บลู เอเลเฟ่นท์ ร่วมกับ สำนักพิมพ์ริเวอร์ บุ๊คส์ จัดกิจกรรมเปิดตัวหนังสือ “TAI, A Woven Culture” ผลงานของนายฮั้นส์ โรเอลส์ ช่างภาพชาวเบลเยียม และนางนภาจรี สวนเดือนฉาย นักสะสมสิ่งทอชาวไท บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรมการออกแบบสิ่งทอ ศิลปะที่คงมนต์ขลังของชาวไท ถึง 23 ชนชาติกระจายอยู่ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และไกลถึงรัฐอัสสัม (อินเดียตะวันออก) บันทึกภาพถ่ายกว่า 206 ภาพ ซึ่งเรียบเรียงโดยนายฮั้นส์ โรเอลส์ ช่างภาพชาวเบลเยี่ยม และนางนภาจรี สวนเดือนฉาย นักสะสมสิ่งทอชาวไท พร้อมจำหน่ายแล้ววันนี้ที่สำนักพิมพ์ริเวอร์ บุ๊คส์ กรุงเทพฯ
โรงเรียนสอนทำอาหารและภัตตาคารบลู เอเลเฟ่นท์ โดยมาสเตอร์เชฟนูรอ โซ๊ะมณี สเต็ปเป้ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนสอนทำอาหาร และมาสเตอร์เชฟแห่งภัตตาคารบลู เอเลเฟ่นท์ ความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการเผยแพร่วัฒนธรรมอาหารไทยให้ทั่วโลกได้ลิ้มลองอาหาร ‘รสชาติไทยแท้’ มากว่า 40 ปี ร่วมกับสำนักพิมพ์ริเวอร์ บุ๊คส์ กรุงเทพฯ จัดกิจกรรมเปิดตัวหนังสือ ‘TAI, A Woven Culture’ ผลงานชิ้นสำคัญของนายฮั้นส์ โรเอลส์ ช่างภาพชาวเบลเยียม และนางนภาจรี สวนเดือนฉาย นักสะสมสิ่งทอชาวไท ร่วมกันถ่ายทอดอัตลักษณ์และเรื่องราวการเดินทางของผ้าไหม ‘ไท’ วัฒนธรรมการออกแบบสิ่งทอ ศิลปะที่คงมนต์ขลังของชาวไทกว่า 23 ชนชาติ ซึ่งกระจายอยู่ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และไกลถึงรัฐอัสสัม (อินเดียตะวันออก) ผ่านบันทึกภาพถ่ายกว่า 206 ภาพ ซึ่งใช้ระยะเวลาในการเรียบเรียงเนื้อหาด้วยการอ้างอิงเอกสารต่างๆ โดยละเอียดกว่า 25 ปี
เรื่องราวของ ‘TAI, A Woven Culture’ เริ่มต้นบันทึกเรื่องราวของเส้นทางสายวัฒนธรรมแห่งสายไหมของ ชาว ‘ไท’ หลังจากที่ นายฮั้นส์ โรเอลส์ ช่างภาพชาวเบลเยียม ผู้ทีหลงใหลวัฒนธรรมที่หลากหลายของเมืองไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ออกเดินทางเพื่อถ่ายภาพในภาคเหนือของประเทศไทย และได้พบกับ นางนิ่ม-นภาจรี สวนเดือนฉาย นักสะสมสิ่งทอชาวไท ผู้ที่คลุกคลีกับผ้าทอมาตั้งแต่วัยเยาว์ ผู้บริหาร Prayer Textile Gallery ในกรุงเทพฯ และยังเป็นผู้ก่อตั้ง “กลุ่มนักสะสมผ้าไท” และเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง “สมาคมผ้าทอไท” ที่เลือกเดินตามรอยเท้าแม่สืบทอดธุรกิจผ้าทอของครอบครัวที่ดำเนินการ
มาหลายชั่วอายุคน
พวกเขาได้เดินทางไปยังชุมชนชาวไท ทั่วประเทศไทย ลาว เวียดนาม เมียนมาร์ จีนตอนใต้ และรัฐอัสสัมของอินเดีย ซึ่งชาว ‘ไท’ คือ ชนพื้นเมืองที่อพยพจากจีนมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ก่อตั้งอาณาจักรไทอยู่ร่วมกันตลอดหลายศตวรรษ ซึ่งสิ่งที่รวมชาวไททุกคนไว้ด้วยกันคือวัฒนธรรมการทอผ้าที่โดดเด่น และเป็นเอกลักษณ์ของพวกเขา โดยมีหัวใจสำคัญอยู่ที่ผ้าไหม เส้นใยสีเหลืองที่มีลักษณะเรียบและหนา ผ่านกรรมวิธีการถักทอด้วยมือเป็นลวดลายอันทรงคุณค่าที่ไร้กาลเวลา เชื่อมโยงอดีตและปัจจุบันผ่านงานฝีมือและสีสันผ้าทอ
ซึ่งศิลปินที่ยิ่งใหญ่เหล่านี้ล้วนเป็นชาวนาที่มีวิถีชิวิตเรียบง่าย ดำรงชีพด้วยการปลูกข้าว และเลี้ยงไหมเพื่อเป็นเครื่องนุ่งห่ม สะท้อนวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของพวกเขา โดยระหว่างการเดินทางทั้งสองคน ยังได้พบกับชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช่ชาวไท ซึ่งคนเหล่านี้อาศัยอยู่ในพื้นที่ภูเขาระหว่างหุบเขาของไทยและอาศัยอยู่ที่นี่มาหลายชั่วอายุคนก่อนการอพยพของชาวไท พวกเขาได้ร่วมแบ่งปันวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์และน่าหลงใหลสิ่งทอที่โดดเด่นของพวกเขา