xs
xsm
sm
md
lg

ศศินทร์ จุฬาฯ ชูนโยบาย IDEALS หนุนความหลากหลายและการมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียม เพื่อองค์กรและธุรกิจที่ยั่งยืน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ศศินทร์ จุฬาฯ พร้อมเป็นศูนย์กลางนโยบาย DEI (Diversity, Equity, Inclusion) เปิดตัวนโยบาย “IDEALS” สร้างวัฒนธรรมยอมรับความหลากหลายและการมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมและเสมอภาคในองค์กร ผนึกกำลังกับ Steps ตั้ง Neurodiversity at Work Research Center (NWRC) ศูนย์วิจัยแห่งแรกในประเทศไทย มุ่งเสริมศักยภาพและโอกาสให้บุคคลที่มีความแตกต่างทางการรับรู้ เข้าถึงงานเพื่อร่วมสร้างสังคมธุรกิจที่ยั่งยืน

งานวิจัยหนึ่งของ World Economic Forum ปี 2563 ระบุสถิติที่น่าสนใจว่าบริษัทที่มีนโยบายไม่แบ่งแยก (Inclusion) โดยเฉลี่ยจะมีรายได้สูงขึ้น 28% มีอัตรากำไรที่สูงขึ้น 30% และมีผลตอบแทนรวมของผู้ถือหุ้นมากกว่า 2 เท่า สอดคล้องกับ Harvard Business Review ในปี 2562 ที่รายงานว่าสถานที่ทำงานที่ไม่แบ่งแยก และทำให้พนักงานรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรได้ พนักงานจะมีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้นถึง 56% และมีอัตราการลาออกลดลง 50%

สถิติดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าการให้ความสำคัญกับความไม่แบ่งแยกและการมีส่วนร่วมของผู้คนในองค์กร เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับองค์กรและธุรกิจที่จะเติบโตอย่างยั่งยืน การมีส่วนร่วมอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม หรือการไม่แบ่งแยกเป็นแนวคิดอุดมคติ หรือเป็นแนวทางที่ปฏิบัติได้? และจะทำให้เกิดขึ้นจริงได้อย่างไร?

สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันสอนบริหารธุรกิจ (MBA) ภายใต้การนำของ ศ.ดร.เอียน เฟนวิค ผู้อำนวยการศศินทร์ พยายามหาคำตอบนั้น โดยล่าสุด ได้ประกาศใช้นโยบายสนับสนุนความหลากหลายและการมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมและความเสมอภาค โดยใช้ชื่อว่า IDEALS ซึ่งหมายถึง Inclusion (การมีส่วนร่วม) Diversity (ความหลากหลาย) Equity (ความเสมอภาค) และ Access to Learning (การเข้าถึงการเรียนรู้) at Sasin (ที่ศศินทร์)

“เราริเริ่มนโยบาย IDEALS ด้วยความตั้งใจที่จะสร้างสภาพแวดล้อมที่ยอมรับความแตกต่างของผู้คน และส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียมและความเสมอภาคให้มากขึ้นในอนาคต”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดรูว์ บี.มัลลอรี่ ผู้อำนวยการด้านงานวิจัย ศูนย์วิจัยด้านความหลากหลายทางการรับรู้ในสถานที่ทำงาน (NWRC), Inclusion Ambassador และอาจารย์ศศินทร์ จุฬาฯ กล่าวถึงความตั้งใจในการสร้างวัฒนธรรมที่สนับสนุนความหลากหลาย ความเสมอภาค และการมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียม (Diversity Equity and Inclusion (DEI) ในสถาบัน เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับภาคธุรกิจและองค์กรต่างๆ

ทั้งนี้ ศศินทร์ตั้งเป้าการศึกษาวิจัยและทดลองปฏิบัติการนโยบาย IDEALS เพื่อ “การมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียม” ในกรอบระยะ 5 ปี นับจากปี 2566 นี้เป็นต้นไป

“การสร้างนโยบายที่รับผิดชอบต่อทุกคน ให้ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้ สร้างการมีส่วนร่วม และปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียม มีความสำคัญมากสำหรับทุกองค์กร ในฐานะสถาบันการศึกษา ศศินทร์ตั้งใจให้นโยบายนี้เป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ที่จะติดตัวทุกคน ทั้งนิสิตและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ของศศินทร์ เมื่อนิสิตเรียนจบและออกไปทำธุรกิจ ทุกคนจะสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากนโยบาย IDEALS ไปใช้ในการบริหารองค์กร และแก้ปัญหาในวงกว้างได้ ในฐานะผู้นำชั้นแนวหน้าของประเทศ”

ทุกคนคือคนสำคัญในนโยบาย IDEALS อาจารย์ดรูว์ กล่าวว่า เดิมที ศศินทร์ไม่ได้มีแผนปฏิบัติการที่เจาะจงในการดำเนินนโยบาย IDEALS แต่ใช้วิธีการที่คล้ายกับการทำแผนธุรกิจ มีการสำรวจกรณีศึกษาภายในองค์กรว่ามีความเข้าใจเกี่ยวกับความหลากหลาย (Diversity) มากน้อยเพียงใด รวมถึงมีการตรวจสอบนโยบายภายในองค์กรเพื่อดูว่านโยบายนั้น “รวม” หรือ “ไม่รวม”

๐ ใครหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจหรือไม่

ที่สำคัญ ศศินทร์ศึกษาความต้องการของบุคลากรทั้งหมดในองค์กร โดยให้ความสำคัญกับความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างภายนอก เช่น สีผิว ภูมิหลังทางเชื้อชาติ ศาสนา หรือแม้กระทั่งสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้ ยังเจาะลึกลงไปในเรื่องของประสบการณ์สำคัญในชีวิตของแต่ละคน การฝึกฝนตนเอง ตลอดจนถึงความเชื่อ ทั้งที่เผยออกมาอย่างชัดเจนและที่แอบซ่อนไว้ ซึ่งจะเผยออกมาเมื่อมีกระบวนการพูดคุยสอบถาม

“ที่ศศินทร์ เราภูมิใจในความแตกต่างและหลากหลายภายในสถาบัน ตั้งแต่คณาจารย์ นิสิต นิสิตเก่าและบุคลากร ความเห็นอันหลากหลายของทุกคนจะนำมาสร้างแนวทางตามนโยบาย IDEALS ให้เกิดขึ้นได้จริง ไม่ใช่เพียงแนวคิดอุดมคติ”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดรูว์ บี.มัลลอรี่ ผู้อำนวยการด้านงานวิจัย ศูนย์วิจัยด้านความหลากหลายทางการรับรู้ในสถานที่ทำงาน (NWRC), Inclusion Ambassador และอาจารย์ศศินทร์ จุฬาฯ
๐ ทุกคนคือคนสำคัญในนโยบาย IDEALS

อาจารย์ดรูว์ กล่าวว่าเดิมที ศศินทร์ไม่ได้มีแผนปฏิบัติการที่เจาะจงในการดำเนินนโยบาย IDEALS
แต่ใช้วิธีการที่คล้ายกับการทำแผนธุรกิจ มีการสำรวจกรณีศึกษาภายในองค์กรว่ามีความเข้าใจเกี่ยวกับความหลากหลาย (Diversity) มากน้อยเพียงใด รวมถึงมีการตรวจสอบนโยบายภายในองค์กรเพื่อดูว่านโยบายนั้น “รวม” หรือ “ไม่รวม” ใครหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจหรือไม่

ที่สำคัญ ศศินทร์ศึกษาความต้องการของบุคลากรทั้งหมดในองค์กร โดยให้ความสำคัญกับความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างภายนอก เช่น สีผิว ภูมิหลังทางเชื้อชาติ ศาสนา หรือแม้กระทั่งสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้ ยังเจาะลึกลงไปในเรื่องของประสบการณ์สำคัญในชีวิตของแต่ละคน การฝึกฝนตนเอง ตลอดจนถึงความเชื่อ ทั้งที่เผยออกมาอย่างชัดเจนและที่แอบซ่อนไว้ ซึ่งจะเผยออกมาเมื่อมีกระบวนการพูดคุยสอบถาม

“ที่ศศินทร์ เราภูมิใจในความแตกต่างและหลากหลายภายในสถาบัน ตั้งแต่คณาจารย์ นิสิต นิสิตเก่า
และบุคลากร ความเห็นอันหลากหลายของทุกคนจะนำมาสร้างแนวทางตามนโยบาย IDEALS ให้เกิดขึ้นได้จริง ไม่ใช่เพียงแนวคิดอุดมคติ”

๐ กระบวนการดังกล่าวเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป

โดยจะมีคณะกรรมการตัวแทนของศศินทร์ร่วมประชุมกันเพื่อวางแผนแนวทางในเชิงปฏิบัติ สร้างความร่วมมือและการประสานงานกับองค์กรเครือข่ายต่างๆ รวมทั้งตรวจสอบแนวทางการจัดทำหลักสูตรและนโยบาย เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการปฏิบัติเป็นที่ยอมรับในสากล ปกป้องผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงการใช้งานวิจัยและแนวคิดที่ดีที่สุดจากทั่วโลก ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในสังคมที่มีความหลากหลายทางพหุวัฒนธรรม

๐ IDEALS อยู่ร่วมกันอย่างเสมอภาค โอบอุ้มความหลากหลาย

หนึ่งในหลักการสำคัญของ IDEALS คือการอยู่ร่วมกันอย่างเสมอภาค (Equity) ซึ่งไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะมี หรือได้รับทุกอย่างเหมือนกันหรือในปริมาณเท่ากัน

“ความเสมอภาคหมายถึงทุกคนได้รับสิ่งที่จำเป็นและสอดคล้องกับความต้องการเป็นรายบุคคล
เช่น หากคุณได้ยินไม่ถนัด คุณอาจได้รับความช่วยเหลือเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ช่วยจดบันทึกแทนคุณ
เป็นการช่วยให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมีโอกาสเช่นเดียวกับผู้ที่ไม่บกพร่องทางการได้ยิน
เป็นวิธีที่เราจะใช้ประโยชน์จากความแตกต่างได้ เพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนมีสิ่งจำเป็นสำหรับการทำงาน การเรียนรู้ การพูด เพื่อสร้างความก้าวหน้า”

๐ ที่ศศินทร์ จึงมีกระบวนการรับฟังนิสิตที่มีความต้องการพิเศษต่างๆ

“ทุกคนที่อยากจะเรียนและมีศักยภาพในการเรียน ไม่ควรจะถูกปิดกั้น เราต้องการดึงศักยภาพสูงสุดในการเรียนรู้ของนิสิตทุกคน เราต้องการสร้างโอกาสที่เปิดกว้างมากที่สุด ให้ทุกคนเข้าถึงการเรียนรู้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เท่าเทียม”

อาจารย์ดรูว์ กล่าวว่าศศินทร์กำลังทดลองกิจกรรมหลายอย่าง อาทิ การรับฟังความต้องการต่าง ๆ
ทั้งจากนิสิตและเจ้าหน้าที่ เช่น ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามต้องการให้จัดประชุมไม่ตรงกับช่วงเวลาละหมาด และเพิ่มเมนูอาหารฮาลาลให้เป็นทางเลือก การเพิ่มพื้นที่ให้เจ้าหน้าที่ชาวไทยและนานาชาติได้มีช่วงเวลาสร้างความคุ้นเคย เพื่อสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษกันมากขึ้น หรือแม้กระทั่งการจัดพื้นที่ Meditation Room ให้ทุกคน ทุกศาสนา และทุกความเชื่อสามารถเข้าไปใช้ได้ เป็นต้น


กำลังโหลดความคิดเห็น