xs
xsm
sm
md
lg

หมอล็อต เปิดปม ! ลูกช้างป่าพลัดหลง “ตุลา-มีนา” มีทั้งเหมือนและแตกต่าง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


หมอล็อต กับน้องตุลา
หมอล็อต - นายภัทรพล มณีอ่อน หัวหน้ากลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช โพสต์บนเพจ ภัทรพล
ล็อต มณีอ่อน
บอกว่า ลูกช้างป่าพลัดหลงโขลง “น้องตุลา-มีนา” ในความเหมือน ซ่อนความต่าง


ต่างกันตรงไหน เหมือนอย่างไร? “เหตุการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้นเรื่อยๆ รู้ไว้จะได้อินกับเรื่องราวครับ เหมือนกันตรง กำพร้าแม่ อันนี้แน่นอน ต่างกันตรง สาเหตุของการกำพร้า ตรงนี้สำคัญ เพราะมันจะเป็นเหตุผลในการกำหนดแนวทางในการจัดการครับ”



น้องตุลา เพศผู้ ดูแลอยู่ที่ศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ 2 กระบกคู่  ฉะเชิงเทรา
ตุลาติดโรค ฝูงจำใจทิ้ง ตุลาจำใจจาก เดินออกจากฝูงเข้าหาคน ป้องกันไม่ใช่เชื้อโรคไปติดลูกช้างตัวอื่นๆ เป็นความลึกซึ้งของพฤติกรรมธรรมชาติ ผลตรวจไวรัสจึงเป็นบวก (จากสถิติลูกช้างป่าที่พลัดหลงในประเทศไทย เกือบ 90% พบเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ EEHV ซ่อนอยู่ในตัวทั้งสิ้น) และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ลูกช้างป่าเสียชีวิต

น้องมีนา เพศเมีย อายุราว 2-3 เดือน อยู่ที่ขสป.ดงใหญ่ บุรีรัมย์
มีนา ตกหลุม เกิดอุบัติเหตุ ฝูงไม่ทิ้ง พยายามช่วย (ปกติแม่ช้างจะช่วยเหลือดูแลแล้ว ยังมีแม่รับ หรือช้างป่าตัวอื่นๆในฝูงช่วยเหลือ) แต่ช่วยไม่ได้ อาจตกใจคน หรือเสียง เลยทิ้ง กรณีนี้ไม่ติดโรคไวรัส จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผลตรวจจะเป็นลบ

น้องมีนา กั้นคอกไว้ริมป่า เพราะคาดว่าโขลงแม่สังเกตได้
หมอล็อต อธิบายว่า “ลูกช้างป่าพลัดหลงเกิดได้สองสาเหตุ คือ บาดเจ็บ และ เจ็บป่วย กรณีบาดเจ็บก็เช่น ติดบ่วงแร้ว มีบาดแผลติดเชื้อ ตกท่อ ตกหลุม สภาพร่างกายตามฝูงไม่ทันก็ถูกทิ้ง ฝูงช่วยไม่ได้ และอีกกรณีคือการเจ็บป่วย เช่น โรคติดเชื้อ โดยเฉพาะเชื้อไวรัส ที่แสดงอาการออกมาหรือซ่อนอยู่ในตัว ฝูงทิ้ง”

การจัดการดูแลของทีมสัตวแพทย์และเจ้าหน้าที่อุทยานฯ


น้องตุลา รักษาโรค เอาให้สำราญ เฮฮา ให้ภูมิคุ้มกันกดเชื้อโรค เอาให้รอดให้ได้ ส่วนน้องมีนา ช่วยขึ้นมา รีบคืนฝูง ภายใต้ระยะเวลาที่กำหนดที่ชัดเจน ต้องไม่นาน (เวลาที่เหมาะคือ ช่วงที่ผลการตรวจโรคและสุขภาพออกมาแล้ว) เพราะสภาพร่างกายอาจทรุดโทรมและเกิดความเครียดตามมา ถ้าไม่มารับ ก็ต้องเอาไปอนุบาล


“ทั้งสองตัวต้องหมั่นตรวจโรคเป็นระยะ อาจติดโรค หรือแสดงอาการเมื่อไหร่ก็ได้ เพราะโรคอาจช่อนอยู่ในตัวครับ”

เส้นทางทั้งสองเมื่อตกอยู่ในโชคชะตาเดียวกัน ต้องเอามาดูแลอนุบาล เหมือนกัน กระบวนการเดียวกัน ที่ไม่ต่างกัน คือต้องไม่เครียด ก็ต้องตามใจ ลูกช้างก็จะเอาแต่ใจ จึงต้องจัดการเพชรฆาตรความเครียดควบคู่กับโภชนาการและการฟื้นฟูสัญชาตญาณ ด้วยแม่รับนั่นเอง

อ้างอิง เพจ ภัทรพล
ล็อต มณีอ่อน


พังทับเสลา พี่สาวใหญ่ ลูกช้างพลัดหลง อยู่กับแม่รับ แม่ดอกรัก ในป่าธรรมชาติ ขสป.ดอยผาเมือง ลำปาง ลำพูน
ตัวอย่างของลูกช้างป่าพลัดหลง ที่ได้แม่รับแล้วสามารถกลับคืนสู่ป่าธรรมชาติ คือ ทับเสลา 

ทับเสลา หรือเหลา ลูกช้างป่าพลัดหลงจอมดรามาจากป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งต่อมาได้แม่รับตัวที่ใช่ (แม่รับเลี้ยงดู) คือ แม่วาเลนไทน์ และแม่ดอกรัก ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง 

สถานการณ์ล่าสุดปัจจุบัน ปล่อยคืนสู่ป่าธรรมชาติพร้อมกับแม่รับได้ราว 2 เดือน ซึ่งจากการติดตามของเจ้าหน้าที่อุทยานฯ โดยตามอยู่ห่างๆ พบว่าแม่รับและทับเสลา สามารถอาศัยอยู่ในป่าด้วยกันได้อย่างดี


กำลังโหลดความคิดเห็น