จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือกับ University of Sheffield ประเทศอังกฤษ เดินหน้าศูนย์วิจัยการผลิตวัคซีนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณ 7.6 ล้านปอนด์ หรือราว 336 ล้านบาทในการเปิดศูนย์วิจัยการผลิตวัคซีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จาก The Department of Health and Social Care and the Engineering and Physical Sciences Research Council (EPSRC) as part of the UK Vaccine Network (UKVN) ความร่วมมือดังกล่าวเป็นหนึ่งในการต่อยอดความสัมพันธ์ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ University of Sheffield ซึ่งได้ทำข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนางานวิจัย รวมถึงด้านการเรียนรู้และการเรียนการสอนร่วมกันตั้งแต่ต้นปี 2566 ที่ผ่านมา
ศูนย์วิจัยการผลิตวัคซีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดำเนินการภายใต้การดูแลของ Prof.Tuck Seng Wong จากมหาวิทยาลัยเชฟฟีลด์ และ ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม จากศูนย์วิจัยวัคซีน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้อำนวยการและผู้อำนวยการร่วม โดยมุ่งเน้นการพัฒนาวัคซีนคุณภาพสูงที่เข้าถึงได้ง่ายและตอบสนองการรักษาโรคที่แพร่ระบาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างทันท่วงที อาทิ โรคไข้เลือดออก โรคมือเท้าปาก โรคพิษสุนัขบ้า โรคตับอักเสบ และวัณโรค ผ่านการพัฒนาการผลิตวัคซีนใน 3 รูปแบบ ได้แก่ วัคซีนที่ผลิตจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ (Protein Subunit Vaccine) วัคซีนชนิดสารพันธุกรรม หรือวัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ (Messenger RNA (mRNA) Vaccine) และวัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Viral Vector Vaccine)
นอกจากนี้ ยังมีการทำงานเป็นเครือข่ายร่วมกับมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร 4 แห่ง ได้แก่ University of Sheffield, University of Cambridge, University of York, University of Kent และองค์กรใน 5 ประเทศ (ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย) ได้แก่
KinGen Biotech (Vaccine manufacturer, Thailand)
Baiya Phytopharm (Vaccine manufacturer, Thailand)
Pharmaniaga (Vaccine manufacturer, Malaysia)
Solution Biologics (Vaccine manufacturer, Malaysia)
Duopharma Biotech (Vaccine manufacturer, Malaysia)
Malaysia Genome and Vaccine Institute (National research institute, Malaysia)
Research Institute for Tropical Medicine (Governmental agency, the Philippines)
University of the Philippines Manila (University, the Philippines)
Pasteur Institute – Ho Chi Minh City (National research institute, Vietnam)
Bandung Institute of Technology (University, Indonesia)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับจาก QS World University Rankings เป็นมหาวิทยาลัย ชั้นนำอันดับต้นของประเทศ โดยมุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อสร้างเสริมสังคมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Innovations for
Society) มหาวิทยาลัยเชฟฟีลด์ (University of Sheffield) เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้านการวิจัยการผลิตวัคซีน ซึ่งมีรางวัลการันตีจากหลายสถาบัน นอกจากนี้ยังได้รับเงินสนับสนุนจากโครงการ Wellcome Leap R3 ในการก่อตั้งศูนย์วิจัยการผลิตวัคซีน mRNA ขึ้นที่มหาวิทยาลัยเชฟฟีลด์ เพื่อพัฒนากระบวนการการผลิตวัคซีนให้ก่อเกิดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ข้อมูลเพิ่มเติมจาก
https://www.sheffield.ac.uk/cbe/news/sheffield-lead-ps76-million-uk-south-east-
asia-vaccine-manufacturing-research-hub