xs
xsm
sm
md
lg

ต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำ เริ่มที่ “สระบุรีแซนบ็อกซ์”/ดร.สุวัฒน์ ทองธนากุล

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



จาก 4 กลยุทธ์การพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ภาคเอกชนเสนอต่อนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ที่ไปร่วมงาน “ESG Symposium 2023” นับว่าสำคัญและน่าสนใจทุกข้อ ตามที่ผู้นำรัฐบาลได้กล่าวชื่นชม 

ความคิดที่นำเสนอ ก็หวังว่ากลไกภาครัฐจากสนับสนุนการขับเคลื่อนนี้ให้เป็นจริง และความสำเร็จที่สระบุรีก็จะเป็นแรงจูงใจให้จังหวัดอื่นได้แนวทางการพัฒนาเช่นนี้บ้าง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล

นี่นับเป็นตัวอย่างที่ดีที่ธุรกิจชั้นนำอย่างกลุ่ม SCG เป็นแกนสำคัญในการจัดประชุมตัวแทนกว่า 500 คนจากภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม เพื่อระดมความคิดเห็นตลอดเดือนกันยายนที่ผ่านมา จนได้ 4 กลยุทธ์ "ร่วม เร่ง เปลี่ยน สู่สังคมคาร์บอนต่ำ" ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs )

1.ร่วมสร้าง “ สระบุรี Sandbox”

เพื่อให้เกิดเป็นเมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำแห่งแรกของไทย เพราะสระบุรีเป็นจังหวัดที่มีความซับซ้อนและท้าทาย ในระบบเศรษฐกิจมีทั้งอุตสาหกรรมหนัก เกษตรกรรม การท่องเที่ยว จึงเป็นเมืองที่ผสมผสานเสมือนองค์ประกอบของประเทศไทย

มีการประสานความรู้และสร้างโอกาสในการพัฒนาจากผู้รู้ เช่น ผู้บริหารธุรกิจอุตสาหกรรมนี้จริง ผู้ว่าราชการจังหวัดและเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ เกษตรกรจังหวัด และ ภาคประชาสังคมที่โดนผลกระทบ ก็ได้แนวทาง และความร่วมมือที่ขจัดข้อจำกัดได้ เช่น
*กำหนดใช้ปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำทุกการก่อสร้าง ในสระบุรีตั้งแต่ปี 67
*ทำนาเปียกสลับแห้ง เพื่อลดการใช้น้ำ
*ปลูกพืชพลังงาน เช่นหญ้าเนเปียร์
*นำเขาเหลือจากการเกษตร แปรรูปเป็นพลังงาน
*ร่วมปลูกป่าชุมชน 38 แห่ง
* สู่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทั่วจังหวัดสระบุรี เพื่อช่วยดูดซับการ์ดเรือนกระจก และสร้างรายได้ชุมชน

2.เร่งผลักดันเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นวาระแห่งชาติ

เป็นแนวคิดที่สนับสนุนให้ใช้สิ่งของหรือทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าที่สุด และใช้ทรัพยากรหมุนเวียนเช่นใช้วัสดุชีวภาพ เศษอาหารเหลือทิ้งไปทำปุ๋ย เปลี่ยนของเสียให้กลายเป็นวัตถุดิบของการแปรรูปการผลิตต่อไป

ในประเทศไทยมี 3 อุตสาหกรรมที่ลงมือทำในแนวนี้คือ อุตสาหกรรม บรรจุภัณฑ์ ยานยนต์ ก่อสร้าง
ในข้อเสนอนี้ชี้ให้เห็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ “เศรษฐกิจหมุนเวียน”เกิดได้จริง ต้องสนับสนุนการกำหนดนโยบาย กฎหมาย มาตรฐานการคัดแยกและจัดเก็บขยะให้เป็นระบบ กำหนดตัวชี้วัดและติดตามผล
กลไกรัฐต้องสร้างกฎระเบียบสนับสนุน ให้สิทธิประโยชน์ในการลงทุนและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยเฉพาะการรณรงค์ให้ใช้สินค้ากรีน ที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล หรือวัสดุชีวภาพ ที่มีกฎหมายระบุปริมาณชัดเจน
ที่สำคัญหน่วยงานภาครัฐควรนำร่องการจัดซื้อ จัดหาสินค้ากรีน ที่ส่งเสริมสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการยอมรับอย่างแพร่หลาย
3.เปลี่ยนข้อจำกัดเป็นโอกาส สู่พลังงานสะอาดและยั่งยืน

●ต้องขจัดอุปสรรคโดยเปิดเสรีการซื้อ-ขายไฟฟ้าพลังงานสะอาดด้วยระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ(Grid Modernization) เพื่อให้ภาครัฐและเอกชนใช้เครือข่ายไฟฟ้าร่วมกัน และโดยการลงทุนร่วมภาครัฐและเอกชน(PPP) ก็จะเป็นโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงพลังงานสะอาดสะดวกขึ้น

●สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่กับเก็บพลังงานสะอาด

●ใช้พื้นที่ว่างเปล่า เช่น หนองน้ำในพื้นที่ของหน่วยราชการ เช่นที่สระบุรีมีกว่า 100 แห่ง เป็นที่ติดตั้งแผงรับพลังแสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้า และใช้พื้นที่ว่างเปล่ากักเก็บพลังงานในรูปแบบต่างๆ เช่น พลังงานน้ำ พลังงานความร้อน พลังงานกล พลังงานเคมี

●พัฒนาพลังงานทดแทนใหม่ๆ และผลักดันให้อยู่ในแผนพลังงานชาติ เช่นพลังงานไฮโดรเจน พืชพลังงาน ขยะจากชุมชน ของเสียจากโรงงาน

●ปรับนโยบายและให้สิทธิประโยชน์ที่เอื้อต่อพลังงานสะอาด

●ส่งเสริมการใช้ข้อมูลBig Data เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง


4.เปลี่ยนผ่านสู่กติกา ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

ให้ความสนใจที่เน้นกลุ่มเปราะบางที่ยังไม่สามารถปรับตัวได้ เช่นธุรกิจขนาดย่อมหรือSME แรงงาน เกษตรกร และชุมชน โดยแบ่งกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบและจัดสรรความช่วยเหลืออย่างเหมาะสม

สร้างความตระหนักรู้ เข้าถึงเทคโนโลยีเพื่อการลดคาร์บอน ปัจจุบันมีแหล่งเงินทุนเพื่อสิ่งแวดล้อมโลก มีทุนมากถึง 52 ล้านล้านบาท ประเทศไทยก็ควรเร่งเข้าถึงกองทุนนี้ เพื่อขับเคลื่อนสังคมคาร์บอนต่ำให้เกิดขึ้นเป็นจริง


ข้อคิด…


ขณะนี้สังคมโลกกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงได้ผลกระทบจากวิกฤตการณ์ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างต่อเนื่องในทุกภูมิภาค

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกรวน ที่เกิดจากภาวะ “โลกร้อน”ตอนนี้กลายเป็น “โลกเดือด”

สาเหตุจากระบบการผลิตของมนุษย์มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจนเกิดภัยธรรมชาติสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินมหาศาล แล้วยังส่งผลกระทบถึงระบบการเกษตรและการดำรงอยู่ของสายพันธุ์สัตว์และพืช จนมีผลต่อความมั่นคงของระบบการผลิตอาหารอย่างน่าวิตก

รายงานความเสี่ยงของโรคประจำปี 2566 ของ World Econic Forum จึงใช้คำว่า “Polycrisis” เพื่อยืนยันถึงสภาวะ “วิกฤตหลายด้าน” ที่สังคมโลกกำลังเผชิญ

การตื่นตัวของภาคเอกชนที่มีการจัดสัมมนาเกี่ยวกับกลยุทธ์การพัฒนาที่ยั่งยืน อย่างถี่ยิบหลายสถาบัน แสดงถึงความตื่นตัวในเรื่อง ESG ซึ่งเป็นเข็มทิศหรือยุทธศาสตร์ โดยมี BCG เป็นยุทธวิธี ที่มุ่งไปสู่ 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG ) ที่ผู้นำรัฐบาลไทยไปร่วมลงนามเมื่อปี 2015 และปีนี้มาถึงครึ่งทางของเป้าหมาย แต่มีรายงานว่าความสำเร็จมีแค่ 12%

การประชุมสหประชาชาติเมื่อเร็วๆนี้ จึงร้อนใจที่จะต้องทบทวนและปรับกลยุทธ์ในการไปสู่เป้าหมาย เพื่อความอยู่รอดของมวลมนุษยชาติในโลกใบนี้ ซึ่งมีประเทศไทยอยู่ด้วย

ESG จึงดูเหมือนกฎกติกาของโลกยุคใหม่ นับวันจากมีกฎระเบียบที่เข้มงวดยิ่งขึ้น ทั้งวงการค้าและการลงทุน จึงจะเป็น “อุปสรรค”สำหรับกิจการที่ขาดคุณสมบัติ แต่จะเป็น “โอกาส”สำหรับองค์กรที่มีการปรับตัวให้มีความพร้อม

อย่างเช่นที่สหภาพยุโรปมีการออกกฎระเบียบ CBAM ให้ธุรกิจที่จะส่งสินค้าเข้าไปใน EU ตั้งแต่ 1 ต.ค.ปีนี้ ต้องเปิดเผยรายละเอียดกระบวนการผลิตว่าทำร้ายสิ่งแวดล้อมและปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับใด ต่อไปก็จะเสียภาษีเพิ่ม แล้วยังมีการเข้มงวดสินค้า 5 อุตสาหกรรม คือซีเมนต์ ปุ๋ย เหล็ก อลูมิเนียม และไฮโดรเจนซึ่งต่อไปจะมีรายชื่อเพิ่มขึ้นอีก

ขณะที่ SCG ก็ไม่ท้อถอย มีการวิจัยและพัฒนาการได้สูตรผลิตปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำ โดยลดใช้ถ่านหินและปรับส่วนผสมบางอย่าง จนเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก และได้ชวนบริษัทปูนทั้ง 7 แห่งในสระบุรีปรับกระบวนการผลิตในแนวทางนี้

ดังนั้นข้อเสนอ ต่อนายกนายกรัฐมนตรีหัวหน้ารัฐบาลปัจจุบัน จึงไม่ควรแค่การชื่นชมให้กำลังใจ แต่หวังว่าจะได้มีการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกลไกของราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะกลายเป็นผลงานและคะแนนเสียงในแง่การเมือง


นอกจากจะเป็นผลดีตามเป้าหมายของสหประชาชาติ ก็เป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจและสังคมไทย ในยุคปัจจุบันจำเป็นต้องดูแลสิ่งแวดล้อมด้วย มิฉะนั้นก็จะได้รับผลกระทบสะท้อนกลับจากการทำร้ายธรรมชาติ

suwatmgr@gmail.com


กำลังโหลดความคิดเห็น