฒนา ทรัพยากรบุคคล การปรับปรุงกระบวนการทำงาน และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ สู่ความสำเร็จ เสมือนเข็มทิศนำทางสู่อนาคตที่สดใสให้กับองค์กรไทย โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่ากิจกรรมในวันนี้ จะสามารถส่งมอบคุณค่า และสร้างแรงบันดาลใจแห่งการพัฒนาให้แก่ทุกท่าน เพื่อให้เราได้ร่วมก้าวเดินบนเส้นทางสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืนไปพร้อมกัน” นายสุวรรณชัย กล่าว

งานสัมมนา “Thailand Productivity Forum 2024 Synchronizing People, Process, and Technology: Driving Future Workforce Success” โดยสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
การเดินทางร่วม 3 ทศวรรษของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สถาบันเครือข่ายของกระทรวง อุตสาหกรรม ที่ได้ส่งมอบวิสัยทัศน์ด้านการเพิ่มผลิตภาพ อันเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความเข้มแข็ง ให้แก่องค์กรและประเทศไทยมาตลอดระยะเวลา 30 ปี โดยปีนี้มีความตั้งใจที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้และนำพา องค์กรไทย ฝ่าวิกฤติโลกอนาคตการทำงานที่เปี่ยมไปด้วยความท้าทาย เพื่อยกระดับศักยภาพองค์กรและ บุคลากร โดยบูรณาการเข้ากับรูปแบบการทำงานในอนาคต เพื่อขับเคลื่อนสู่เป้าหมายทางธุรกิจ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงจากรอบด้านในยุคดิจิทัล

Thailand Productivity Forum 2024 ถือเป็นอีกหนึ่งเวทีสัมมนาที่ทรงคุณค่าสำหรับทุกคน ผู้เข้าร่วมงานยังได้รับความรู้และแนวทางปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับตนเอง ขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จและสร้างองค์กรที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านผลิตภาพอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการวางรากฐานธุรกิจให้แข็งแกร่ง พร้อมเติบโตไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน


กำลังโหลดความคิดเห็น