สถาบันเพิ่มผลผลิตเเห่งชาติ (FTPI) ได้จัดงานสัมมนาระดับนานาชาติ ภายใต้หัวข้อ “GLOBAL SUSTAINABILITY &PRODUCTIVITY NETWORK (GSPN) DIALOGUE” เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมสำนักงานองค์การสหประชาชาติ กรุงเทพ มีคณะฑูตกว่า 25 ประเทศ รวมทั้งผู้บริหารองค์กร นักวิชาการ ผู้ประกอบการ และผู้สนใจกว่า 140 คนที่เข้าร่วมงาน พร้อมกับมีผู้เข้าชมอย่างกว้างขวางทางระบบ Facebook
ทั้งนี้ โดยคาดหวังให้เกิดมิติการจัดการของผู้นำระดับรัฐและเอกชน ให้มีการพัฒนาผลิตภาพ(Productivity) ของทรัพยากรมนุษย์ เพื่อผลักดันให้เกิดการเพิ่มความสามารถในการผลิตด้วยสำนึกที่ดีต่อสังคมและสิ่งเเวดล้อม ตามแนวทางของ ESG
สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนร่วมกันในระดับสากล
สุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ (FTPI) กล่าวว่า ในปัจจุบันเรากำลังเผชิญกับการทำงานภายใต้ภาวะที่กดดันและท้าทายเป็นอย่างมาก เพราะปรากฏการณ์วิกฤติทางภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากธุรกิจ
อุตสาหกรรมของมนุษย์ ไม่ใช่เเค่ ภาวะโลกร้อน (Global Warming) แต่เป็น “ภาวะโลกเดือด” (Global Boiling) ตามที่เลขาธิการสหประชาชาติแถลง ซึ่งมิได้ส่งผลเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจอีกด้วย
ดังนั้น หากภาคธุรกิจไม่ร่วมมือหรือเร่งมือหามาตราการแก้ไขเพื่อลดสาเหตุของปัญหาดังกล่าว ก็อาจยิ่งซ้ำเติมทำให้เกิดความเสียหายต่อธุรกิจและกระทบความเป็นอยู่ของมนุษยชาติเป็นอย่างมาก
การเสวนา GSPN Dialogue ครั้งนี้จึงเป็นเวทีให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้หารือกันเกี่ยวกับบทบาทของการเพิ่มผลิตภาพ เพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เเละสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญของคุณภาพและประสิทธิภาพที่มีผลต่อการเติบโตและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เพื่อหาแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดหรือแนวทางการเพิ่มผลิตภาพในมิติต่างๆ ทั้งในด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ด้วยการยกระดับสมรรถนะของบุคลากร และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางปฏิบัติ เพื่อการยกระดับผลิตภาพตามมาตราฐานโลก โดยร่วมมือกันผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจ นวัตกรรม และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
นี่จึงเป็นการตอกย้ำเป้าหมายของ FTPI ซึ่งเป็นองค์กรหลักในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างสมดุลและยั่งยืนด้วยแนวทาง ESG อันเป็น 3 เครื่องยนต์ของการขับเคลื่อนองค์กรที่มุ่งบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) สอดคล้องกับพันธกิจหลักของ FTPI ที่ประกอบด้วย 1. สร้างความสามารถ ให้บุคลากร และองค์กร 2. ยกระดับผลิตภาพของธุรกิจ 3.สร้างความเข้มแข็งด้วยระบบนวัตกรรม 4.สร้างความเชื่อถือในผลิตภัณฑ์ และบริการของไทยด้วยคุณภาพ 5.มีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนของประเทศไทยผ่านการเพิ่มผลิตภาพ