xs
xsm
sm
md
lg

ผู้เชี่ยวชาญด้านไข้เลือดออกระดับโลก ระดมสมองลดอัตราการเสียชีวิตจากไข้เลือดออก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสเดงกีกว่า 390 ล้านรายต่อปี ไข้เลือดออกยังคงเป็นหนึ่งในโรคระบาดจากยุงที่ระบาดได้ไวและพบมากที่สุด โดยในระหว่างปี 2015 – 2019 ภูมิภาคอาเซียนพบอัตราการติดเชื้อไวรัสเดงกีเพิ่มมากขึ้นกว่าร้อยละ 46 และพบมากที่สุดประเทศอินโดนีเซีย เมียนมา และประเทศไทย นอกจากนี้ เพื่อแก้ปัญหาการระบาดนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านไข้เลือดออกกว่า 450 ราย จาก 23 ประเทศ ซึ่งรวมถึงทั้งบุคลากรทางการแพย์ นักวิจัย
ผู้นำด้านสาธารณสุขและผู้มีส่วนกำหนดนโยบายได้รวมตัวกัน ณ งานประชุมไข้เลือดออกแห่งเอเชียครั้งที่ 6 เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความก้าวหน้า และหารือแนวทางต่างๆ ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกรวมทั้ง แนวทางต่างๆ ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

การประชุมฯ ภายใต้แนวคิด “Roadmap to Zero Dengue Death” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 15 – 16 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรมมณเฑียร สุรวงศ์ กรุงเทพฯ โดย Asia Dengue Voice and Action (ADVA) ร่วมกับ คลัสเตอร์วิจัยโรคเขตร้อน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถานเสาวภา สภากาชาดไทย ,คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล, กระทรวงสาธารณสุข, GlobalDengue and Aedes Transmitted Diseases Consortium (GDAC), Southeast Asian Ministers of Education Tropical Medicine and Public Health Network (SEAMEO TROPMED), Foundation Mérieux (FMx) and the International Society for Neglected Tropical Diseases (ISNTD) ผู้เชี่ยวชาญร่วมกันอภิปรายในประเด็นต่างๆ เช่น การบริหารจัดการโรคไข้เลือดออก และการนำเสนอแนวทางที่จะช่วยทำให้การป้องกันและควบคุมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น งานประชุมนี้ได้รับเกียรติจาก นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขในการกล่าวเปิดการปะชุม

นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ศาสตราจารย์อุษา ทิสยากร คณะกรรมการอำนวยการ ADVA ประธานจัดการประชุม Asia Dengue Summit ครั้งที่ 6 และผู้อำนวยการบริหาร คลัสเตอร์วิจัยโรคเขตร้อน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ไข้เลือดออกเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขและให้ความสนใจมากยิ่งขึ้น แม้ว่าจะเป็นโรคที่มีมานานแล้ว แต่ไข้เลือดออกยังคงเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับทุกกลุ่มประชากร ทุกช่วงวัยทั่วโลก และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมในหลายๆ ประเทศอีกด้วย”

“เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การอนามัยโลกที่จะยุติการเสียชีวิตจากไข้เลือดออกภาย ในปี 2030 นั้น ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจึงมีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้เราเดินทางไปถึงเป้าหมายนี้ได้”

วันไข้เลือดออกโลก ในปี 2021 ISNTD และ ADVA ได้ร่วมกันประกาศจัดตั้งวันไข้เลือดออกโลกเพื่อเพิ่มความตระหนักรู้ในระดับโลก เป็นหมุดหมายในการร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลแนวทางการป้องกันและควบคุม และเตรียมความพร้อมของประชาคมโลกให้พร้อมรับมือกับการระบาดของไข้เลือดออก เพื่อที่จะยุติอัตราการเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกและบริหารจัดการโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจึงเป็นกุญแจสำคัญ
โดยการจัดตั้งวันไข้เลือดออกโลกนี้ต้องการให้รัฐบาล ภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษา และประชาชนทุกคน ร่วมกันและเร่งมือกันยุติการระบาดของไข้เลือดออกโดยเร็ว

Kamran Rafiq ผู้อำนวยการและผู้ร่วมก่อตั้ง ISNTD และเลขานุการและผู้ร่วมก่อตั้งแคมเปญวันไข้เลือดออกและการแข่งขันระดับสากลกล กล่าวว่า “เพื่อให้สามารถแก้ไขวิกฤติไข้เลือดออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ การแลกเปลี่ยนวิธีการดำเนินงาน ทรัพยากร และข้อมูลประกอบการตัดสินใจถือเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้เราป้องกันและควบคุมโรคได้ได้ยิ่งขึ้น”

“วันไข้เลือดออกโลก ที่ได้ยกระดับมาจากวันไข้เลือดออกอาเซียนตั้งแต่ปี 2021 นั้น ช่วยเน้นย้ำว่าการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกนั้นเป็นความรับผิดชอบร่วมกัน และต้องทำด้วยวิธีการที่ครอบคลุมและรอบด้าน ทั้งในแง่ของการควบคุมโรคและการพัฒนาและวิจัยวัคซีนเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ยั่งยืน”


๐ พลังรุ่นใหม่ในการผลักดันการป้องกันและควบคุมไข้เลือดออก

ความสำเร็จของ ADVA ในฐานะแนวหน้าในการสนับสนุนการป้องกันและควบคุมไข้เลือดออกนั้นขึ้นอยู่กับการจุดประกายให้คนรุ่นใหม่เล็งเห็นความสำคัญในสิ่งเดียวกัน ดังนั้น การยุติการติดเชื้อไข้เลือดออกจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้มากยิ่งขึ้นด้วยความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับผู้มีส่วนพัฒนาและวิจัยวัคซีนเพื่อการควบคุมโรคที่ดียิ่งขึ้นในระดับประเทศ ดังนั้น เราจึงสามารถส่งต่อเครื่องมือในการทำความเข้าใจสถานการณ์และความรู้ในด้านต่างๆ เช่น ด้านจีโนมิกส์ กาเรียนรู้ของเครื่องปัญญาประดิษฐ์ (machine learning) และวิธีการวิจัยให้กับคนรุ่นใหม่ที่จะเข้ามารับช่วงต่อในการป้องกันและควบคุมไข้เลือดออกได้

ในการนี้ ADVA จึงให้ความสำคัญในการปูทางให้กับว่าที่บุคลากรทางการแพทย์และนักวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของพวกเขา ให้สามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในการผลักดันการป้องกันและควบคุมไข้เลือดออกต่อไป


กำลังโหลดความคิดเห็น