xs
xsm
sm
md
lg

“บ้านปู เพาเวอร์” ตอกย้ำการใช้หลักความยั่งยืน ESG เป็นยุทธศาสตร์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กลุ่มบริษัท บ้านปู ยกระดับการเป็นองค์กรที่ยั่งยืน ด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการ ESG ขึ้นเมื่อปี 2565 เช่นเดียวกับ BPP ที่จัดตั้งคณะกรรมการ ESG เมื่อเดือนมีนาคม 2566 ซึ่งตอกย้ำการใช้หลักความยั่งยืน ESG เป็นยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนธุรกิจ ตามแนวทาง “Triple E”

กลุ่มบริษัท บ้านปู นำหลักคิดเรื่อง ESG (environment, social, และ governance) รวมถึง Sustainable Development Goals หรือ SDGs ของสหประชาชาติ (UN) มาใช้ดำเนินการเปลี่ยนผ่าน (transform) องค์กร ไปสู่องค์กรแห่งการเติบโตที่ยั่งยืน รวมถึงบริษัทในกลุ่ม อย่างบริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP โดยมีการพัฒนาและปรับปรุงมาอย่างต่อเนื่อง

นายกิรณ ลิมปพยอม และ ดร.พัชณิตา ธรรมยงค์กิจ
นายกิรณ ลิมปพยอม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP เปิดเผยว่า ในฐานะ BPP เป็นผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าคุณภาพระดับสากล ยึดมั่นในการส่งมอบพลังงานที่ยั่งยืน ภายใต้แนวคิด “Powering Energy Sustainability with Quality Megawatts” (มุ่งสร้างความยั่งยืนด้านพลังงานด้วยเมกะวัตต์คุณภาพ) โดยมุ่งขับเคลื่อนธุรกิจตามแนวทาง “Triple E” สู่เป้าหมายในการเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้า 5,300 เมกะวัตต์ ภายในปี 2568 พร้อมสร้างผลตอบแทนที่ดีอย่างสม่ำเสมอ และสร้างคุณค่าแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

แนวทาง “Triple E” นั้น ประกอบด้วย 1. Ecosystem มุ่งสร้างเมกะวัตต์คุณภาพด้วยสมดุลของพอร์ตธุรกิจทั้งจากพลังงานความร้อน และพลังงานหมุนเวียน 2. Excellence ความสามารถในการปรับตัวท่ามกลางความท้าทายของสถานการณ์พลังงานโลกที่มีความผันผวน 3. ESG การดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับหลักความยั่งยืน โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (environmental, social and governance หรือ ESG) ควบคู่ไปกับการเป็นพลเมืองดีในทุกประเทศที่เข้าไปดำเนินธุรกิจ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนและชุมชน

“BPP ต้องการจะ position บริษัทผ่านคณะกรรมการ ESG ว่า พอร์ตของ BPP มีความสมดุล สามารถสร้างทั้งผลตอบแทนการลงทุนและความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ ด้วยวิสัยทัศน์ที่ว่า ทุกประเทศยังมีความต้องการโรงไฟฟ้าพื้นฐานในการผลิตไฟฟ้าเพื่อเป็นพื้นฐานหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศนั้นๆ โดยโรงไฟฟ้าพื้นฐานจำเป็นที่จะต้องมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย และมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจระดับหนึ่ง ไม่เช่นนั้นจะไม่เกิดแรงจูงใจในการลงทุนจากภาคเอกชน”

“บริษัทเชื่อว่า การดำเนินธุรกิจที่ดีต้องสอดคล้องกับหลักความยั่งยืน ไม่ว่าจะเรื่องการดูผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (E) แม้จะหาความมั่นคงด้านพลังงานในประเทศที่เราไปลงทุน แต่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมก็ต้องได้รับการพิจารณา ผลกระทบต่อด้านสังคม (S) ก็จำเป็น ไม่ใช่เข้าไปลงทุนแล้วสร้างปัญหาสังคมให้กับประเทศที่เราลงทุน ขณะที่การมีธรรมาภิบาล (G) การบริหารจัดการให้บริษัทมีความโปร่งใสก็มีความสำคัญ”

ดังนั้นทิศทางของ ESG ต่อจากนี้ไปจะเป็นกระบวนการทำงานปกติของบริษัท เป็นข้อพิจารณาปกติในเรื่องของการลงทุน ที่ผ่านมา จะมีเอกสารเสนอการลงทุนจำนวนมาก หลายโครงการมีผลตอบแทนทางการเงิน (financial return) ดีมาก ถ้าไม่มีหลักการ ESG ก็จะดูแต่ financial return อย่างเดียว แต่เวลานี้ ESG ได้มาเป็นกระบวนการปกติในการพิจารณาการลงทุน เป็นปัจจัยหนึ่งในการพิจารณา นอกจากนี้ ในการต่อยอดธุรกิจ BPP ในอนาคต จะใช้หลักการ ESG เป็นพื้นฐานทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นนโยบายการลงทุน ที่ต้องเอาเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ climate change มาดู โดยเฉพาะเรื่องการกำกับกิจการที่ดี ที่จะต้องมีการเปิดเผยการทำธุรกิจของเรา โดยอ้างอิงความน่าเชื่อถือจากองค์กรภายนอก เพื่อให้มีความมั่นใจว่าธุรกิจของเรามีมาตรฐาน ESG ในระดับสากล

ขณะเดียวกัน เรื่อง ESG เป็นยุทธศาสตร์ที่องค์กรระดับสากลและระดับชาติให้ความสนใจ และโดย BPP ได้รับการประเมินจากองค์กรระดับชาติและระดับสากล ว่า มีมาตรฐานด้าน ESG ในระดับที่น่าพอใจ ทำให้ได้รับผลตอบรับจากนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายย่อยที่น่าพอใจ เพราะปัจจุบันนักลงทุนให้ความสำคัญ ESG มาก และจะลงทุนเฉพาะบริษัทที่ได้รับการยอมรับเรื่อง ESG เท่านั้น นี่คือแนวโน้มระดับโลก อีกตัวอย่างหนึ่ง BPP ทำธุรกิจขายไฟฟ้าในรัฐเท็กซัส สหรัฐฯ มีคนยอมจ่ายค่าไฟแพงขึ้นเพื่อบอกว่า อยากได้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนเท่านั้น คือมีความตระหนักในเรื่องนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ประเทศไทยก็กำลังไปในทิศทางนั้น

คณะกก. ESG เป็นการปรับตัวให้ทันปัจจัยผันผวนจากภายนอก


ดร.พัชณิตา ธรรมยงค์กิจ ประธานคณะกรรมการสิ่งเเวดล้อม สังคม เเละการกำกับดูเเลกิจการ (ESG) ของ BPP หนึ่งในคณะกรรมการ ESG กล่าวว่าการจัดตั้งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (Environmental, Social and Governance: ESG) ของ BPP เป็นการปรับตัวของธุรกิจให้ทันต่อปัญหาความผันผวนของปัจจัยภายนอก ทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากร เเละความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยคณะกรรมการ ESG มีหน้าที่ส่งเสริมให้ธุรกิจเติบโตในทิศทางที่สอดคล้องกับการพัฒนาองค์ประกอบในห่วงโซ่คุณค่าของกิจการ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอนาคต

“คณะกรรมการ ESG เพื่อดูนโยบาย ทิศทางและเป้าหมาย ให้เป็นไปตามทางที่ควรจะเป็น แต่ก็ยังอยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม และมีการปรับเปลี่ยนแผนตลอดเวลา คือมีความต่อเนื่อง และ dynamic เพราะการลงทุนของ BPPครอบคลุมใน 8 ประเทศ ซึ่งแต่ละประเทศมีโครงสร้างพื้นฐาน นโยบาย และความคาดหวังของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ที่จะต้องบริหารจัดการไปพร้อมกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย การสร้างสมดุลจึงเป็นสิ่งสำคัญ”

สำหรับรายชื่อคณะกรรมการ ESG ประกอบด้วย ศาสตราจารย์ ดร.พัชณิตา ธรรมยงค์กิจ ประธานคณะกรรมการ นายหยกพร ตันติเศวตรัตน์ เเละนายกิจจา ศรีพัฑฒางกุระ กรรมการ เป็นผู้ร่วมกำหนดทิศทาง นโยบาย ติดตาม และตรวจสอบการบริหารความเสี่ยงและผลการดำเนินงานด้าน ESG สร้างความมั่นใจแก่นักลงทุน

ทั้งนี้บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ ESG ประกอบด้วย

1. ร่วมกำหนดทิศทางและนโยบาย ESG ของบริษัทฯ ให้มีความเหมาะสม เพื่อนำพาองค์กรให้บรรลุเป้าหมาย พร้อมขับเคลื่อนอนาคตแห่งการส่งมอบพลังงานไฟฟ้าอย่างยั่งยืนได้สำเร็จ

2. ติดตามและตรวจสอบการบริหารความเสี่ยงด้าน ESG ที่สำคัญ และเสริมสร้างกลยุทธ์สู่ความยั่งยืน

3. ติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานด้าน ESG ให้ตอบโจทย์ผู้มีส่วนได้เสียและสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ลงทุน เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นและความร่วมมือจากนักลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม


กำลังโหลดความคิดเห็น