xs
xsm
sm
md
lg

UNFPA ร่วมกับ จุฬาฯ เปิดตัว แพลตฟอร์ม inCUsive ส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนและทั่วถึง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



UNFPA ร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดปาฐกถาพิเศษเนื่องในวันประชากรโลก “Bridging Integration Gaps and Promoting Gender Equality for Young People Towards Aged Society" พร้อมเชื่อมทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย ไปด้วยกัน และเปิดตัวแพลตฟอร์ม inCUsive เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนและทั่วถึง

รศ.ดร.รัตติยา ภูละออ รองคณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รศ.ดร.รัตติยา ภูละออ รองคณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับเชิญจากองค์การทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) ร่วมนำเสนอเนื้อหาด้านโครงสร้างประชากร เพศ และช่วงวัยเชื่อมโยงกับการศึกษา และความต้องการของตลาดแรงงาน การเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยของกลุ่มเยาวชน และความเท่าเทียมทางเพศ รวมถึงความสำคัญของภาวะเจริญพันธุ์ต่ำและสังคมสูงวัย ภายใต้โครงการ “Bridging Integration Gaps and Promoting Gender Equality for Young People Towards Aged Society: พร้อมเชื่อมทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย ไปด้วยกัน” เนื่องในวันประชากรโลก (World Population Day) ประจำปี 2566 เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพมหานคร (รางน้ำ) โดยมีคณาจารย์ นักวิจัย และตัวแทนจากจุฬาฯ มาร่วมงาน อาทิ ผศ.ดร.สุธี อนันต์สุขสมศรี ดร.สิรินรัตน์ เสรีรัตน์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ผศ.ดร.ชนิศา ตันติเฉลิม คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ผศ.ดร.ธีรดา จงกลรัตนาภรณ์ อ.วรรษยุต คงจันทร์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ศ.ดร.ปิยะชาติ ภิรมย์สวัสดิ์ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ จุฬาฯ ผศ.ดร.ศยามล เจริญรัตน์ คุณพลาเดช ณ ป้อมเพชร และคุณสกุลรัตน์ ยี่สกุล สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ เป็นต้น


ภายในงานมีการเปิดตัวแพลตฟอร์ม InCUsive ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ UNFPA แพลตฟอร์ม InCUsive มีจุดมุ่งหมายให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างหลายหน่วยงานในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ด้านการวิจัยและสร้างองค์ความรู้ใหม่ โดยแบ่งออกเป็น 7 กลุ่มงาน ได้แก่

1. กลุ่มผู้หญิงและเพศทางเลือก ได้แก่ โครงการ RESPECT ในพื้นที่เทศบาลตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง พื้นที่นำร่องของโครงการลดความรุนแรงต่อสตรีด้วยแนวทาง “RESPECT: การเคารพต่อความเท่าเทียมกันของสตรี” และศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านสุขภาพคนข้ามเพศ (Center Of Excellence in Transgender Health) ผู้รับผิดชอบโครงการหลัก อาทิ พญ.พูนพิศมัย สุวะโจ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และ รศ.ดร.สุมนทิพย์ จิตสว่าง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

2. กลุ่มเด็กและเยาวชน ได้แก่ โครงการระบบ National Digital Learning Platform สำหรับประเทศไทย ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อพัฒนาศักยภาพเด็ก และการวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับเยาวชน ที่ไม่ได้อยู่ในการทํางาน การศึกษา หรือการฝึกอบรม ในประเทศไทย (In-depth Research on Youth Not in Employment, Education or Training: NEETs) ผู้รับผิดชอบโครงการหลัก อาทิ ศ.ดร.เนาวนิตย์ สงคราม คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ รศ.ดร.รัตติยา ภูละออ วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาฯ และ ศ.นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เป็นต้น

3. กลุ่มแรงงานนอกระบบและแรงงานแพลตฟอร์ม ได้แก่ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการวิเคราะห์ภูมิภาค เมือง และสิ่งแวดล้อมสร้างสรรค์ (Regional, Urban, & Built Environmental Analytics: RUBEA) และ ศูนย์ประสานงานเพื่อการวิจัยแรงงานแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU-Collar) ผู้รับผิดชอบโครงการหลัก อาทิ ดร.บวร ทรัพย์สิงห์ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ ดร.สิริรัตน์ เสรีรัตน์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ รศ.ดร.รัตติยา ภูละออ วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาฯ เป็นต้น

4. กลุ่มผู้สูงอายุ ได้แก่ โครงการ Unlocking the Power of Population Aging (การสร้างสังคมสูงวัยที่ทรงพลัง) โครงการบูรณาการสหศาสตร์เพื่อรองรับสังคมสูงวัย จุฬาอารี (Chula ARi) และไทยอารีย์ (Thai Ari) ผู้รับผิดชอบโครงการหลัก อาทิ ศ.ดร.วิพรรณ ประจวบเหมาะ วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาฯ ผศ.ดร.ปิยะชาติ ภิรมย์สวัสดิ์ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาฯ รศ.นพ.สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เป็นต้น


5. กลุ่มคนพิการ ได้แก่ โครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูงสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ โดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ผู้รับผิดชอบโครงการหลัก อาทิ ผศ.ดร.วิรุจ กิจนันทวิวัฒน์ ผศ.ดร.ชนิศา ตันติเฉลิม จากคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ เป็นต้น

6. กลุ่มชาติพันธ์ / ข้ามชาติ ได้แก่ หน่วยปฏิบัติการวิจัยชนพื้นเมืองและทางเลือกการพัฒนา และโครงการนำร่องอันดามัน และงานวิจัยเรื่อง การเชื่อมโยงความหลากหลายทางวัฒนธรรมของการอนุรักษ์กับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ผู้รับผิดชอบโครงการหลัก อาทิ รศ.ดร.นฤมล อรุโณทัย สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ เป็นต้น

7. กลุ่ม Cross cutting / enable ได้แก่ นวัตกรรมความหลากหลาย ความเท่าเทียม และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (Diversity, Equity and Inclusion Innovation: DEI) และ นวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความยั่งยืน (Communication Innovation for Development of Quality of Life and Sustainability) ผู้รับผิดชอบโครงการหลัก อาทิ ดร.ศยามล เจริญรัตน์ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ รศ.ดร.สมิทธิ์ บุญชุติมา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ผศ.ดร.ชนิศา ตันติเฉลิม จากคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ เป็นต้น






กำลังโหลดความคิดเห็น