xs
xsm
sm
md
lg

เอสซีจี จัดงานใหญ่โชว์ความสำเร็จ โครงการ “พลังชุมชน” แก้จน - ลดเหลื่อมล้ำ ตามแนวทาง ESG 4 Plus

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เอสซีจี มุ่งแก้จน ลดความเหลื่อมล้ำสังคม ตามแนวทาง ESG 4 Plus (มุ่ง Net Zero – Go Green – Lean เหลื่อมล้ำ – ย้ำร่วมมือ ภายใต้ความเชื่อมั่น โปร่งใส) ผ่านโครงการพลังชุมชน อบรมให้ความรู้คู่คุณธรรม น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต มุ่งให้ชุมชนเห็นคุณค่าและพัฒนาศักยภาพตนเอง

สร้างอาชีพด้วยการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นให้โดนใจลูกค้า ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้น่าซื้อ ดึงดูดใจผู้บริโภค นำหลักการตลาดไปใช้ในการจัดจำหน่ายทั้งออนไลน์ (Online) และออฟไลน์ (Offline) ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ขณะเดียวกันต้องบริหารจัดการความเสี่ยง สร้างภูมิคุ้มกันให้ตนเอง หากทำผิดพลาด ต้องไม่ย่อท้อ ล้มแล้วต้องรีบลุก นำจุดบกพร่องมาเป็นบทเรียนพัฒนาตนเอง


ตั้งแต่ปี 2561 มีผู้ร่วมอบรมในโครงการพลังชุมชน 650 คน จาก 14 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง สระบุรี กาญจนบุรี นครศรีธรรมราช เชียงราย แพร่ อุดรธานี อุบลราชธานี ลำพูน อุตรดิตถ์ บุรีรัมย์ พิษณุโลก ตาก และระยอง มีสินค้าแปรรูปกว่า 1,150 รายการ ชุมชนมีรายได้เพิ่ม 5 เท่า เกิดการจ้างงาน 3,410 คน ส่งต่อความรู้ 26,130 คน ช่วยปลดหนี้ มีอาชีพมั่นคง ต่อยอดความรู้ พัฒนาเป็นการตลาด มีรูปแบบเฉพาะตัว ขณะเดียวกันยังแบ่งปันความรู้และเป็นต้นแบบส่งต่อแรงบันดาลใจให้ชุมชนอื่นๆ เกิดเป็นเครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง

ล่าสุด เอสซีจีได้จัดงาน “พลังชุมชน สร้างคนด้วยปัญญา” โดยเชิญ 6 ตัวแทนบุคคลต้นแบบมาร่วมแบ่งปันความรู้ แนวคิดการพัฒนาอาชีพ ในหัวข้อ “เปลี่ยนอย่างไรให้ปัง” และเปิดเวทีให้น้องๆ โรงเรียนน้ำโสมพิทยาคม จ.อุดรธานี มาแชร์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการสร้างมูลค่าด้วยการใช้วัตถุดิบรอบตัวและนำไปทำโครงการวิชาการประกวด และได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับประเทศ นอกจากนั้น ยังเปิด “ตลาดพลังชุมชนชวนช้อป” นำสินค้ากว่า 200 รายการมาจำหน่าย เช่น ผงกล้วยหอมทองพร้อมชง จ.แพร่ ก๋วยจั๋บรสต้นตำรับเส้นญวน จ.อุบลราชธานี กระบกเคลือบคาราเมล จ.อุบลราชธานี เกล็ดปลานิลอินทรีย์ทอดกรุบกรอบ จ.เชียงราย ขนมกุ๊กไก่ไส้สับปะรด จ.ลำปาง ผ้าย้อมดินถิ่นครูบา จ.ลำพูน แผ่นแปะสมุนไพรแก้ปวด จ.เชียงราย น้ำพริกปลาส้ม 4 ภาค จ.อุดรธานี และกระเป๋าทำจากผ้าขาวม้า จ.สระบุรี เป็นต้น

ผู้สนใจสามารถสนับสนุนชุมชน โดยเลือกซื้อสินค้าขึ้นชื่อของแต่ละจังหวัด และแหล่งท่องเที่ยวทั่วไทย ได้ที่ E-CATALOG https://my.eboox.cc/shop9/1/2566/

1) ฟ้าเสรี ประพันธา จ. อุบลราชธานี “จากสาวชาวนามาเป็นประธานบริษัท สร้างเงินทองจากของไร้ค่า”
๐ 6 ตัวแทนพลังชุมชน ถ่ายทอดเรื่องราว “เปลี่ยนอย่างไรให้ปัง” ส่งต่อแรงบันดาลใจ

1) ฟ้าเสรี ประพันธา จ. อุบลราชธานี “จากสาวชาวนามาเป็นประธานบริษัท สร้างเงินทองจากของไร้ค่า”

อดีตสาวชาวนาที่เคยรู้สึกด้อยค่าตัวเอง เมื่อเปลี่ยนความคิดหันมามุ่งมั่นเรียนรู้พัฒนาตัวเอง นำทรัพยากรท้องถิ่นมาเพิ่มมูลค่า เช่น กระบก (อัลมอนด์ป่าของไทย) ซึ่งมีคุณค่าโภชนาการสูง แปรรูปเป็นกระบกอบกรอบหลากรส คุกกี้กระบก จำหน่ายผ่านออนไลน์ และเพิ่มโอกาสด้วยการสร้างเครือข่ายสินค้าชุมชนข้ามจังหวัด

ต่อมาจึงก่อตั้ง “บริษัท ไร่นาฟ้าเอ็นดู จำกัด” เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพให้คนในชุมชนมีรายได้ ไม่ต้องไปทำงานต่างถิ่น และเป็นแหล่งพัฒนาสินค้าที่หลากหลาย เช่น เมล็ดพันธุ์ผักหวานป่าทั้งเมล็ดงอกและต้นพันธุ์สำหรับคนชอบปลูกต้นไม้ แปรรูปข้าวไรซ์เบอรี่เป็นเส้นก๋วยจั๊บ ทำน้ำพริกย้อนวัยอุดมด้วยสมุนไพรเจาะกลุ่มคนรักสุขภาพ เปลี่ยนว่านงาช้างและว่านหางจระเข้เป็นสบู่สำหรับคนชอบใช้สมุนไพร รับโคมเกลือหิมาลัยมาขายให้คนรักสุขภาพ คนเป็นโรคภูมิแพ้ ฯลฯ

2) ภัทชา ตนะทิพย์ จ.แพร่ “นวัตกรตัวแม่แปรรูปกล้วยหอมทอง เป็นของที่คนรักสุขภาพเรียกหา”
2) ภัทชา ตนะทิพย์ จ.แพร่ “นวัตกรตัวแม่แปรรูปกล้วยหอมทอง เป็นของที่คนรักสุขภาพเรียกหา”

นวัตกรตัวแม่ที่มีแนวคิดพัฒนาชุมชนวังชิ้น จ.แพร่ ให้เป็นชุมชนเศรษฐกิจ “#กล้าคิด #กล้าทำ #ทำต่อเนื่อง” เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อย่างสม่ำเสมอ โดยสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากกล้วยที่ปลูกรอบบ้าน นำมาแปรรูปเพิ่มมูลค่าอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นกล้วยตาก แป้งกล้วย เครื่องดื่มจากกล้วย ข้าวเม่าคาราเมลคอนเฟลกส์ กล้วยหอมทองซีเรียล โจ๊กกล้วยหอมทองธัญพืช ฯลฯ และจัดตั้ง “ศูนย์นวัตกรรมกล้วยหอมทองครบวงจร” เปิดสอนอาชีพให้ผู้ที่สนใจ สร้างงานให้คนในท้องถิ่น และเชื่อมต่อท่องเที่ยวต่างๆ ใน อ.วังชิ้น จนกลายเป็นชุมชนท่องเที่ยววิถีใหม่ และชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจของ จ.แพร่ นอกจากนี้ ช่วงโควิด 19 ยังชวนคนรุ่นใหม่กลับมาทำงานที่บ้านเกิด มีอาชีพ สร้างรายได้จากการทำตลาดออนไลน์จำหน่ายผลิตภัณฑ์กล้วยแปรรูป

3) สุรัตน์ เทียมเมฆา จ.ราชบุรี “ชุบชีวิตสมุนไพรในสวนหลังบ้าน สร้างเงินล้านให้ชุมชน”
3) สุรัตน์ เทียมเมฆา จ.ราชบุรี “ชุบชีวิตสมุนไพรในสวนหลังบ้าน สร้างเงินล้านให้ชุมชน”

เกษตรกรนักแปรรูปแห่งสวนมาลี จับภูมิปัญญาไทยใส่นวัตกรรมเพิ่มมูลค่าสินค้า แปรรูป ยืดอายุสมุนไพร ผลไม้หลากชนิดที่มีในสวนให้ตอบเทรนด์ผู้บริโภคที่รักสุขภาพ และจำหน่ายได้ตลอดปี สร้างแบรนด์ “สวนสุมาลี” ให้ลูกค้าจดจำและเชี่อมั่นในคุณภาพสินค้า เนื่องจากปลูกสมุนไพรแบบอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมี ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น ได้แก่ กล้วยตากพลังงานแสงอาทิตย์ ชากระเจี๊ยบ ผงกระชาย ผงฟ้าทะลายโจร มะนาวแช่อิ่ม แป้งกล้วย และกระเจี๊ยบผง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังรวมกลุ่มตั้ง “วิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรสวนมาลี” เพื่อแบ่งปันความรู้ให้ผู้สนใจมาศึกษาดูงาน เห็นคุณค่าของสมุนไพรท้องถิ่น และนำไปสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้

4) อารีพร สุยะ จ.เชียงราย “เปลี่ยนร้านก๋วยเตี๋ยวริมทาง เป็นฟาร์มคาเฟ่ จุดเช็คอินสุดชิคเชียงราย”
4) อารีพร สุยะ จ.เชียงราย “เปลี่ยนร้านก๋วยเตี๋ยวริมทาง เป็นฟาร์มคาเฟ่ จุดเช็คอินสุดชิคเชียงราย”

เมื่อผลผลิตและราคาลำไยไม่ค่อยดี ประกอบกับต้องการให้ลูกสาวกลับมาทำงานที่บ้านเกิด จึงเป็นจุดเริ่มต้นหาโอกาสให้ตนเอง ตัดสินใจพัฒนาสวนลำไยเป็นสวนเกษตรแบบครบวงจร ปลูกพืช ผลไม้เมืองหนาว เช่น องุ่น สตรอเบอรี่ ผักปลอดสาร เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบประกอบอาหารภายในร้านซึ่งออกแบบให้เป็น “ฟาร์มคาเฟ่สุดชิค” โดยปรับเปลี่ยนจากร้านก๋วยเตี๋ยวข้างทางให้กลายเป็นจุดเช็คอินของเชียงราย ชื่อ “ไม้หมอนฟาร์ม” ทั้งยังพัฒนาต่อยอดจำหน่ายสินค้าทางช่องทางออนไลน์ ทำในสิ่งที่ตนเองถนัด และต้องการให้ครอบครัวอยู่ร่วมกัน จึงร่วมกับลูกสาว สร้างฟาร์มคาเฟ่ ภายใต้แบรนด์ “ไม้หมอนฟาร์ม” ให้เป็นร้านกาแฟตามความฝันของลูก จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อของ จ.เชียงราย มีการสร้างสรรค์เมนูจากวัตถุดิบในฟาร์มและท้องถิ่น พร้อมไอเดียใหม่ที่ถูกใจลูกค้า และยังเปิดโอกาสให้เครือข่ายโครงการพลังชุมชนในพื้นที่อื่นๆ นำสินค้ามาจำหน่าย เพื่อให้เกิดการสร้างงาน กระจายรายได้ และเติบโตไปด้วยกัน

5) จีระยุทธ ไข่นุ่น จ.นครศรีธรรมราช “เสิร์ฟเครื่องแกงใต้เผ็ดร้อน หรอยจังฮู้...ทุกครัวต้องมี”
5) จีระยุทธ ไข่นุ่น จ.นครศรีธรรมราช “เสิร์ฟเครื่องแกงใต้เผ็ดร้อน หรอยจังฮู้...ทุกครัวต้องมี”

ยอดนักขายเครื่องแกงใต้ อันดับ 1 แห่งกลุ่มวิสาหกิจเครื่องแกงชาววัง ด้วยการเปลี่ยน mindset เปิดใจรับฟังความคิดเห็นลูกค้ามารวมกับหลักการตลาด ผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างเอกลักษณ์สินค้าให้โดดเด่นเป็นของขึ้นชื่อประจำจังหวัด พัฒนาเครื่องแกงใต้ชาววังรสเผ็ดร้อน ให้ถูกปากผู้ซื้อ ไม่ว่าจะเป็นพริกแกงคั่วกลิ้ง พริกแกงกะทิ และพริกแกงส้ม มุ่งพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ไม่ซ้ำใครอย่างต่อเนื่อง เช่น ไตปลาแห้ง (สินค้าพร้อมทาน) เพิ่มช่องทางจำหน่ายผ่านทางออนไลน์ ช่วยให้ซื้อง่ายขายคล่อง กลายเป็นเครื่องแกงที่ทุกตู้เย็นทั่วไทยมีติดไว้ พร้อมแบ่งปันความรู้ สร้างอาชีพให้คนท้องถิ่น ด้วยการตั้ง “วิสาหกิจเครื่องเเกงชาววัง” เป็นเครือข่ายเข้มแข็ง ช่วยสร้างอาชีพให้คนในชุมชน

6) อานันต์ศรี แก้วเลิศตระกูล จ.เชียงใหม่ “แม่หลวงแหนบทองคำ พลิกชีวิตผู้ป่วยซึมเศร้า ด้วยผ้าทอปกาเกอะญอ แบรนด์ชูใจ”
6) อานันต์ศรี แก้วเลิศตระกูล จ.เชียงใหม่ “แม่หลวงแหนบทองคำ พลิกชีวิตผู้ป่วยซึมเศร้า ด้วยผ้าทอปกาเกอะญอ แบรนด์ชูใจ”

แม่หลวงเปิ้ล หรือ แม่หลวงแหนบทองคําที่นำภูมิปัญญาท้องถิ่นชาวปกาเกอะญอด้านการทอผ้า มายกระดับเป็นผลิตภัณฑ์ด้านการแต่งกาย ของใช้จากผ้าทอที่มีลวดลาย โดดเด่น ดีไซน์สวยงาม ภายใต้แบรนด์ “ชูใจ” เช่น เสื้อ ผ้าพันคอ ย่ามทอมือ และกระเป๋าผ้าทำจากผ้าฝ้าย ลายปักธรรมชาติ ฯลฯ
ก่อตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่แดดน้อย เพื่อเป็นพื้นที่เรียนรู้พัฒนาและต่อยอดวัฒนธรรมชุมชน เปลี่ยนคนในชุมชนที่มีความกังวลจากปัญหาความยากจน ความเครียด และโรคซึมเศร้า ใช้การปักผ้าภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้างสรรค์งานฝีมือที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เกิดเป็นอาชีพ สร้างรายได้ และภาคภูมิใจในคุณค่าของตน พลิกชีวิตให้สามารถยืนหยัดพึ่งพาตนเองได้ ตามชื่อแบรนด์ “ชูใจ”

ครู นักเรียนมัธยม โรงเรียนน้ำโสมพิทยาคม จ.อุดรธานี
๐ สานพลังเยาวชน โดย ครู นักเรียนมัธยม โรงเรียนน้ำโสมพิทยาคม จ.อุดรธานี “ปัง!!...ตั้งแต่ยังเด็ก”

นอกเหนือจากความสำเร็จที่เกิดขึ้นกับสมาชิกในโครงการพลังชุมชนแล้ว ยังขยายผลไปถึงกลุ่มเยาวชนและครูโรงเรียนน้ำโสมพิทยาคม จ.อุดรธานี ที่เรียนรู้การนำวัตถุดิบรอบตัวมาสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยได้รับแรงบันดาลใจจากบุคคลต้นแบบโครงการพลังชุมชนนำธุรกิจปลาส้มครบวงจร มาทำเป็นโครงงานวิชาการเข้าประกวด และได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ นอกจากนี้ โรงเรียนยังได้บรรจุโครงการฝึกวิชาชีพเป็นหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อเพิ่มการเรียนรู้และสร้างทักษะด้านอาชีพให้กับนักเรียน

จุดเริ่มต้นมาจาก ยศวัฒน์ ผาติพนมรัตน์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจวังธรรมผลิตและแปรรูปปลาครบวงจร บุคคลต้นแบบโครงการพลังชุมชน ต้องการถ่ายทอดและแบ่งปันความรู้ ปลูกฝังทักษะการประกอบอาชีพให้เยาวชนที่บ้านเกิด เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางประกอบอาชีพในอนาคต

ณ วันนี้ การขับเคลื่อน “โครงการพลังชุมชน” พิสูจน์ความสำเร็จมาอย่างต่อเนื่อง ผ่านชุมชนและคนต้นแบบ สามารถแก้ปัญหาความยากจนซึ่งเป็นเป้าหมายหลัก เริ่มจากการสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และก้าวอย่างยั่งยืนด้วยปัญญา โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ช่วยสร้างความมั่นคงให้สังคมและประเทศชาติต่อไป