xs
xsm
sm
md
lg

“เลนซิ่ง” หนุนสร้างนวัตกรรมแฟชั่นเพื่อทรัพยากรน้ำตามกรอบ SDGs

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



วงการแฟชั่นเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่พยายามแสดงความรับผิดชอบต่อการใช้น้ำในกระบวนการผลิตที่มากถึง 79 ล้านล้านลิตรต่อปี ส่งผลให้เกิดมลพิษทางน้ำทั่วโลกถึง 20% แต่จากการพัฒนานวัตกรรมด้านแฟชั่นที่สามารถช่วยลดการใช้ทรัพยากรน้ำตามเป้าหมายน้ำของ SDG 6 “เลนซิ่ง กรุ๊ป” (Lenzing) คือหนึ่งในผู้ผลิตชั้นนำระดับโลกด้านเส้นใยชนิดพิเศษที่ทำจากไม้ที่ใส่ใจ ให้คำมั่น และตั้งเป้าหมาย

หนึ่งในโปรแกรมที่ว่านี้ คือ Conscious Fashion and Lifestyle Network ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ขององค์การสหประชาชาติ (UN) ที่จัดขึ้นสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรม สื่อ รัฐบาล และหน่วยงานในระบบสหประชาชาติ โดยเครือข่ายจัดแสดงและส่งเสริมความร่วมมือที่ช่วยเร่งการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

จากผลกระทบสำคัญของภาคแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เครือข่าย Conscious Fashion and Lifestyle Network จึงส่งเสริมการมีส่วนร่วมที่โปร่งใส ครอบคลุม และเปลี่ยนแปลงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั่วโลกเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการเร่งด่วนเพื่อบรรลุเป้าหมายความยั่งยืน ทั้งยังเป็นเวทีที่เป็นกลางสำหรับอุตสาหกรรมและสหประชาชาติ ที่ระดมความเชี่ยวชาญ นวัตกรรม เทคโนโลยี และทรัพยากรไปสู่การฟื้นฟูที่ยั่งยืนและครอบคลุม


บริษัทที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมแฟชั่น และเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน คือบริษัท เลนซิ่ง ( Lenzing) ที่ให้คำมั่นว่าจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนโดยเฉพาะ 50% ภายในปี 2030 และกลายเป็นศูนย์ภายในปี 2050 โดยแบรนด์ TENCEL™ ของ Lenzing ได้พัฒนาเส้นใยแบบยั่งยืนใช้กับแบรนด์หลัก 3 แบรนด์ คือ TENCEL™ Modal และ Lyocell โดย Tencel เป็นแบรนด์หลักที่นำให้เป็นศูนย์ของการปล่อยคาร์บอน ด้วยการนำเสนอเส้นใยใหม่นี้อิงตามแนวคิด "ลด" Reduce "มีส่วนร่วม" Participate และ "ออฟเซ็ต" Offset ซึ่งสร้างสินค้าที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของผลิตภัณฑ์ มีส่วนร่วมกับพันธมิตรในอุตสาหกรรม และชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

นับตั้งแต่ปี 2018 Lenzing ได้ลงนามในกฎบัตรอุตสาหกรรมแฟชั่นแห่งสหประชาชาติเพื่อการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ โดยมุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงอย่างมาก และบรรลุการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 และแผนการลงทุนมูลค่า 100 ล้านยูโร เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั้งภายในขอบเขตการดำเนินงาน (ขอบเขต 1+2) และในห่วงโซ่อุปทาน (ขอบเขต 3)

ทั้งนี้ เส้นใย TENCEL™ Lyocell สกัดจากไม้ที่ปลูกอย่างยั่งยืน และนำตัวทำละลายที่ใช้ในวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม่ ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการผลิต ทั้งยังมีความเหนียวแน่นสูง จัดการกับความชื้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอ่อนโยนต่อผิว

ส่วนเส้นใย Model Tencel มีคุณสมบัติด้านความยืดหยุ่นสูงสิ่งทอที่ส่งมอบจึงมีคุณภาพการใช้งานยาวนาน ซักซ้ำได้ยาวขึ้นโดยยังคงให้สัมผัสที่นุ่มนวล

และเส้นใย Lyocell เป็นเทคนิคที่เพิ่มความสามารถในการผลิตเส้นใยยาวที่มีความละเอียดสูงมาก เหมาะกับการใช้ผลิตผ้าที่หรูหรา เรียบเนียน สีสันสดใส และพลิ้วไหวเหมือนของเหลว


แบรนด์ TENCEL กลายเป็นกลุ่มสิ่งทอที่ใช้โซลูชันใหม่ในงานที่ซับซ้อนสูงผ่านเส้นใยคุณสมบัติพิเศษ และเป็นกลางด้านคาร์บอนที่ทำให้การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์มาจากการลดทั้งการปล่อยก๊าซคาร์บอนและการใช้พลังงานอีกด้วย ทำให้โซลูชันที่สร้างขึ้นบรรลุเป้าหมายการลดคาร์บอนและผู้บริโภคด้วยผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน โดยรวมแล้วอุตสาหกรรมสามารถต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้

จุดเด่นที่ชัดเจนของ TENCEL LYOCELL คือ เส้นใยรูปแบบใหม่นี้ ร่วมกับเทคโนโลยี REFIBRA นำมาใช้ผ่านวิธีการย้อมแบบใหม่ที่ประหยัดทรัพยากรน้ำและพลังงานที่ต้องการ โดยสามารถสร้างความสวยงามแบบซักล้างได้เหมือนเดิม เพียงไม่ต้องผ่านกระบวนการฟอกย้อมและฟอกผ้าเดนิมที่ใช้ทรัพยากรแบบเข้มข้นและสิ้นเปลืองอีกต่อไป รวมทั้งผ่านกระบวนการเพียงรอบเดียวช่วยลดการใช้น้ำ พลังงานและสารเคมีได้มากถึง 40–90%

ดังกล่าวนี้ทำให้ Lenzing กลายเป็นผู้ผลิตชั้นนำระดับโลกด้านเส้นใยชนิดพิเศษที่ทำจากไม้ เนื่องจาก

ประการแรก ช่วยรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อมโดยการรวมกับวัฏจักรของธรรมชาติจากเส้นใยจากไม้ วัตถุดิบหมุนเวียนที่สร้างขึ้นโดยการสังเคราะห์ด้วยแสง บริษัทฯ จึงสร้างสรรค์เส้นใยชีวภาพที่ผ่านการรับรองที่ผลิตขึ้นด้วยกระบวนการที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เส้นใยได้รับการรับรองว่าสามารถย่อยสลายได้หรือย่อยสลายได้ทางชีวภาพ จนสามารถกลับคืนธรรมชาติอย่างเต็มที่

ประการที่สอง แผนดำเนินงานที่กล่าวมาของบริษัท Lenzing ในส่วนของคาร์บอนฟูตพรินต์รองรับได้ทั้ง 3 ส่วนคือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขตที่ 1 ครอบคลุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรงทั้งหมดจากกิจกรรมของบริษัทหรือกิจกรรมภายใต้การควบคุมของบริษัท รวมถึงการเผาไหม้เชื้อเพลิง ณ สถานที่ปฏิบัติงาน การปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขตที่ 2 ครอบคลุมการปล่อยก๊าซทางอ้อมจากไฟฟ้าและความร้อนที่บริษัทซื้อและใช้ และการปล่อยก๊าซขอบเขตที่ 3 หมายถึงการปล่อยก๊าซทางอ้อมอื่นๆ ทั้งหมดจากกิจกรรมขององค์กรที่เกิดขึ้นจากแหล่งที่มาที่ไม่ได้เป็นเจ้าของหรือควบคุม และครอบคลุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่คุณค่า

ประการที่สาม เป้าหมายในอนาคตของการดำเนินโครงการ/กิจกรรมคือ True Carbon Zero เกี่ยวข้องกับ 3 ด้าน ได้แก่
• เป้าหมายด้านการลด บริษัทมีเป้าหมายที่จะปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 ผ่านการผลิตที่มีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีใหม่ และแหล่งพลังงานหมุนเวียน
• เป้าหมายด้านการมีส่วนร่วม ในฐานะผู้ผลิตเส้นใยเซลลูโลสรายแรกที่มุ่งมั่นในโครงการริเริ่ม Science-Based Targets เป็นผู้นำที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมให้เปลี่ยนแปลง โดยการปรับความโปร่งใสของข้อมูลให้เป็นมาตรฐาน และทำงานเฉพาะกับแบรนด์ที่สะท้อนค่านิยมในการนำแนวปฏิบัติที่เป็นกลางทางคาร์บอนมาใช้ตั้งแต่ต้นจนจบ
• เป้าหมายด้านความร่วมมือแบบบุกเบิกของบริษัทกับ TextileGenesis™ ช่วยให้มั่นใจในการตรวจสอบย้อนกลับแบบดิจิทัลของเส้นใย TENCEL™ และความโปร่งใสที่ไม่มีใครเทียบได้ ตั้งแต่เส้นใยไปจนถึงเสื้อผ้าสำเร็จรูป ควบคู่กับการรับผิดชอบต่อการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่ยังไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ผ่านโครงการปกป้องสภาพภูมิอากาศที่ได้รับการตรวจสอบแล้ว


กำลังโหลดความคิดเห็น