“ดับฝัน ติดโซลาร์แก้ค่าไฟแพง บ้านพักอาศัย ถ้าตอนกลางวันไม่มีคนใช้ ติดตั้งแบบไหนก็ไม่คุ้ม”
การติดตั้งที่คุ้มค่าที่สุดคือ โรงงานที่ใช้ไฟฟ้าในตอนกลางวัน แต่เมืองท่องเที่ยวอย่างภูเก็ตติดตั้งโรงแรมเพื่อลดการใช้ไฟในตอนกลางวันเป็นหลักก็จะคุ้มค่าเช่นกัน และที่คุ้มค่ามากที่สุดคือโรงพยาบาลติดตั้งไปแล้วใช้ไฟหมด แม้จะลงทุนเท่าไหร่ก็ถึงจุดคุ้มทุนได้เร็วประมาณ 4 ปีกว่า ๆ ก็ได้ใช้ไฟฟรีจากฟ้า
ส่วนที่ยังไม่คุ้มค่าคือติดตั้งตามบ้านที่ไม่มีการใช้ไฟในตอนกลางวันเพราะผลิตไฟกลางวันแล้วไม่ได้เก็บมาใช้ตอนกลางคืนจึงติดไปเปล่าประโยชน์ พอตกเย็นกลับจากที่ทำงานก็มมาใช้ไฟจากสายส่งของการไฟฟ้าจึงไม่ประหยัดค่าไฟ ถ้าจะใช้กลางคืนต้องจ่ายค่าแบตเตอรี่ที่แสนแพง 10 ปียังไม่คุ้มทุน แต่อุปกรณ์จะพังก่อน เพราะคุณภาพยังต่ำรับประกันเพียง 5 ปี บางรุ่นต้องแอบติดหรือลักลอบติดไม่ให้เจ้าหน้าที่มาเจอ
ช่วงนี้กำลังหาเสียงโชว์นโยบายที่เกี่ยวกับโซลาร์เซลล์อยากจะฟันธง (แต่อยู่สูงเกินไป) ว่า เป็นไปได้ยากถึงเป็นไปไม่ได้เลย นอกจากรัฐจะออกเงินให้ครึ่งต่อครึ่งเหมือนออสเตรเลียและยังมีรับซื้อไฟคืนเข้าสู่ระบบ ทางเดียวที่จะลดปัญหาค่าไฟแพงคือลดต้นทุนการผลิตคือเชื้อเพลิงเปลี่ยนจากก๊าซที่ราคากระโดดสูงขึ้นตั้งแต่เริ่มสงครามกัน เปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงที่ราคาถูกกว่าก๊าซ
ถ้าบอกว่าถ่านหินคงร้องยี้กันทันที แต่ถ้าเทคโนโลยีสมัยใหม่ลดมลพิษลงได้ก็คงต้องหันมาพิจารณา
แต่เวลานี้ ตอนนี้ ตอนต่อไป สำหรับคนใช้ไฟจำนวนมากแล้ว โซลาร์เซลล์คือคำตอบ แต่ให้ระวังเรื่องราคาติดตั้งที่ลดกระหน่ำกัน “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย “ หรือ ของดีไม่ถูก ของถูกอาจจะคุณภาพไม่ดี
ถ้าลงมาภูเก็ตลองมาศึกษาดูงานที่โรงแรม Peach Hill Resort และ Andaman Cannacia Resort ที่กำลังชู Carbonless Hotels เป็นตัวอย่างโรงแรม Sustainable Hotel เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
อ้างอิง เพจเฟซบุ๊ค พระปัญญาวชิรโมลี นพพร
พระปัญญาวชิรโมลี นพพร (Solar Monk) (พระครูวิมลปัญญาคุณ)
พระปัญญาวชิรโมลี นามเดิม นพพร เป็นที่รู้จักในวงกว้างว่าเป็น "พระนักพัฒนา" จากการที่เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนศรีแสงธรรม หรือ “โรงเรียนเสียดายแดด” เพราะท่านพระครูวิมลปัญญาคุณ ได้นำความรู้ที่ได้จากการศึกษาโซลาร์เซลล์มาต่อยอดเป็นพลังงานทดแทนไว้ใช้ในโรงเรียน และสร้างระบบ Smart Farm, รถเข็นนอนนา (สถานีไฟฟ้าเคลื่อน), บ้านกินแดด, รถไฟฟ้า Ev Car จากแผงโซลาร์เซลล์ เป็นต้น จนทำให้ลูกศิษย์บางคนตั้งฉายาให้ท่านว่า “พระเสียดายแดด”