xs
xsm
sm
md
lg

อพท.เดินหน้าท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ BCG “ปลูกป่า สร้างปอด” ที่ จ.สุโขทัย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. และ จังหวัดสุโขทัย จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เมื่อวันที่ 3 มิถุนายนที่ผ่านมา และเป็นวันต้นไม้ประจำปีของชาติ 

โดยจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ BCG ปลูกป่า สร้างปอด ส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ณ ชุมชนไทยชนะศึก บ้านท่าต้นธง ตำบลไทยชนะศึก อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย

“อพท.ร่วมกับภาคีเครือข่ายผนึกความร่วมมือส่งเสริม สนับสนุน และขับเคลื่อนให้ชุมชนดังกล่าวก้าวสู่ชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และสร้างการรับรู้แหล่งท่องเที่ยวในชุมชนให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น โดยที่ อพท. เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการส่งเสริม สนับสนุน ให้เกิดการดูแลพื้นที่พิเศษและเขตพัฒนาการท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน โดยการมุ่งไปที่การท่องเที่ยวบนพื้นฐานของทรัพยากรของชุมชนและศิลปวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและกระจายรายได้แก่คนในชุมชนให้อยู่ดีมีสุขในวิถีชีวิตแบบพอเพียง ปี 2566”

ครั้งนี้ อพท. โดย สำนักงานพื้นที่พิเศษ 4 (อพท.4) ร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจังหวัดสุโขทัย ดำเนินการนำส่งป่าชุมชนบ้านท่าต้นธงภายใต้เส้นทางการท่องเที่ยวชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนไทยชนะศึก และได้ผ่านการรับรองตามมาตรฐานและได้รับใบประกาศเกียรติคุณจากโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก หรือ LESS (Low Emission Support Scheme) จากการจัดกิจกรรมพัฒนาเส้นทาง BCG คาร์บอนเครดิต พื้นที่ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนไทยชนะศึก ณ ป่าชุมชนท่าต้นธง ตำบลไทยชนะศึก อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย ได้รับเลือกให้เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทยในปี 2566 และนับเป็นครั้งแรกของจังหวัดสุโขทัยที่ได้รางวัลนี้


พันเอก นาวิน ปรีชาพณิชยกุล ผู้จัดการผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนมรดกโลกสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร (อพท. 4) องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) กล่าวว่า กิจกรรมปลูกต้นไม้ถือเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาตามแนวทางการพัฒนาโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) ที่มุ่งเน้นในด้านเศรษฐกิจสีเขียว (G) ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า ‘การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน’ ให้นำทรัพยากรที่เป็นอัตลักษณ์โดดเด่นของชุมชน คือ ต้นสะเลียมหรือสะเดา และได้นำต้นเหลืองปรีดียาธร มาใช้ประโยชน์ในเชิงการท่องเที่ยวควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรเหล่านี้ให้คงอยู่อย่างยั่งยืน 


กิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนไทยชนะ เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธา พิมลลักษณ พระบรมราชินี เพิ่มพูนทรัพยากรป่าไม้อันเป็นการบำเพ็ญประโยชน์เนื่องในวันต้นไม้ของชาติ ส่งเสริม สนับสนุน การท่องเที่ยวกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมระหว่าง หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา หน่วยงานเอกชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น สื่อมวลชน ชุมชน เพื่อมุ่งสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และ BCG ตามนโยบายของรัฐบาล สร้างต้นแบบพื้นที่ในจังหวัดสุโขทัยในการสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พร้อมจัดกิจกรรมทดสอบเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชน ให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการการท่องเที่ยวและได้รับการเชื่อมโยงสู่ตลาดคุณภาพสูงต่อไป โดยการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) สนับสนุนงบประมาณดำเนินกิจกรรมและสนับสนุนการอนุรักษ์ป่าชุมชนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสุโขทัย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุโขทัย อำเภอทุ่งเสลี่ยม และองค์การบริหารส่วนตำบลไทยชนะศึก รวมไปถึงชาวบ้านชุมชนไทยชนะศึก วัด โรงเรียน และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนที่ร่วมแรงร่วมใจในการดำเนินกิจกรรม ในครั้งนี้

การจัดกิจกรรมในวันนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมโดยประมาณทั้งสิ้น 300 คน ประกอบด้วยตัวแทนจากภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน และเครือข่ายชุมชนท่องเที่ยวในจังหวัดสุโขทัย อพท. มุ่งหวังให้กิจกรรมในครั้งนี้จะสร้างให้เกิดการพัฒนาของแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชนในเขตพื้นที่ห่างไกล ให้ได้รับการพัฒนาตามความต้องการของชุมชน ช่วยส่งเสริมศักยภาพด้านการท่องเที่ยวไปจนถึงเกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรต้นสะเลียม อันเป็นอัตลักษณ์เด่นของชุมชน และต้นเหลืองปรีดียาธร ได้นำมาใช้ประโยชน์ในอนาคต เพื่อสร้างรายได้และส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นการสร้างภาคีเครือข่ายภาคเอกชน ภาครัฐ ภาควิชาการ และชุมชน ให้เกิดบูรณาการในการดำเนินกิจกรรมตามแนวทาง BCG ของรัฐบาล ซึ่งต่อไปจะเกิด การท่องเที่ยวเชิงจิตอาสา การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยการจัดเป็นเส้นทางการท่องเที่ยว BCG เสนอขายเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนรูปแบบใหม่กลุ่มตลาดมูลค่าสูงต่อไป




กำลังโหลดความคิดเห็น