xs
xsm
sm
md
lg

ลอรีอัล ประกาศ 4 นักวิจัยสตรีไทย คว้าทุน “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ประจำปี 2566

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


นายแพทริค จีโร กรรมการผู้จัดการ ลอรีอัล ประเทศไทย พม่า ลาว และกัมพูชา และ นางสาวอรอนงค์ ประทักษ์พิริยะ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการองค์กรและสื่อสารสัมพันธ์ ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมแสดงความยินดีกับ 4 นักวิจัยสตรีผู้ได้รับทุนในโครงการทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ประจำปี 2566 (จากซ้ายไปขวา) ดร.ปิยฉัฏร ช่วยสีนวล จากห้องปฏิบัติการอินทรีย์เคมีสังเคราะห์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ผู้ได้รับทุนสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ดร. สุญาณี ทองโชติ จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ได้รับทุนสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ รองศาสตราจารย์ ดร. ธีรนันท์ ศิริตานนท์ จาก สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ผู้ได้รับทุนสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ และ รองศาสตราจารย์ ดร. พรนภา เกษมศิริ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ได้รับทุนสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ
ลอรีอัล กรุ๊ป ในประเทศไทยย้ำความสำคัญของบทบาทนักวิจัยสตรีในสายงานวิทยาศาสตร์ เดินหน้าสนับสนุนทุนวิจัยต่อเนื่องเป็นปีที่ 21 ประกาศรายชื่อ 4 นักวิจัยสตรีผู้ได้รับทุนในโครงการทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” (For Women in Science) ประจำปี 2566 ซึ่งมอบทุนวิจัย 250,000 บาทพร้อมโล่เกียรติคุณ ให้แก่นักวิจัยสตรีที่มีผลงานโดดเด่นและสร้างประโยชน์ต่อสังคมทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน โดยลอรีอัลยังคงมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนงานวิจัยและเชิดชูเกียรติสตรีในสายงานวิทยาศาสตร์ รวมถึงเป็นพื้นที่ผลักดันงานวิจัยคุณภาพให้สามารถนำไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ทั้งในประเทศไทยและเวทีโลก

นายแพทริค จีโร กรรมการผู้จัดการลอรีอัล ประเทศไทย พม่า ลาว และกัมพูชา กล่าวว่า “ลอรีอัล ในฐานะบริษัทความงามระดับโลกที่ให้ความสำคัญกับงานวิจัยวิทยาศาสตร์และศักยภาพของนักวิจัยสตรีเสมอมา เราเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าโลกต้องการวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ต้องการสตรี หลายปีที่ผ่านมา แม้ว่าในเวทีโลกนักวิจัยสตรีจะมีสัดส่วนเพียง 33% และมีเพียงนักวิจัยสตรีส่วนน้อยที่ได้รับการระบุชื่อในงานวิจัย[1] ทว่าในประเทศไทยกลับมีแนวโน้มที่ดี ดังที่เราต่างก็ได้เห็นผลงานวิจัยคุณภาพจำนวนมากซึ่งเปี่ยมล้นด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างประโยชน์และคุณูปการให้กับสังคม รวมถึงเห็นความพยายามร่วมกันทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนที่ต้องการผลักดันบทบาทของนักวิจัยสตรีในแวดวงวิทยาศาสตร์ให้ทวีความเด่นชัดยิ่งขึ้น"

"ลอรีอัล กรุ๊ป ในประเทศไทย จึงมีความภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของก้าวอันยิ่งใหญ่ในการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในแวดวงวิทยาศาสตร์เสมอมา โดยดำเนินควบคู่ไปกับประเด็นสำคัญอย่างสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน เราจะยังคงมุ่งมั่นให้การสนับสนุนบทบาทของนักวิจัยสตรีไทยในสายงานวิทยาศาสตร์ต่อไป เพื่อขยายขอบเขตความเป็นไปได้ให้กับบทบาทของสตรีในสายงานวิทยาศาสตร์ เป็นเสมือนเวทีให้ผลงานของนักวิจัยสตรีไทยได้เป็นที่รู้จัก และตอกย้ำว่านักวิจัยสตรี

ทุนวิจัยฯ 4 ทุน มอบแก่นักวิจัยสตรี 4 ท่าน จาก 4 สถาบัน ในสองสาขา

สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ จำนวน 2 ท่าน

ดร.ปิยฉัฏร ช่วยสีนวล จากห้องปฏิบัติการอินทรีย์เคมีสังเคราะห์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ กับงานวิจัยหัวข้อ “การพัฒนาไฮโดรเจลสำหรับฉีดจากวัสดุคอมโพสิตอัลจิเนต อนุภาคไฮดรอกซีอะปาไทท์และเส้นใยไหมไฟโบรอิน สำหรับการใช้งานวิศวกรรมเนื้อเยื่อของฟัน”

ดร. สุญาณี ทองโชติ จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล กับงานวิจัยหัวข้อ “ทีเซลล์ที่มีตัวรับแอนติเจนแบบลูกผสมที่จำเพาะต่อโปรตีนโฟเลตรีเซปเตอร์อัลฟ่าและสามารถหลั่งโปรตีนที่จำเพาะสองทางรุ่นที่5.3 เพื่อเสริมประสิทธิภาพของวิถีออโตฟาจีในการกำจัดเซลล์มะเร็งเต้านมชนิดทริปเปิ้ลเนกาทีฟแบบสามมิติออร์กานอย”

สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ จำนวน 2 ท่าน

รองศาสตราจารย์ ดร. พรนภา เกษมศิริ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับงานวิจัยหัวข้อ “ไฮโดรเจลออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่สามารถฉีดได้จากการปรับแต่งแป้งที่เป็นของเสียในอุตสาหกรรมสำหรับการประยุกต์ใช้ทางการแพทย์”

รองศาสตราจารย์ ดร. ธีรนันท์ ศิริตานนท์ จาก สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กับงานวิจัยหัวข้อ “การออกแบบและพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงเพื่อการประยุกต์ใช้ด้านสิ่งแวดล้อม”

๐ 4 นักวิจัยสตรีผู้มีผลงานอันโดดเด่นที่ได้รับทุนโครงการฯ ประจำปี 2566

ดร.ปิยฉัฏร ช่วยสีนวล จากห้องปฏิบัติการอินทรีย์เคมีสังเคราะห์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ผู้ได้รับทุนสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ กล่าวว่า “ผู้ป่วยที่ประสบปัญหาการสูญเสียฟันในประเทศไทยมีทั้งกลุ่มผู้ป่วยโรคเหงือก ผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุ และผู้สูงอายุที่กระดูกเบ้าฟันเสื่อมสลายตามวัย หนึ่งในวิธีรักษาที่ได้รับความนิยมคือการฝังรากฟันเทียม โดยยึดฟันเข้ากับกระดูกขากรรไกรด้วยรากฟันเทียม แต่ปัญหาหลักที่พบส่วนใหญ่คือผู้ป่วยมีกระดูกเบ้าฟันไม่สมบูรณ์ หรือมีปริมาณกระดูกเบ้าฟันไม่เพียงพอที่จะรองรับการฝังรากฟันเทียม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้สูงอายุ ดังนั้นการรักษาจึงต้องเพิ่มขั้นตอนการปลูกกระดูกเบ้าฟันด้วยวัสดุปลูกกระดูก เพื่อให้การฝังรากฟันเทียมประสบผลสำเร็จเพิ่มขึ้น แต่ขั้นตอนดังกล่าวต้องนำเข้าวัสดุปลูกกระดูกจากต่างประเทศและค่าใช้จ่ายจึงค่อนข้างสูง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงเข้าถึงการรักษาได้น้อยและประสบกับการสูญเสียฟันอย่างถาวร ทีมผู้วิจัยร่วมกันพัฒนาวัสดุทางการแพทย์ชนิดใหม่ เพื่อใช้เป็นวัสดุปลูกกระดูกทางด้านทันตกรรม (Dental tissue engineering)"

"โดยทีมผู้วิจัยได้พัฒนาวัสดุปลูกกระดูกรูปแบบเจลพร้อมฉีด (injectable hydrogels) จากไฮโดรเจลอัลจิเนต-ไฮดรอกซีอะปาไทท์-เส้นใยไหมไฟโบรอิน ที่มีคุณสมบัติทางกายภาพและชีวภาพที่เหมาะสม ไม่เป็นพิษต่อเซลล์ และสามารถกระตุ้นการปลูกกระดูกซึ่งวัดจากการเพิ่มจำนวนเซลล์และการสะสมแร่ธาตุของเซลล์กระดูกได้อย่างมีประสิทธิผล วัสดุที่ได้จากงานวิจัยนี้จะช่วยร่นระยะเวลาและลดความซับซ้อนในการรักษา และที่สำคัญคือสามารถผลิตจากวัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายในประเทศและราคาไม่แพง อันได้แก่เปลือกไข่และเศษรังไหม งานวิจัยนี้จึงเป็นการสร้างนวัตกรรมด้านวัสดุทางทันตกรรมที่ช่วยเพิ่มมูลค่าของวัสดุเหลือทิ้ง โดยใช้กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และยังสามารถนำไปต่อยอดเพื่อผลิตขึ้นใช้ในระดับประเทศ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงการปลูกกระดูกเบ้าฟันได้มากขึ้น และได้รับการรักษาโดยการฝังรากฟันเทียมอย่างทั่วถึง ซึ่งจะเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืน”

ดร. สุญาณี ทองโชติ จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ได้รับทุนสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพกล่าวว่า “มะเร็งเต้านมชนิด TNBC (Triple-Negative Breast Cancers) เป็นมะเร็งเต้านมที่มีความรุนแรงกว่ามะเร็งเต้านมชนิดอื่นๆ และยังรักษาได้ยาก งานวิจัยชิ้นนี้เสนอให้ใช้วิธีการรักษาที่เรียกว่า chimeric antigen receptor หรือ CAR T-cells ซึ่งเป็นการนำเซลล์เม็ดเลือดขาวของผู้ป่วยมะเร็งที่มีจำนวนน้อยและไม่แข็งแรง ออกมาดัดแปลง หรือกระตุ้นในห้องปฏิบัติการด้วยกระบวนการ genetic engineering ให้มีประสิทธิภาพในการทำลายเซลล์มะเร็งได้ดียิ่งขึ้น ก่อนจะนำเซลล์เม็ดเลือดขาวดังกล่าวที่ผ่านกระบวนการแล้วใส่กลับเข้าไปให้ผู้ป่วย โดยเซลล์ภูมิคุ้มกันเหล่านี้จะทำหน้าที่เหมือน “เซลล์ที่มีชีวิต” หรือ “living drug” ในการทำลายเซลล์มะเร็งในร่างกายโดยทีมผู้วิจัยศึกษาการเพิ่มความสามารถในการหลั่ง antibody ต่อโปรตีน NECTIN2 ซึ่งเป็น immune checkpoint molecule ในการเพิ่มศักยภาพให้กับ CAR T-cells ที่จำเพาะต่อโปรตีน Folate receptor alpha เรียกว่า CAR T-cells รุ่นที่ 5.3 และเบื้องต้นผลออกมาเป็นที่น่าพอใจใน CAR T-cells รุ่นที่ 4"

"ในปัจจุบันหลักฐานการรักษาผู้ป่วยมะเร็งด้วย CAR T-cells ให้ผลเป็นที่น่าพอใจและมีผลข้างเคียงน้อย ซึ่งในอนาคตการรักษาด้วย CAR T-cells จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิด TNBC ที่รักษายาก เนื่องจากเป็นการใช้เซลล์ภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยเอง ทำให้วิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีที่มีความปลอดภัยสูง นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็น Predictive biomarkers เพื่อพัฒนา CAR T-cells และใช้ร่วมกับยา immune checkpoint inhibitors (ICIs) รวมไปถึงฐานข้อมูลต่างๆ เช่น วิถี autophagy อันจะสามารถต่อยอดไปสู่นวัตกรรมใหม่ทางการแพทย์สำหรับการรักษามะเร็งเต้านมชนิด TNBC ให้ได้ผลที่ดียิ่งๆ ขึ้นไป”

รองศาสตราจารย์ ดร. พรนภา เกษมศิริ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ได้รับทุนสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพกล่าวว่า “ไฮโดรเจลเป็นวัสดุปิดแผลที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากคุณสมบัติที่โดดเด่น คือมีความเข้ากันได้ดีกับเนื้อเยื่อ การเก็บรักษาความชุ่มชื้น อ่อนโยน และมีความแข็งแรงทางกลและทางกายภาพที่เพียงพอ แต่ไฮโดรเจลก็ยังมีข้อจำกัดสำหรับการใช้งานในรูปแบบการฉีด ปัจจุบันมีการศึกษาและพัฒนาไฮโดรเจลที่สามารถฉีดได้เพื่อใช้เป็นสารนำส่งแ"โดยได้มุ่งเน้นการศึกษาและการสังเคราะห์ไฮโดรเจลที่สามารถฉีดได้จากการดัดแปร CSW ให้เป็นสารเชื่อมขวางแป้งไดอัลดีไฮด์ (DAS) เพื่อใช้งานร่วมกับเจลาติน โดย CSW เป็นของเสียในอุตสาหกรรมการเกษตรที่นำไปจำหน่ายในราคาถูกเพื่อเป็นอาหารสัตว์ ดังนั้นในงานวิจัยนี้ จึงมุ่งเน้นการพัฒนาวัสดุทางการแพทย์ประเภทไฮโดรเจลที่สามารถฉีดได้และสร้างแนวทางเพิ่มมูลค่าให้กับ CSW ที่เป็นผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมทางการเกษตร ซึ่งจะทำให้ได้ไฮโดรเจลที่ได้มีราคาต้นทุนต่ำ ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้ง่ายยิ่งขึ้น”

รองศาสตราจารย์ ดร. ธีรนันท์ ศิริตานนท์ จาก สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ผู้ได้รับทุนสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ กล่าวว่า “ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการปนเปื้อนในแหล่งน้ำ เป็นปัญหาสำคัญในปัจจุบันโดยเฉพาะสำหรับประเทศไทยที่ประชากรจำนวนมากอาศัยและประกอบอาชีพที่อาศัยแหล่งน้ำ ในขณะที่การบำบัดน้ำบางครั้งต้องใช้พลังงานและอุปกรณ์ซับซ้อน ตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงสามารถย่อยสลายสารอินทรีย์ได้หลายชนิดพร้อมกันโดยอาศัยเพียงแสงอาทิตย์ แต่ปัจจุบันประสิทธิภาพของตัวเร่งปฏิกิริยายังจำกัดทำให้ยังไม่ถูกใช้งานในเชิงพานิชย์มากนัก ผู้วิจัยจึงมุ่งพัฒนาและปรับปรุงวัสดุสำหรับเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงด้วยกลยุทธ์ที่แตกต่างกัน โดยได้พัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงในหลายระบบซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ในหลายปฏิกิริยา อาทิ พัฒนา Bi2WO6 โดยการเจือให้มีประสิทธิภาพการย่อยสลายสีย้อมโรดามีน บี และออกซิไดซ์เบนซิลลามีนได้มากขึ้นหลายเท่าตัว พัฒนาการเตรียมฟิล์มบางของ BiOCl ซึ่งสามารถลดแก๊สพิษ NOx ในอากาศได้ และยังพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยา Bi2O2CO3 โดยการเจือและคอมโพสิตให้สามารถลดสารปนเปื้อนยาปฏิชีวนะในน้ำได้มากขึ้นกว่าเดิม ในอนาคตตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีประสิทธิภาพสูงจะสามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ย่อยสลายสารอินทรีย์ได้จำนวนมาก รวมทั้งกลุ่มยาปฏิชีวนะ ยาฆ่าแมลง และสีย้อม ตลอดจนใช้แยกน้ำให้เป็นเชื้อเพลิงแก๊สไฮโดรเจนได้ในอนาคต อันจะเป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์มหาศาลต่อสังคม ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ให้คนและธรรมชาติอยู่อย่างพึ่งพาอาศัยกันได้อย่างยั่งยืน”


ทั้งนี้ โครงการทุนวิจัยลอรีอัล “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” หรือ For Women in Science ริเริ่มขึ้นในปี 2540 โดย มูลนิธิลอรีอัล ด้วยความร่วมมือจากยูเนสโก แต่ละปีได้สนับสนุนนักวิจัยสตรีรุ่นใหม่มากกว่า 250 ท่าน ในโครงการระดับประเทศและระดับภูมิภาคทั่วโลก และได้มอบทุนเกียรติยศนานาชาติแก่นักวิจัยสตรีระดับ Laureates ไปแล้วมากกว่า 100 ท่าน ซึ่งมีถึง 7 ท่าน ที่ก้าวสู่ความสำเร็จได้รับรางวัลโนเบล สำหรับในประเทศไทย โครงการทุนวิจัยลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” มอบทุนวิจัยทุนละ 250,000 บาท ให้กับนักวิจัยสตรีที่มีอายุไม่เกิน 40 ปี ในสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ลอรีอัล กรุ๊ป ในประเทศไทย ได้ดำเนินงานโครงการมาเป็นปีที่ 21 โดยมีนักวิจัยสตรีไทยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการนี้รวมแล้วทั้งสิ้น 84 ท่าน จาก 20 สถาบัน


กำลังโหลดความคิดเห็น