xs
xsm
sm
md
lg

จีน แบบอย่างใช้แนวทางจัดการ Big Data เชิงรุก ดูผลก้าวหน้า SDGs

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ช่วงที่ผ่านมา การเติบโตการพัฒนาและการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเมืองต่างๆ ทั่วโลก องค์การสหประชาชาติพบว่าก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อม จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการควบคู่กัน ซึ่งเป็นการวัดและประเมินผลความคืบหน้าระดับย่อยที่สุด รองจากระดับชาติ ภูมิภาค และระดับโลก ผ่านการรายงานคะแนนดัชนี SDGs

ปัญหามลภาวะทางอากาศ การขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐาน น้ำสะอาด รวมถึงความไม่เท่าเทียมกันของสังคม ถือว่าเป็นปัจจัยคุกคามการเติบโตอย่างได้ดุลยภาพและยั่งยืนของเมืองต่างๆ ทั่วโลก

ช่วงที่ผ่านมาจนถึงปีที่แล้ว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่บริหารจัดการในระดับเมืองของประเทศต่างๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมโดยสมัครใจ ในการรายงานความคืบหน้าของตัวชี้วัดราว 80 รายการจากทั้งหมด 169 รายการย่อย นับว่าสะท้อนให้เห็นถึงสถานะการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลที่เกี่ยวข้องกับ SDGs

ทั้งนี้ หากมุ่งเน้นเมืองซึ่งสามารถวัดความก้าวหน้าการพัฒนาอย่างยั่งยืนบนหลัก 17 เป้าหมายก็พบว่ามีเพียงไม่กี่เมืองที่เป็นเมืองใหญ่หรือเมืองหลวงเท่านั้นที่สามารถวัดความก้าวหน้าได้ครอบคลุมถึง 15 หรือ 16 ประการ เนื่องจากเมืองที่มีขนาดแตกต่างกันอาจจะมีข้อจำกัดและการขาดแคลนข้อมูลทางสถิติที่เกี่ยวข้อง


ตัวอย่างกรณีจีน
ประเทศขนาดใหญ่ลำดับต้นๆ ของโลก พบว่าเมืองที่มีขนาดเล็กจำนวนมากกว่าเมืองที่มีขนาดใหญ่หลายเท่าตัว ทำให้เมืองเล็กๆ เหล่านั้นประสบปัญหาในการรวบรวมข้อมูล ส่งผลต่ออุปสรรคในการพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาความยั่งยืนแบบองค์รวม หรือส่งเสริมความยั่งยืนของเมืองที่มีพื้นที่ติดต่อกัน

ดังนั้นการพัฒนา Big Data ให้สามารถจัดเก็บข้อมูลที่ครอบคลุมได้ ไม่ได้ขึ้นกับจำนวนของข้อมูลเท่านั้น หากแต่อยู่ที่ความรวดเร็วของการสร้างข้อมูล รูปแบบของข้อมูล การบริหารแหล่งข้อมูลที่มีความหลากหลาย โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูง

บทเรียนที่ได้เรียนรู้จากการที่เมืองหลักๆ ประเทศจีนประสบความสำเร็จในการจัดเก็บข้อมูลที่มีลักษณะเป็น Big Data มาจาก ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลที่สำคัญเหล่านี้

1) เส้นแห่งความยากจนระหว่างประเทศ (รายการ 1.1.1) เพื่อแสดงสถานะว่าเป็นเมืองที่ไม่มีความยากจน
2) เส้นแห่งความยากจนระดับชาติ (รายการ 1.1.2)
3) น้ำซึ่งเป็นส่วนของระบบนิเวศที่เกี่ยวข้อง (รายการ 6.6.1) เพื่อแสดงถึงน้ำสะอาดและสุขอนามัย
4) สภาพที่ดินเสื่อมโทรม (รายการที่ 15.3.1) เพื่อแสดงถึงชีวิตบนบก

ซึ่งพบว่าข้อมูล Big Data ที่สามารถดำเนินการบูรณาการและนำมาประมวลผลบนชั้นข้อมูลร่วมกันได้ ได้แก่ ภาพถ่ายดาวเทียม ข้อมูลที่แสดงจุดสนใจ และข้อมูลที่เป็น Open Street Map ที่แสดงการเติบโตทางเศรษฐกิจรวมทั้งการนำเอาเทคโนโลยี Machine learning หรือนวัตกรรมสมัยใหม่อื่นๆ มาช่วยในการบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูล ยังเป็นส่วนที่ทำให้นำข้อมูลมาประเมินสถานะของเมืองในด้านอื่นๆ ได้ทางอ้อมอย่างทันท่วงทีเป็นปัจจุบัน (เป้าหมายการพัฒนาที่ 8) หรือแผนที่ความยากจน (เป็นเป้าหมายที่ 1) และการประเมินความไม่เท่าเทียมกัน (เป้าหมายที่ 10) ทำให้การจัดเก็บข้อมูลมีประสิทธิภาพ

ผลการวิเคราะห์บอกถึงความคืบหน้าของการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับเมืองต่างๆ ของโลก ให้ผลออกมาน่าสนใจ เช่น เมืองที่มีขนาดใหญ่ในจีนยังเผชิญหน้ากับความท้าทายในการลดความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ และการเพิ่มความร่วมมือต่อเป้าหมายในระดับประเทศและระดับโลก ซึ่งเกี่ยวข้องกับเป้าหมาย SDG 10 การลดความเหลื่อมล้ำ และเป้าหมาย SDG 17 ความร่วมมือกันเพื่อเป้าหมายร่วม

ขณะเดียวกัน เมืองที่มีขนาดกลางและขนาดเล็กในประเทศจีนกลับพบว่ามีความก้าวหน้าที่ดีขึ้นในเป้าหมาย SDG 15 หรือชีวิตบนบก เป้าหมาย SDG 6 เรื่องน้ำสะอาดและสุขอนามัย และ SDG 12 การปล่อยและบำบัดของเสีย ส่วนประเด็นที่เมืองขนาดใหญ่และเมืองขนาดกลางแสดงสถานะที่ใกล้เคียงกัน หรือเป็นประเด็นการคืบหน้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับขนาดของเมือง คือเป้าหมาย SDG 13 หรือการดำเนินการด้านสภาพอากาศ

ประเด็นที่เมืองขนาดใหญ่มีตัวเลขของความก้าวหน้าที่ดีกว่าเมืองขนาดเล็ก ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมาย 5 มิติของ SDG พบว่าเมืองส่วนใหญ่มีความก้าวหน้าไม่มาก ในมิติของ SDG 16 หรือ ประเด็นด้านสันติภาพ และการเผชิญหน้ากับความท้าทายในเรื่องของการสร้างความร่วมมือบนเป้าหมาย SDG 17

ทั้งนี้ประเด็นความก้าวหน้าของเมืองต่างๆ ในโลก พบว่ามีระดับการจัดการที่ดีขึ้น คือประเด็นความเท่าเทียมทางเพศหรือเป้าหมายที่ 5 การผลิตและใช้พลังงานซึ่งเป็นเป้าหมายที่ 7 ขณะที่เมืองต่างๆ ในโลกมีสถานะที่แย่ลงจากเดิม ได้แก่ ประเด็นเรื่องอุปกรณ์ทางการแพทย์ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ 3 ประเด็นเครือข่ายการขนส่งและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ 9 และการพัฒนาแบบประสานงานร่วมกันซึ่งเป็นเป้าหมายที่ 10


Big Data สำคัญอย่างไร
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDG ตามที่องค์การสหประชาชาติได้เรียกร้องให้ทุกพื้นที่ในโลกใช้ความพยายามร่วมกันเพื่อบรรลุความผาสุกทางสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมทั่วโลก แต่ความยากลำบากในการติดตามและเข้าถึงข้อมูลเพื่อเป็นเอกสารหลักฐานที่แสดงถึงความคืบหน้าของการดำเนินงาน จำเป็นต้องมีข้อมูลที่เข้าถึงเมืองต่างๆ ในโลก ซึ่งเป็นที่มาของการพยายามสร้างข้อมูล Big Data และนำข้อมูลที่ได้มาสู่การแบ่งปันความรู้ และประเมินถึงช่องว่างการดำเนินการ ที่แสดงมาตรวัดขนาดในเชิงปริมาณได้ของเมืองต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะเมืองขนาดเล็กในประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศด้อยพัฒนา

ความก้าวหน้าของการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ในส่วนของพื้นที่ระดับเมืองจึงสำคัญและต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ โดยคาดว่า มีเป้าหมายราว 65% ของเป้าหมายทั้งสิ้น 169 เป้าหมาย ภายใต้เป้าหมายหลัก 17 ประการของ SDGs ต้องการการมีส่วนร่วมในระดับของเมือง ในฐานะที่เมืองเหล่านั้นเป็นศูนย์กลางของนวัตกรรม กิจกรรมทางสังคมและเทคโนโลยี ซึ่งหากเมืองต่างๆ มีการขับเคลื่อนที่เพียงพอและเหมาะสม เริ่มมีโอกาสนำไปสู่ความสำเร็จของเป้าหมาย SDGs ได้มากขึ้น


กำลังโหลดความคิดเห็น