ปัจจุบันโลกกําลังเต็มไปด้วยขยะพลาสติก แต่ละปีมีการผลิตพลาสติกมากกว่า 400 ล้านตัน ในจำนวนนี้กว่าครึ่งหนึ่งถูกออกแบบให้ใช้ครั้งเดียวทิ้ง และเพียงแค่ 10 %เท่านั้นที่ถูกนําไปรีไซเคิลจริง พลาสติกเป็นหนึ่งในภัยคุกคามที่อันตรายที่สุดในโลก รวมถึงภัยจากไมโครพลาสติกที่ส่งผลต่อสุขภาพโดยที่เราไม่รู้ตัว ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการลงมือแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกเป็นสิ่ง ที่จะต้องดำเนินการอย่างทันท่วงที
โครงการ Chula Zero Waste จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ร่วมกับโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) จัดงาน #Beat PlasticPollution in Thailand เมื่อวันอังคารที่ 27 มิถุนายน 2566 ณ เรือนจุฬานฤมิต เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเสนอแนวทางการขับเคลื่อนประเด็นนโย
บายด้านการลดขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง โดยมี รศ.ดร.จิตติศักดิ์ ธรรมาภรณ์พิลาศ รองอธิการบดี ด้านการจัดการทรัพย์สินและกายภาพ จุฬาฯ กล่าวเปิดงาน โดยได้กล่าวถึงความตั้งใจของจุฬาฯ ในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากประชาคมจุฬาฯ แวดวงวิชาการ และในระดับนานาชาติ พร้อมแนะแนวทางการขับเคลื่อนประเด็นนโยบายด้านการลดขยะพลาสติก
ออกสู่สังคม จากนั้น Ms. Marlene Nilsson, The Deputy Regional Director of UNEP Regional Office for Asia and the Pacific กล่าวต้อนรับและเผยถึงผลวิจัยเกี่ยวกับขยะพลาสติก
งานในครั้งนี้มีการบรรยายและเสวนาโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อต่างๆ เช่น ผลกระทบจากมลพิษพลาสติก
บทบาทของมหาวิทยาลัยในการต่อกรกับมลพิษพลาสติก
เราจะแก้ปัญหามลพิษพลาสติกในเชิงระบบได้อย่างไร ฯลฯ
กล่าวปิดงานโดย Dr.Mushtaq Memon, Regional Coordinator for Pollution and Action, UNEP และกอปร ลิ้มสุวรรณ หัวหน้ากลุ่มภารกิจการจัดการสิ่งแวดล้อม สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาฯ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย Chula Zero Waste
มีนโยบายและแผนงานพร้อมกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมแนวคิดการลดและแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง ผลักดันให้ประชาคมจุฬาฯ เปลี่ยนวิถีชีวิตให้คํานึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมมากขึ้นโดยเริ่มต้นจากในรั้วมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ ยังกระจายองค์ความรู้ และแนวทางปฏิบัติไปสู่สาธารณะด้วย ด้วยความมุ่งหวังสร้างแรงบันดาลใจและแรงกระเพื่อมต่อสังคมสู่เส้นทางแห่งความยั่งยืน