xs
xsm
sm
md
lg

ฟาสต์ รีเทลลิ่ง กางแผนปรับเปลี่ยนซัพพลายเชน ฉายภาพความคืบหน้าด้านความยั่งยืน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


บุคคลในภาพ(จากซ้ายไปขวา) - โคจิ ยาไน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส บริษัท ฟาสท์ รีเทลลิ่ง ผู้บริหารส่วนรับผิดชอบด้านความยั่งยืน, ยูกิฮิโระ คัตซึตะ Group Senior Executive Officer บริษัท ฟาสท์ รีเทลลิ่ง และ หัวหน้าส่วนการพัฒนาและวิจัย บริษัท ยูนิโคล่, เคโกะ มายุสุมิ ผู้อำนวยการทีมบริหารด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลก บริษัท ฟาสท์ รีเทลลิ่ง, มาซาฮิโระ ยูบิซูอิ Group Executive Officer บริษัท ฟาสท์ รีเทลลิ่ง ผู้บริหารส่วนรับผิดชอบฝ่ายผลิตระดับโลก และ ยูกิฮิโระ นิตตะ Group Executive Officer บริษัท ฟาสท์ รีเทลลิ่ง ผู้บริหารส่วนรับผิดชอบส่วนงานด้านความยั่งยืน)
ฟาสต์ รีเทลลิ่ง บริษัทแม่ของยูนิโคล่ ชูแนวคิด LifeWear = a New Industry เผยกำลังปรับเปลี่ยนธุรกิจเพื่อสร้างสมดุลระหว่างความยั่งยืนกับการเติบโตของธุรกิจ และส่งเสริมสังคมที่ยั่งยืนขึ้นผ่านโมเดลธุรกิจครบวงจร กล่าวถึงระบบและกระบวนการใหม่ที่ได้เริ่มดำเนินการเพื่อมุ่งสู่ความชัดเจนมากขึ้น รวมทั้งการควบคุมตัวแปรต่างๆ ของสภาพแวดล้อมและสถานที่ทำงานตั้งแต่ระบบซัพพลายเชนทั้งหมดจนถึงช่วงหลังการขาย พร้อมฉายภาพความคืบหน้าของเป้าหมายด้านความยั่งยืนของปีงบประมาณ 2573 อีกด้วย

ฟาสต์ รีเทลลิ่ง กำลังสร้างซัพพลายเชนที่มั่นคงและคล่องตัวเพื่อส่งมอบความยั่งยืนที่ดีขึ้น สร้างความร่วมมืออันแข็งแกร่งในระยะยาวกับผู้ผลิตเสื้อผ้าและวัตถุดิบต่างๆ ตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้นของระบบซัพพลายเชน แนวคิดนี้ทำให้ ฟาสต์ รีเทลลิ่ง สามารถบริหารระบบซัพพลายเชนทั้งหมดได้ดีขึ้น สามารถควบคุมขั้นตอนการผลิตทั้งหมดได้โดยตรงตั้งแต่ คุณภาพ การจัดซื้อ การผลิต สิ่งแวดล้อม และสิทธิพื้นฐานของแรงงาน หลังจากเห็นภาพรวมของระบบซัพพลายเชนตั้งแต่สินค้าที่เสร็จสมบูรณ์ไปจนถึงขั้นตอนของวัตถุดิบ ทางบริษัทเริ่มรวมธุรกิจระหว่างพาร์ทเนอร์ที่ได้รับเลือกจำนวนหนึ่ง รวมถึงแผนการในอนาคตเรื่องการสรรหาวัตถุดิบจากฟาร์มหรือไร่ปศุสัตว์

ในขณะเดียวกัน ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ได้ยกระดับแนวคิด RE.UNIQLO เพื่อส่งเสริมการนำเสื้อผ้ายูนิโคล่มารีไซเคิลและนำกลับมาใช้อีกครั้ง จากการเปิดตัวเสื้อดาวน์ขนเป็ดรีไซเคิลในปี 2563 ทางบริษัทยังคงเดินหน้าเพื่อการพัฒนาสินค้ารีไซเคิลอื่นๆ จากเสื้อผ้าที่ทำด้วยผ้าแคชเมียร์ ผ้าวูล และผ้าฝ้าย

(ซ้าย) โคจิ ยาไน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส บริษัท ฟาสต์ รีเทลลิ่ง
โคจิ ยาไน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส บริษัท ฟาสต์ รีเทลลิ่ง กล่าวว่า “เรามีความรับผิดชอบต่อสินค้าทุกชิ้นจาก LifeWear ที่เราผลิตเพื่อลูกค้า เราไม่นิ่งนอนใจ ด้วยขั้นตอนการพัฒนาสินค้า การผลิต และขั้นตอนหลังการขาย เพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าของเราใช้งานได้ยาวนานและตอบโจทย์ หนึ่งในตัวอย่างเพื่อให้ LifeWear ยั่งยืนขึ้น เราได้เปิดตัวโปรเจกต์นำร่องร้านค้าเสื้อผ้ามือสองเมื่อเร็วๆ นี้ ด้วยความร่วมมือกับลูกค้าของเรา ชุมชนท้องถิ่น และพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ พวกเรายังคงเดินหน้าเพื่อยกระดับความเป็นไปได้ของ LifeWear สร้างธุรกิจที่ส่งเสริมชีวิตของผู้คนและสังคมทั่วโลก”

สำหรับการริเริ่มที่สำคัญต่างๆ ในด้านสินค้า การบริการ และซัพพลายเชน รวมถึงความคืบหน้าของเป้าหมายด้านความยั่งยืนของปีงบประมาณ 2573 ของฟาสต์ รีเทลลิ่ง ประกอบไปด้วย;

๐ แนวคิดหลักในการพัฒนาสินค้า
มีการกำหนดอัตราส่วนการใช้วัสดุที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับต่ำ เช่น วัสดุรีไซเคิล เพิ่มขึ้น 8.5% สำหรับสินค้าที่ได้วางแผนไว้ในปี 2566 สำหรับสินค้าที่ใช้เส้นใยโพลีเอสเตอร์ มีการเส้นใยโพลีเอสเตอร์รีไซเคิลคิดเป็น 30 % ของสินค้าทั้งหมดในกลุ่มนี้ โดยเป้าหมายของปีงบประมาณ 2573 อยู่ที่ 50% นอกจากนี้ ในปี 2566 นี้ สินค้าฮีทเทค (HEATTECH) และแอริซึ่ม (AIRism) ผลิตจากเส้นใยโพลีเอสเตอร์รีไซเคิลและไนลอนเป็นครั้งแรก งานวิจัยที่มีมาต่อเนื่องสร้างความมั่นใจในเรื่องของความนุ่มสบาย และลักษณะเฉพาะของสินค้าทั้งสองประเภทที่เปี่ยมด้วยฟังก์ชันนั้นยังคงเดิม นอกจากนี้ เสื้อตัวนอก PUFFTECH ทำด้วยเส้นใยโพลีเอสเตอร์ รีไซเคิล รวมทั้งเสื้อยืดกราฟิก UT บางรุ่นยังทำมาจากเส้นใยฝ้ายรีไซเคิล

๐ แนวคิดหลักเพื่อ LifeWear ที่ยั่งยืน
ยูนิโคล่เปิดแนวคิด RE.UNIQLO เพื่อส่งเสริมการนำเสื้อผ้ายูนิโคล่มารีไซเคิลและนำกลับมาใช้อีกครั้ง นอกจากนี้ยังมี โปรเจกต์เสื้อผ้ายูนิโคล่มือสอง โปรเจกต์นำร่องที่เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดนี้ โดยในระยะแรก ร้านป็อปอัพสโตร์ซึ่งวางจำหน่ายสินค้ามือสองได้เปิดให้บริการในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ที่ร้านยูนิโคล่ สาขาฮาราจูกุ ในประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ 11- 22 ตุลาคม 2566 โดย RE.UNIQLO STUDIO เปิดตัวครั้งแรกที่ลอนดอน เมื่อเดือนกันยายน 2565 ให้บริการด้านการซ่อมแซมและปรับโฉมเสื้อผ้าได้ขยายสาขาไปทั่วโลก จนถึงเดือนกันยายน 2566 บริการนี้มีอยู่ในร้านสาขา 35 แห่ง ใน 16 ประเทศ และด้วยความตั้งใจด้านการรีไซเคิลเส้นใยจากเสื้อผ้าที่เพิ่มขึ้น ฟาสต์ รีเทลลิ่ง กำลังพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ที่ทำด้วยผ้าแคชเมียร์ ผ้าวูล และผ้าฝ้ายจากสินค้าของยูนิโคล่ที่รวบรวมจากร้านสาขา

 ฟาสต์ รีเทลลิ่ง (Fast Retailing) บริษัทแม่ของยูนิโคล่ จัดงานแถลง LifeWear = a New Industry สำหรับสื่อมวลชนและนักวิเคราะห์
๐ แนวคิดหลักเรื่องการผลิต
ฟาสต์ รีเทลลิ่ง จัดทำระบบการบริหารครบวงจรสำหรับซัพพลายเชนของบริษัท เพื่อให้สามารถควบคุมขั้นตอนการผลิตทั้งหมดได้โดยตรง ตั้งแต่คุณภาพ การจัดซื้อ การผลิต สิ่งแวดล้อม และสิทธิพื้นฐานของแรงงานระบบนี้รวมถึงการระบุวัตถุดิบและเนื้อผ้าที่ใช้ในกระบวนการตัดเย็บไปจนถึงกระบวนการจัดหาวัตถุดิบต่างๆ สำหรับสินค้าฤดูร้อน/ฤดูใบไม้ร่วง 2566 ของยูนิโคล่ทุกชิ้นสามารถบอกแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ผลิตได้ในเดือนสิงหาคม 2566 ทางบริษัทฯ สามารถระบุซัพพลายเออร์ตามขั้นตอนการผลิตเส้นใย ซึ่งผลิตจากแหล่งที่เชื่อถือได้และมีความร่วมมือในระยะยาวเพื่อผลิตสินค้าผ้าฝ้ายของยูนิโคล่ ในอนาคต ฟาสต์ รีเทลลิ่ง วางแผนที่จะขยายแนวคิดเดียวกันนี้ไปยังซัพพลายเออร์สำหรับวัสดุอื่นๆ

นอกจากนี้ ฟาสต์ รีเทลลิ่ง กำลังขยายฐานการผลิต พร้อมกับการเพิ่มกำลังการผลิตของโรงงานหลักในประเทศจีน รวมถึงเพิ่มอัตราส่วนของสินค้าที่ผลิตจากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นกัน โดยอัตราการผลิตในประเทศอินโดนีเซีย และเวียดนามเพิ่มสูงกว่า 50% นอกจากนี้ ฟาสต์ รีเทลลิ่ง วางแผนเพิ่มกำลังการผลิตภายในประเทศในพื้นที่ที่ธุรกิจของบริษัทกำลังเติบโต เช่น อินเดีย ยิ่งไปกว่านั้น เพื่อความชัดเจนที่มากขึ้นและการควบคุมการจัดหาวัตถุดิบทั้งหมด ฟาสต์ รีเทลลิ่ง จัดทำระบบเพื่อกำหนดคุณภาพของวัตถุดิบและสถานที่ผลิตตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน และตรวจสอบขั้นตอนเหล่านี้ได้ตลอดเวลา โดยเริ่มต้นใช้กับกับฝ้าย และจะนำระบบนี้ไปใช้กับวัสดุอื่นๆ ด้วย และในอนาคต ฟาสต์ รีเทลลิ่ง จะร่วมมือกับพาร์ทเนอร์การผลิตเพื่อระบุฟาร์ม ไร่ปศุสัตว์ และโรงงานต่างๆ สำหรับขั้นตอนการจัดหาวัตถุดิบหลัก สำหรับเส้นใยโพลีเอสเตอร์รีไซเคิล ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ได้กำหนดผู้ผลิตและมาตรฐานคุณภาพของเกล็ดและเม็ดพลาสติก เพื่อควบคุมคุณภาพ ความโปร่งใส และความปลอดภัยของแหล่งผลิตให้อยู่ในระดับสูงสุด

ทั้งนี้ เพื่อการตรวจสอบแหล่งที่มาที่ชัดเจนขึ้น ฟาสต์ รีเททลิ่ง ได้สรุป Production Partner Code of Conduct กับผู้ผลิตเส้นใยสำหรับสินค้าผ้าฝ้ายของยูนิโคล่ในฤดูใบไม้ผลิปี 2566 การตรวจสอบทั่วไปสำหรับผู้ผลิตเส้นใยรายหลักดำเนินการจนถึงเดือนสิงหาคม 2566 โดยเริ่มใช้มาตรการเดียวกันนี้กับผู้ผลิตเส้นโพลีเอสเตอร์รีไซเคิล และซึ่งอยู่ในระยะเริ่มต้น และตั้งแต่ปี 2566 ยูนิโคล่และ GU เริ่มเผยข้อมูลประเทศผู้ผลิตของแต่ละสินค้าผ่านเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ ในบางประเทศ และมีแผนที่จะขยายความคิดริเริ่มนี้ไปยังตลาดอื่นๆ อีกด้วย

๐ แนวคิดหลักเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและความคืบหน้าของเป้าหมายของปีงบประมาณ 2573 ที่ร้านสาขาและสำนักงาน โดยฟาสต์ รีเทลลิ่ง ตั้งเป้าหมายในการลดระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHC) จากการใช้พลังงานในร้านสาขาและสำนักงานให้ได้ 90% ภายในปีงบประมาณ 2573 เมื่อเทียบกับระดับตั้งไว้ในปีงบประมาณ 2562 จนถึงปี 2565 สามารถลดระดับลงได้ถึง 45.7% นอกจากนี้ ได้ตั้งเป้าหมายในการเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียน 100% สำหรับร้านสาขาในกลุ่มฟาสต์ รีเทลลิ่ง และสำนักงานทั่วโลกภายในปีงบประมาณ 2573 สำหรับปีงบประมาณ 2565 ได้ดำเนินการแล้ว 42.4 %

ในส่วนของซัพพลายเชน ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ตั้งเป้าหมายลดระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHC) ให้สอดคล้องกับการผลิตวัตถุดิบ การผลิตเนื้อผ้า และการตัดเย็บสินค้าของยูนิโคล่ และ GU ให้ได้ 20% ภายในปีงบประมาณ 2573 นี้ เมื่อเทียบกับเป้าหมายของปีงบประมาณ 2562 ซึ่งในปี 2565 ที่ผ่านมา ลดระดับการปล่อยก๊าซได้ 6.2% โดย ฟาสต์ รีเทลลิ่งจะเดินหน้าร่วมมือกับโรงงานพาร์ทเนอร์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว


ขณะที่ การริเริ่มด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ฟาสต์ รีเทลลิ่ง เผยแพร่นโยบายการอนุรักษ์ความหลากหลายทางธรรมชาติของกลุ่มฟาสต์ รีเทลลิ่ง (Fast Retailing Group Biodiversity Conservation Policy) บริษัทมีความต้องการบรรลุเป้าหมายเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพเชิงบวกซึ่งเชื่อมโยงกับห่วงโซ่คุณค่าของบริษัท (Value Chain) ในระยะยาว โดยฟาสต์ รีเทลลิ่ง จัดทำแบบประเมินเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณเกี่ยวกับผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และความเสี่ยงด้านการพึ่งพาในห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ซึ่งระบุถึงผลกระทบสำคัญของการใช้ที่ดินเพื่อการผลิตผ้าแคชเมียร์ ผ้าวูล และผ้าฝ้าย

สำหรับ “ผ้าแคชเมียร์” ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ร่วมมือกับนักวิจัยจาก University of the Ryukyus ประเทศญี่ปุ่น ในการใช้ดาวเทียมเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลสถานะของผลผลิตจากไร่ปศุสัตว์ที่ผลิตขนแพะแคชเมียร์ให้กับยูนิโคล่ โดยบุคลากรแผนกความยั่งยืนได้เยี่ยมชมไร่ปศุสัตว์ และทำการสำรวจภาคสนาม ส่วน “ผ้าวูล” ฟาสต์ รีเทลลิ่ง วางแผนที่จะดำเนินการในลักษณะเดียวกันกับผ้าแคชเมียร์ นอกจากนี้ บริษัทกำลังศึกษาเกี่ยวกับการนำเกษตรแบบหมุนเวียนมาประยุกต์ใช้กับผ้าฝ้าย

ด้านกิจกรรมเพื่อสังคม ในปีงบประมาณ 2566 ฟาสต์ รีเทลลิ่ง สนับสนุนเงินจำนวน 5.4 พันล้านเยนเพื่อสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคม รวมถึงจัดหาเสื้อผ้าจำนวน 1.13 ล้านชิ้น โดยมีจำนวนผู้ที่ได้รับประโยชน์จากกิจกรรมนี้ถึง 1.82 ล้านคน และในเดือนกันยายน 2565 เปิดตัวโปรเจกต์เพื่อสนับสนุนการดำรงชีพโดยร่วมมือกับ UNHCR เพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัยหญิงชาวโรฮิงญาในบังกลาเทศ โดยดำเนินการฝึกทักษะการตัดเย็บให้กับผู้หญิงประมาณ 350 คนได้สำเร็จในเดือนสิงหาคม 2566 นอกจากนี้ สิ่งของบรรเทาทุกข์อาทิ ผ้าอนามัยแบบซักได้กว่า 2 ล้านชิ้น และชุดชั้นในผู้หญิงกว่า 430,000 ชิ้นถูกผลิตขึ้นเพื่อแจกจ่ายไปยังแคมป์ผู้ลี้ภัย ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ตั้งเป้าหมายอบรมผู้หญิงจำนวน 1,000 คนให้เสร็จสิ้นภายในปี 2568 เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีผลิตภัณฑ์ด้านสุขอนามัยที่เพียงพอต่อความต้องการของผู้หญิงในแคมป์ผู้ลี้ภัย

นอกจากนี้ มูลนิธิฟาสต์ รีเทลลิ่ง จับมือกับ Philanthropy Asia Alliance ในเดือนกันยายนปี 2566 โดยมูลนิธิวางแผนจะสนับสนุนเงินจำนวน 25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในระยะเวลามากกว่า 10 ปี เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ การศึกษา และสาธารณสุขในทวีปเอเชีย ซึ่งมูลนิธิยังเปิดตัวโปรแกรมทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนต่างชาติในเวียดนาม โดยนักเรียนกลุ่มแรกจำนวน 6 คนจะเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 2566
ท้ายสุดคือการยกระดับความหลากหลายและการรวมเป็นหนึ่ง ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มจำนวนผู้บริหารหญิงให้ถึง 50% ภายในปีงบประมาณ 2573 โดยในปลายเดือนสิงหาคม ปี 2565 มีอัตราส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 43.7%


ทั้งนี้ UNIQLO LifeWear นั้น ไลฟ์แวร์ (LifeWear) มีที่มาจากค่านิยมของชาวญี่ปุ่นในเรื่องความเรียบง่าย คุณภาพ และความยืนยาว LifeWear ได้รับการออกแบบให้เป็นเสื้อผ้าแห่งยุคสมัยและเพื่อยุคสมัย และถูกสร้างสรรค์ขึ้นอย่างสง่างามทันสมัยจนกลายเป็นองค์ประกอบพื้นฐานในการสร้างสรรค์สไตล์เฉพาะตัวของแต่ละบุคคล เสื้อเชิ้ตที่ดีเลิศอยู่แล้วยังได้รับการปรับปรุงให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้นอยู่เสมอ การออกแบบที่เรียบง่ายที่สุด แฝงไว้ด้วยรายละเอียดที่บ่งบอกถึงความใส่ใจและทันสมัยที่สุด ทำให้รูปทรงและเนื้อผ้าที่ดีที่สุดกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถซื้อหาและเข้าถึงได้ง่าย LifeWear คือเสื้อผ้าที่มุ่งสร้างสรรค์ สิ่งใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งมอบความอบอุ่น ความเบา การออกแบบที่ดี และความสบายสู่ชีวิตของผู้คนให้ได้มากยิ่งขึ้น

สำหรับยูนิโคล่เป็นแบรนด์ที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มฟาสต์ รีเทลลิ่ง ทั้ง 8 แบรนด์ ซึ่งแบรนด์ที่เหลือได้แก่ GU, Theory, PLST (Plus T), Comptoir des Cotonniers, Princesse tam.tam, J Brand และ Helmut Lang บริษัทฯ มียอดจำหน่ายทั่วโลกประมาณ 2.77 ล้านล้านเยนในปีบัญชี 2023 สิ้นสุด ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2023 (ประมาณ 18.92 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยคำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์ ต่อ 146.2 เยน ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2023) ฟาสต์ รีเทลลิ่ง เป็นหนึ่งในบริษัทค้าปลีกสินค้าเครื่องแต่งกายที่ใหญ่ที่สุดในโลก และยูนิโคล่เป็นแบรนด์ค้าปลีกสินค้าเฉพาะทางชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น

ยูนิโคล่ยังคงเดินหน้าเปิดร้านสาขาขนาดใหญ่ในเมืองใหญ่และในทำเลที่สำคัญต่างๆ ทั่วโลก เพื่อสร้างความแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องในฐานะ แบรนด์ระดับโลก ในปัจจุบันยูนิโคล่มีจำนวนร้านสาขากว่า 2,400 ทั่วโลก ทั้งในประเทศญี่ปุ่น ทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป และทวีปอเมริกาเหนือ โดยจำนวนรวมของร้านสาขาในกลุ่มฟาสต์ รีเทลลิ่งอยู่ที่ราว 3,600 ร้านทั่วโลก

ฟาสต์ รีเทลลิ่ง มีพันธกิจที่จะเปลี่ยนโฉมเสื้อผ้า พลิกโฉมหน้าของภูมิปัญญาเดิมๆ และเปลี่ยนแปลงโลก โดยบริษัทฯ ทุ่มเทให้กับการสร้างสรรค์เสื้อผ้าชั้นเยี่ยมด้วยค่านิยมใหม่ที่พิเศษไม่เหมือนใคร เพื่อร่วมสร้างสรรค์ชีวิตที่ดียิ่งขึ้นให้กับผู้คนทุกหนแห่ง


กำลังโหลดความคิดเห็น