xs
xsm
sm
md
lg

เปิดสถิติสภาพอากาศสุดขั้ว ประเทศไทยช่วง 52 ปี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เพจเฟซบุ๊ก กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เผยข้อมูล สภาพอากาศสุดขั้วของประเทศไทย ระหว่างปี ค.ศ. 1970-2022 (พ.ศ. 2513-2565) พร้อมระบุว่า ปัจจุบันเราจะเห็นข่าวเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรงสุดขั้วเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และทวีความรุนแรงมากขึ้นทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นพายุหมุนเขตร้อน ฝนตกรุนแรง น้ำท่วม ไปจนถึงคลื่นความร้อนและภัยแล้งที่รุนแรงที่สุดเป็นประวัติการณ์

ปรากฏการณ์ดังกล่าวมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Climate Change) โดยมีภาวะโลกร้อนเป็นตัวขับเคลื่อน ทำให้รูปแบบสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งยังเป็นภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ และระบบนิเวศต่างๆ อีกด้วย ซึ่งประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วด้วยเช่นกัน โดยวิเคราะห์จากข้อมูลตรวจวัดของกรมอุตุนิยมวิทยา 65 สถานี ดังนี้


สภาพอากาศแบบผสมระหว่างอากาศร้อนและฝนตกหนัก
ภาคเหนือ : เกิด 2 เหตุการณ์/ปี
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : เกิด 2 เหตุการณ์/ปี
ภาคกลาง : เกิด 2 เหตุการณ์/ปี
ภาคตะวันออก : เกิด 2 เหตุการณ์/ปี
ภาคใต้ : เกิด 1 เหตุการณ์/ปี

โดย CHPEs (อากาศร้อน อุณหภูมิสูงสุดมากกว่า 35 องศาเซลเซียส บวกกับมีปริมาณฝนมากกว่า 35.1 mm.)ในภาพรวมประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (0.26 เหตุการณ์/ทศวรรษ) CHPEs ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคมถึงกรกฎาคม


จำนวนวันที่สภาพอากาศร้อน (อุณหภูมิสูงสุดมากกว่า 35 องศาเซลเซียส) เฉลี่ย
ภาคเหนือ : 89 วัน/ปี
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : 70 วัน/ปี
ภาคกลาง : 97 วัน/ปี
ภาคตะวันออก : 48 วัน/ปี
ภาคใต้ : 23 วัน/ปี

โดยจำนวนวันที่สภาพอากาศร้อน ในภาพรวมของประเทศไทย เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (7 วัน/ทศวรรษ) ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม


จำนวนวันที่ฝนตกหนัก (ปริมาณฝนมากกว่า 35.1 mm.) เฉลี่ย
ภาคเหนือ : 30 วัน/ปี
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : 10 วัน/ปี
ภาคกลาง : 9 วัน/ปี
ภาคตะวันออก : 17 วัน/ปี
ภาคใต้ : 16 วัน/ปี

โดยจำนวนวันที่ฝนตกหนักในภาพรวมของประเทศไทย เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (0.25 วัน/ทศวรรษ) ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม




อากาศสุดขั้ว ผลจากโลกร้อนและความปรกติใหม่ (New Normal)


สภาพอากาศสุดขั้ว (Extreme Weather) คือ สภาวะอากาศที่รุนแรงผิดปกติจนอาจก่อให้เกิดผลกระทบร้ายแรงต่อชุมชน การเกษตรกรรม รวมทั้งระบบนิเวศทางธรรมชาติ อาทิ คลื่นความร้อน ฝนตกรุนแรง พายุทอร์นาโด พายุหมุนเขตร้อน หรือน้ำท่วม เป็นต้น

๐ ไทยถูกจัดอยู่อันดับที่ 9 ของประเทศที่มีความเสี่ยงต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาทิ คลื่นความร้อน, ฝนตกรุนเเรงเเละน้ำท่วมหนัก, ภัยเเล้งที่ยืดเยื้อ เเละไฟป่า (ประเทศไทย Global Climate Risk Index 2021 โดย Germanwatch พิจารณาจากผลกระทบที่ไทยได้รับสภาพภูมิอากาศสุดขั้วระหว่างปี 2543 – 2563)

๐ สภาพอากาศสุดขั้วเริ่มเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้น โดยในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมา ชาวโลกประสบกับคลื่นความร้อน ความแห้งแล้ง ไฟป่า น้ำท่วมใหญ่ พายุหมุนเขตร้อน ฯลฯ บ่อยขึ้น รุนแรงขึ้น ผิดปกติขึ้น ไม่เป็นไปตามฤดูกาล และคาดการณ์ได้ยากขึ้น ในกรณีแย่ที่สุดคือ สภาพภูมิอากาศจะเปลี่ยนแปลงจนไม่สามารถกลับไปเหมือนเดิมได้อีก

อ้างอิง
- เพจเฟซบุ๊ค กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม https://www.facebook.com/photo?fbid=814000174089740&set=pcb.814000247423066
- https://www.tccnclimate.com/
- https://resourcecenter.thaihealth.or.th/article/




คำอธิบายของ ผศ. ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ “สภาพภูมิอากาศสุดขั้วเกิดจากความแปรปรวนของโลก หลังจากที่มนุษย์ปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปสะสมกันมานานและยังคงปล่อยต่อไป กลายเป็นภัยพิบัติที่จะสร้างผลกระทบสาหัส โดยเฉพาะประเทศที่กำลังเปราะบางทางเศรษฐกิจ”

สำหรับผลที่เกิดจากสภาพภูมิอากาศสุดขั้วของประเทศไทยที่เห็นได้ชัดมีอย่างน้อย 4 ประการ ได้เเก่ คลื่นความร้อน (heat wave) , ฝนตกรุนเเรงเเละน้ำท่วมหนัก (extreme rainfall and flood), ภัยเเล้งที่ยืดเยื้อ (droughts) เเละการเกิดไฟป่าเพิ่มขึ้น (wildfires)

“ปัจจุบันสภาพภูมิอากาศสุดขั้วเป็นปัญหาท้าทายร่วมสมัยที่นานาประเทศเเละองค์การระหว่างประเทศทั่วโลกให้ความสนใจเเละร่วมกันหาเเนวทางจัดการ โดยที่ผ่านมาก็มีความพยายามเเก้ไขที่ต้นตอของปัญหา”


กำลังโหลดความคิดเห็น