xs
xsm
sm
md
lg

ป่าชายเลน แหล่งเก็บคาร์บอนชั้นดี ไทยมีพื้นที่เท่าไหร่?

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



วันนี้ (10 พฤษภาคม 2567 ) เป็นวันป่าชายเลนแห่งชาติ หรือ National Mangrove Forest Day ในวันนี้ ย้อนหลังกลับไปปี พ.ศ. 2534 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับป่าชายเลนเป็นครั้งแรกในพระราชพิธีแรกนาขวัญหว่านข้าว บริเวณสวนจิตรลดา ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันอนุรักษ์และดูแลป่าชายเลนอีกทั้งเปรียบเสมือนวันที่รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงห่วงใยและให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ป่าชายเลน

ป่าชายเลน (Mangrove Forest หรือIntertidal Forest) ที่เรียกว่า ป่าเลน มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นอยู่บนดินเลนริมฝั่งทะเลบริเวณน้ำกร่อยหรือน้ำทะเลท่วมถึง โดยเฉพาะปากแม่น้ำต่างๆ ในพื้นที่ภาคใต้จะมีอยู่ตามชายฝั่งทะเลทั้งสองด้าน ตามชายทะเลภาคตะวันออกมีอยู่ทุกจังหวัด แต่ที่มากที่สุดคือ บริเวณปากน้ำเวฬุ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี

แม้ว่าปัจจุบัน พื้นที่ป่าชายเลนของประเทศไทยมีมากถึง 1.73 ล้านไร่ โดยกระจายอยู่บริเวณชายฝั่งทะเล ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ รวม 24 จังหวัด ซึ่งหลายคนเข้าใจดีว่า “ป่าชายเลน” มีประโยชน์ต่อระบบนิเวศของพื้นที่ชายฝั่งทะเลและอ่าวไทย ทว่าสภาพป่าชายเลนของเราก็ยังถูกบุกรุกและถูกทำลายลงไปโดยผู้แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน นั่นถือว่าเป็นเรื่องที่ร้ายแรงต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากป่าชายเลนนั้นเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนชั้นดีของประเทศ


รู้หรือไม่! ป่าชายเลนดี มีคุณค่ามากต่อมนุษย์ทั้งโดยตรงและอ้อม

นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ปกท.ทส.) กล่าวว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าชายเลนมากเป็นอันดับต้นๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นระบบนิเวศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ไม่เพียงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในฐานะแหล่งอาหาร ยา พลังงาน และสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนในพื้นที่ แต่ยังเป็นแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากวิกฤตการณ์โลกร้อนที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศป่าชายเลนทั้งทางตรงและทางอ้อม

ประเทศไทยจึงเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว โดย ทส.ได้ประกาศเจตนารมณ์ที่จะยกระดับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเต็มที่ด้วยทุกวิถีทาง เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี ค.ศ. 2065 โดยเฉพาะการเดินหน้าส่งเสริมการปลูกป่าเพื่อพัฒนากลไกตลาดคาร์บอนเครดิตให้เป็นรูปธรรมผ่านความร่วมมือของทุกภาคส่วน ในการแก้ปัญหาวิกฤตการณ์โลกร้อน พร้อมกับมอบหมายให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) จัดทำโครงการปลูกป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิตสำหรับบุคคลภายนอกและสำหรับชุมชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาคประชาชนที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จ


คาร์บอนเครดิต อยู่ส่วนไหนของป่า

ป่าชายเลน นับเป็นแหล่งสำคัญในการกักเก็บคาร์บอนที่ทั่วโลกต้องการ โดยแหล่งสะสมคาร์บอนของป่าชายเลน อยู่ทั่วทุกส่วนของพืชในป่าชายเลน เช่น ซากต้นไม้/ไม้ล้ม/ผลิตภัณฑ์จากไม้ เศษซากที่ร่วงลงดิน อินทรียวัตถุในดิน ส่วนของต้นไม้ที่อยู่เหนือดิน และส่วนของต้นไม้ที่อยู่ใต้ดิน




กำลังโหลดความคิดเห็น