แม้ว่าผลวิเคราะห์เศรษฐกิจไทยภาพรวมขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี ที่มีเดือนเมษายนเป็นกับเทศกาลท่องเที่ยวยิ่งใหญ่ของประเทศไทยเป็นตัวหนุน ประกอบกับการสิ้นสุดของเดือนถือศีลอด ทำให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เป็นกลุ่มหลักเข้ามาทำให้เศรษกิจคึกคักมากขึ้น
นายพิตรพิบูล ธีร์จันทึก ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ ISMED วิเคราะห์สถานการณ์นี้ว่า “เป็นไปตามกลไกตลาด แต่ยังไม่กระจายไปถึงผู้ประกอบการ SME ที่เป็นรากฐานเศรษฐกิจของประเทศ ต้องกล่าวว่า “กระเตื้องขึ้น” แต่ในระยะยาวแล้ว “ทุน” เป็นสิ่งที่สำคัญ และ“ตลาด” ยังเป็นประเด็นคลาสสิคและเป็นจุดอ่อนอย่างมาก ซึ่ง ISMED จะมุ่งเน้นกิจกรรมขยายโอกาสทางการตลาดไปผู้ประกอบการได้เติบโตและพบกับตัวจริง
"ตลาดที่ ISMED มองเห็นว่าเป็นช่องทางสำหรับผู้ประกอบการนั้น ผู้อำนวยการ ISMED ฟันธงว่า ต้องเป็นการตลาดต่างประเทศ “ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 – ไตรมาสที่ 3 ของปี 2567 กลุ่มประเทศ CLMV ยังเป็นตลาดที่จงรักภักดีกับสินค้าจากประเทศไทย และขยายออกไปยังประเทศอินเดียและจีนอีกด้วย สินค้าส่วนใหญ่ยังเป็นสินค้าอุปโภคและบริโภค แต่เราก็พยายามให้เกิดเป็นวงกว้างในหลายประเภทธุรกิจ เช่น สปาและเวลเนส เครื่องสำอาง สินค้าพรีเมี่ยม ไลฟ์สไตล์ ในบางประเทศที่ค่อนข้างพิเศษ เช่น สินค้าฮาลาล ISMED นำผู้ประกอบการไปงานแสดงสินค้าที่ใหญ่ระดับโลก MIHAS ในปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังได้นำผู้ประกอบการไปศึกษาดูงานและเจรจาทางธุรกิจด้านสุขภาพและผู้สูงอายุ ที่เมืองคิวชู โดยร่วมมือกับสำนักงานเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมในภูมิภาคคิวชู ซึ่งเป็นธุรกิจกระแสแห่งอนาคต มูลค่าทางการตลาดโดยประมาณร่วม 100 ล้านบาท” ผู้อำนวยการ ISMED กล่าว
อีกประเด็นที่ผู้ประกอบการ SME หรือ แม้กระทั่ง Start Up ยังไม่สามารถหลุดพ้นไปได้ ผู้อำนวยการ ISMED แสดงแนวคิดนี้ว่า “การที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการขับเคลื่อนธุรกิจพ้นสภาพ “ฝืด” ไปได้ และได้มีการประสานกับหน่วยงานภาครัฐคือ Matching Fund ซึ่ง ภาครัฐจะพิจารณาให้ทุน โดยร่วมกับผู้ประกอบการในการพัฒนาให้เกิดความเข้มแข็ง เพื่อแข่งขันได้ในเวทีโลก”แม่ทัพใหญ่ ISMED กล่าวในที่สุด