xs
xsm
sm
md
lg

บทบาทเชิงรุกสถาบันเพิ่มผลผลิตฯ หนุนแนวทางสร้าง “ผลิตภาพ”ที่ยั่งยืน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


 นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
มิติใหม่สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ (FTPI) เริ่มแล้ว ในฐานะองค์กรหลักของประเทศที่ส่งเสริม “ผลิตภาพ“ (Productivity) เพื่อยกระดับองค์กรและนักบริหารให้มีความสามารถในการแข่งขัน พร้อมก้าวสู่การเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูง จึงมุ่งปลูกฝังวิธีคิดที่คำนึงถึงผลิตภาพ (Productivity Mindset) ในแนวการพัฒนาอย่างยั่งยืน

นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์พิเศษ Green Innovation & SD สื่อในเครือผู้จัดการถึงมิติใหม่ของสถาบันเพิ่มผลผลิตเเห่งชาติ ดังนี้ อยากปลูกฝัง ชุดความคิด มุ่งมั่นการมีผลิตภัณฑ์ (Productivity mindset)ในการดำเนินชีวิตและการทำงานของคนทุกวงการที่เริ่มจากระดับเยาวชน

1. บทบาท ผู้อำนวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ เนื่องจากเราเป็นองค์กรแห่งชาติ ที่มีภารกิจหลักในการส่งเสริมองค์กรภาครัฐและเอกชนให้เพิ่ม “ผลิตภาพ”(Productivity) หรือความสามารถในการผลิตที่มีคุณภาพและประสิทธิผล เพื่อยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันขององค์กรและบุคลากรไทย พร้อมก้าวไปสู่การเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูงด้วยกระบวนการทำงานที่มีผลิตภาพ

“ตลอดระยะเวลาเกือบ 30 ปี สถาบันได้สั่งสมองค์ความรู้ความเชี่ยวชาญต่างๆ ไว้มากมาย ซึ่งถูกกลั่นกรองออกมาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการ ทั้งการให้คำปรึกษา การฝึกอบรม การวิจัย ตลอดจนความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนทางวิชาการกับเครือข่ายระหว่างประเทศ “ในฐานะผู้นำจึงต้องผลักดันสิ่งเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์และถึงมือองค์กรไทยให้ดีที่สุด ขณะเดียวกันสถาบันก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับจังหวะการเปลี่ยนไปของโลกที่มีโจทย์ใหม่เกิดขึ้นมาเสมอ ได้แก่

1. ปรับวิสัยทัศน์ และเพิ่มพันธกิจ
2. ขยายโอกาสการเข้าถึงผลิตภาพ
3. พัฒนาผลิตภัณฑ์-บริการ ขยายความร่วมมือ และริเริ่มรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ
4. ปรับโครงสร้าง เพิ่มผู้เชี่ยวชาญ และ ผู้ทรงคุณวุฒิ
5. สร้างเครื่องมือเฉพาะ (Signature Tool) ของสถาบัน

2. วิสัยทัศน์ “ผลิตภาพนิยามใหม่ สู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน” Redefining Productivity for Sustainable Success ผู้บริหารและบุคลากรของสถาบัน ต่างก็ยึดมั่นในภารกิจส่งเสริมผลิตภาพเสมอมา แต่โลกในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงมากมายที่ส่งผลกระทบธุรกิจ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ทำให้สถาบันต้องทำการบ้านหนักขึ้น นอกจากการปรับกลยุทธ์ สร้างร่วมมือพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเสริมมุมมองใหม่ๆในการดำเนินงานแล้ว เป้าหมายสำคัญคือการหา solutions ที่เหมาะสม

เพื่อช่วยเหลือและเสริมศักยภาพขององค์กรไทย ทั้งขนาดเล็กหรือใหญ่ เพื่อเพิ่ม “ผลิตภาพในนิยามใหม่” ซึ่งนิยามขอบเขตของผลิตภาพกว้างขึ้น ครอบคลุมขึ้นและพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์และบริการเดิมที่มีอยู่ มาประยุกต์ให้ทันสมัยตอบโจทย์ตามสถานการณ์และเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้างความสำเร็จอย่างยั่งยืนของบุคลากรและองค์กร

รวมไปถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ให้สอดรับกับวิสัยทัศน์และเป้าหมายสำคัญ คือต้องสามารถสร้างความสำเร็จที่ยั่งยืนให้แก่องค์กรธุรกิจไทยอย่างครอบคลุม ทั้งมิติทางเศรษฐกิจ สังคม หรือ สิ่งแวดล้อม จึงต้องปลูกฝัง Productivity Mindset ให้กับคนไทยทุกคน

ผู้อำนวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตเเห่งชาติจึงนำเสนอวิธีการเพิ่มผลิตภาพในตัวบุคคลผ่านวิธีคิด Productivity Mindset = เพิ่มผลิตภาพ 

ด้วยกระบวนการ 7Cs คือ สูตรการ “เพิ่มผลเลิศ”
1.Create เพิ่มผลลัพธ์ จากกระบวนการเดิม ให้หามุมมองใหม่ วิธีสร้างสรรค์ใหม่ นวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาช่วย
2.Connect เพิ่มความสำเร็จร่วมกัน เชื่อมโยงให้เกิดพันธะที่แข็งแรง
3.Cooperate เพิ่มความร่วมมือ เป็นเครือข่ายความสำเร็จวงกว้าง และผลักดันผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น
4.Continuous Improvement เพิ่มการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง พัฒนาความสำเร็จ สม่ำเสมอ เริ่มจาก Small win >Big win 
5.Communicate เพิ่มการสื่อสารความเข้าใจ ด้วยความสร้างสรรค์ และมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน
6.Contribute เพิ่มการแบ่งปัน สำเร็จเพียงลำพัง ยังไม่พอ ต้องแบ่งปันความรู้ ความคิด ประสบการณ์ สร้างมิตรภาพและความสำเร็จไปด้วยกัน
7.Care เพิ่มการใส่ใจ หัวใจหลักของความสำเร็จที่ยั่งยืน จากจุดเริ่มต้นในจิตใจของคน ขยายเป็นทีม เป็นองค์กร เป็นเครือข่าย เป็นสังคม เป็นสิ่งแวดล้อม เป็นประเทศ เป็นโลกของเรา

แนวคิด 7Cs นี้ก็จะเป็นพื้นฐาน การปฏิบัติ โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียนหรือเยาวชนที่ได้รับการเรียนรู้ให้เข้าใจแ
นวคิดด้านผลิตภาพตั้งแต่วัยเด็ก ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างหลากหลาย เพื่อที่จะเติบโตเป็นวัยทำงานที่มีความพร้อมที่จะก้าวสู่เส้นทางแห่งการเติบโตต่อไปอย่างมีผลิตภาพคือมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ได้เป็นฟันเฟืองสำคัญของประเทศต่อไป

จากแผนขยายผลการเพิ่มผลิตภาพให้มีความครอบคลุมมากขึ้น จึงได้ทำบันทึกความร่วมมือ MOU กับหลายหน่วยงานเพื่อสร้างความสำเร็จให้สอดคล้องไปกับพันธกิจและเป้าหมายขององค์กรร่วมกัน ซึ่งแบ่งได้ 3 กลุ่ม
1. กลุ่มการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น (TNI)
2. กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) หรือ OKMD สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA
3. องค์กรระหว่างประเทศ MESSE FRANKFURT Benovation Diplomatic Council Gen Thailand

นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือในแบบพันธมิตรกัน อย่างสมาคมผู้ประกอบการของไทย ในวงการต่างๆ หรือเอกชน ในทุกๆภาคอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
 

3. ก้าวต่อไปของสถาบัน ใน 3 มุมมอง จากการประกาศจุดยืน และสร้างความร่วมมือ ระดับประเทศในการผลักดันให้เกิดผลิตภาพและความยั่งยืน(Productivity & Sustainability) ควบคู่กันไป ในงานสัมมนาที่ สำนักงานสหประชาชาติ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2566 มีการกล่าวถึงการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล เข้ามาสนับสนุนการสร้างผลิตภาพ ควบคู่ไปกับการสร้างความยั่งยืน ให้มีสุขภาวะของคน สังคม และสิ่งแวดล้อมเป็นเป้าหมาย สามารถเกิดขึ้นทั้งในภาคอุตสาหกรรมและการเกษตร ความสำเร็จที่ยั่งยืนที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)ของสหประชาชาตินั้น สถาบันเพิ่มฯจะออกแบบหลักสูตร สร้างวิทยากร ที่ปรึกษา เชื่อมหลักสูตรความรู้กับองค์กรต่างๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีต่อระบบการบริหารที่คำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม


กำลังโหลดความคิดเห็น