xs
xsm
sm
md
lg

ถอดความสำเร็จ "สวีเดนโมเดล" ป่าสร้างคน-คนสร้างป่า เศรษฐกิจยั่งยืน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



การใช้ไม้ฝังรากลึกอยู่ในวัฒนธรรมของชาวสวีเดน ไม่เพียงมีส่วนสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คน แต่เป็นแรงบันดาลใจให้ศิลปิน นักเขียน และช่างฝีมือมากมายตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา

ในอดีตสวีเดนมีปัญหาการเสื่อมโทรมของทรัพยากรป่าไม้ จากการใช้ประโยชน์อย่างหนักทั้งด้านการเกษตร สร้างที่อยู่อาศัย แปรรูปเป็นไม้แผ่น ทำเฟอร์นิเจอร์ และรวมทั้งใช้ในการอุตสาหกรรม กระทั่ง พ.ศ.2446 มีการออกพระราชบัญญัติป่าไม้ ควบคุมและบริหารจัดการป่าอย่างเป็นระบบ ภายใต้หลักการสร้างสมดุลระหว่างคน สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ ส่งผลให้พื้นที่ป่าไม้ของสวีเดนมีขนาดเพิ่มขึ้นจาก 25% เพิ่มเป็น 75% และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ครองตำแหน่งผู้ส่งออกไม้จากป่าอันดับ 3 ของโลก

สถาปัตยกรรมไม้ภายในบริษัท NCC สำนักงานใหญ่ ที่สวีเดน ผลงานของ Pi Ekblom (Gaia Architecture) ขณะที่ทำงานกับบริษัท White Arkitektur3
นี่คือจุดเริ่มต้นที่น่าสนใจในการผลักดันโมเดลจัดการป่ายั่งยืนระดับโลกจากสวีเดนสู่ประเทศไทย ในงาน "Redesign Sustainable Forestry: The Innovative Forest Management" ที่สถานทูตไทย-สวีเดน ร่วมกับเอสซีจี จัดขึ้นเมื่อวันที่ 17 มีนาคมที่ผ่านมา และเป็นส่วนหนึ่งของ “เวทีความร่วมมือด้านความยั่งยืนไทย-สวีเดน ปี 2566”

ไม่เพียงความก้าวหน้าในเชิงวิศวกรรมที่สวีเดนเรียนรู้และพัฒนามาอย่างต่อเนื่องกับงานไม้ จากที่เคยติดข้อห้ามก่อสร้างอาคารไม้สูงเกิน 2 ชั้น เมื่อมีการปลดล็อคกฎหมายนี้เปิดกว้างให้กับการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ไม้เพื่อประโยชน์ในเชิงก่อสร้างและการออกแบบสถาปัตยกรรมอย่างไร้ขีดจำกัด ส่งผลให้มีอาคารขนาดใหญ่ที่สร้างจากไม้เพิ่มมากขึ้น เช่น Ekogen โครงการพัฒนาที่ประกอบด้วยแฟลตให้เช่า 75 ห้อง และยังมีที่กำลังพัฒนาอีกรวมกว่า 500 ห้อง นอกจากนี้ ยังมีศูนย์วัฒนธรรม Sara ที่สร้างขึ้นใจกลางกรุง Skelleftea ทางตอนเหนือของสวีเดน มีโรงละคร 2 แห่ง มีศูนย์ศิลปะ ห้องสมุด และพื้นที่สาธารณะเพื่อให้ผู้คนเข้ามาพบปะแลกเปลี่ยนความคิด

ที่เป็นปรากฏการณ์อันน่าทึ่งของงานไม้สวีเดนคือ กังหันลมไม้สูง 30 เมตรทางตอนเหนือนอกเมืองโกเทนเบอร์ก โดยใช้ไม้ลามิเนตติดกาว (CLT) มีความแข็งแรงกว่าเหล็กเมื่อเทียบในน้ำหนักเท่ากัน ในต้นทุนที่ต่ำกว่าเหล็กมาก เป็นต้นแบบของการสร้างกังหันลมในเชิงพาณิชย์ซึ่งจะสูงถึง 110-150 เมตร เนื่องจากไม้มีน้ำหนักเบาจึงสามารถสร้างแยกเป็นชิ้นส่วน ง่ายต่อการขนส่งและติดตั้ง

มร. Aaron Kaplan ผู้อำนวยการ Eco-Innovation Foundation (EIF) ร่วมแบ่งปันประสบการณ์การจัดระบบจัดการป่า ในฐานะที่เป็น Facilitator ในการพัฒนาเมืองสีเขียวให้กับเขตต่างๆ ในสวีเดน ว่า ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาสวีเดนผ่านการลองผิดลองถูกมามาก

สวีเดนเคยถูกวิจารณ์ว่าสนใจแค่ต้นไม้ไม่กี่สายพันธุ์อย่างต้นสน เป็นเรื่องท้าทายมากกับการจะเพิ่มความหลากหลายให้กับป่าในสวีเดนซึ่งธรรมชาติเป็นป่าสน เพื่อเปลี่ยนเมืองให้เป็นสีเขียว เป็นเมืองนิเวศที่มีการจัดการป่าอย่างยั่งยืนเพื่อให้คนสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างสมดุล เพราะคนที่เป็นเจ้าของป่าคือชาวบ้าน ฉะนั้นการจะเปลี่ยนป่าต้องได้รับการยอมรับจากชาวบ้านด้วย

สำหรับการอนุรักษ์ป่าในแบบสวีเดนโมเดลไม่ได้หมายถึงการห้ามตัด แต่การตัดไม้แต่ละต้นต้องสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุด ป่าเป็นเหมือนทุนที่สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้คน เป็นแนวทางการดูแลสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งปัจจุบันรายได้จากป่าไม้ของสวีเดนเทียบเท่า 10% ของจีดีพีของประเทศ ไม่เพียงการแปรรูปไม้เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เฟอร์นิเจอร์ เยื่อกระดาษ เชื้อเพลิงชีวภาพ ฯลฯ แม้กระทั่งส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว เช่น เป็นสถานที่ท่องเที่ยวฮันนีมูนกลางป่า การเดินป่า เป็นต้น

ทางด้านนิธิ ภัทรโชค กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี บอกว่าสนใจแนวทางการจัดระบบป่าที่สวนทางกับความเชื่อเดิมที่มองว่าการอนุรักษ์ป่าคือห้ามตัดไม้ โดยบอกว่าถ้าจะรักษาป่าอย่าห้ามตัดต้นไม้ เพราะจะทำให้ไม้มีราคาแพงขึ้น ยิ่งเป็นแรงจูงใจให้เกิดการลักลอบตัดป่า

การบริหารจัดการระบบป่าแบบสวีเดน นอกจากปลูกทดแทนแล้ว การตัดต้นไม้แต่ละต้นต้องให้ใช้ประโยชน์สูงสุด เช่น เศษไม้ที่เหลือจะผสมกาวกลายเอาไปใช้ประโยชน์ได้อีก เรียกว่าใช้ประโยชน์ได้ทุกเม็ด

ด้วยวิถีความเป็นอยู่ที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติทำให้คนสวีเดนผูกพันกับธรรมชาติและป่าเขา ป่าทั้งหมดเป็นของสาธารณะ ทุกคนเข้าถึงป่าได้ ท่องเที่ยว สร้างบ้านในป่า เก็บผลผลิตจากป่าได้ แต่ต้องกระทำอย่างเหมาะสม

นิธิบอกถึงแง่คิดที่ได้จากการจัดการป่าแบบสวีเดนคือ หนึ่ง สวีเดนโมเดลสร้างความสำเร็จให้สวีเดน แต่ไทยต้องนำมาปรับใช้แบบไทยโมเดล ตามบริบทของประเทศไทย สอง ต้องร่วมมือกันในทุกภาคส่วน ภาครัฐต้องเป็นผู้นำ แต่จะสำเร็จได้ต้องอาศัยภาคเอกชนต้องมีความคิดริเริ่มเรื่องการปลูกป่าอย่างเหมาะสม รวมทั้งภาคประชาสังคม และชาวบ้าน ทุกฝ่ายต้องมีความตระหนักและช่วยกันดูแล สาม ต้องใช้เทคโนโลยี อย่างธุรกิจบรรจุภัณฑ์หรือเอสซีจีพี ที่มีการใช้ไม้ยูคาลิปตัสเป็นวัตถุดิบหลัก ได้นำระบบการบริหารจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืน ตามมาตรฐาน Forest Stewardship Council (FSC) มาใช้กับพื้นที่ปลูกป่าเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการพัฒนานวัตกรรมยูคาลิปตัสสายพันธุ์ใหม่ และใช้เทคโนโลยีต่างๆ เช่นโดรนและภาพถ่ายดาวเทียมมาช่วยเพิ่มคุณภาพการปลูก

และสี่ ต้องทำอย่างเป็นระบบ เอสซีจีดำเนินโครงการรักษ์ภูผาสู่มหานที ตามแนวทาง ESG 4 Plus ทำตั้งแต่เพิ่มการปลูกป่า ตลอดจนสร้างฝายชะลอน้ำแล้ว 115,000 ฝาย โดยมีเป้าหมายสร้างถึง 150,000 ฝาย เพราะถ้ามีฝาย ก็จะมีแหล่งน้ำบำรุงป่าให้เติบโต โดยมีชาวบ้านช่วยดูแลด้วยทั้งป่าและฝายเพราะอยู่ในพื้นที่

ที่สำคัญคือ การปลูกฝังให้คนรักป่า โดยเฉพาะเด็กๆ คุณนิธิบอกว่า เอสซีจีปลูกป่ามานานกว่า 10 ปี ปลูกต้นไม้มามากกว่าหนึ่งล้านต้น ทุกวันนี้ผมเริ่มเห็นแสงสว่าง มีคนไม่น้อยที่ชอบแคมปิ้ง เริ่มมีการเดินเทรลเช่นที่เขาใหญ่ เป็นเรื่องของปลูกฝังให้คนรักป่า เพราะการจะทำให้คนรักป่าได้ ต้องใกล้ชิดป่า แต่ด้านความเข้าใจเราต้องช่วยกัน เพราะในความเป็นจริงป่าอยู่อย่างยั่งยืนได้ และเรามีโอกาสที่จะนำป่ากลับคืนมา มีโอกาสที่จะใช้ประโยชน์จากป่าได้ อย่างสวีเดนใช้ประโยชน์จากป่าปีละหลายพันล้านเหรียญ ขณะที่ป่าก็เติบโตไปด้วย เพียงแต่ทุกคนต้องร่วมมือกัน ไม่ดูดาย

ขณะที่ มร. Aaron กล่าวทิ้งท้ายให้คิดว่า สำหรับคนเมืองต้องไม่ลืมว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับป่าไม้มาจากคนเมืองอย่างเราๆ ยิ่งมีความต้องการมากเท่าไร ยิ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงมากเท่านั้น ถ้าต้องการการเปลี่ยนแปลงที่ดี
เราต้องมี Mindset ที่ดีเช่นกัน.

มร. Aaron Kaplan ผู้อำนวยการ Eco-Innovation Foundation (EIF)
มร. Aaron Kaplan ผู้อำนวยการ Eco-Innovation Foundation (EIF) ร่วมแบ่งปันประสบการณ์การจัดระบบจัดการป่า ในฐานะที่เป็น Facilitator ในการพัฒนาเมืองสีเขียวให้กับเขตต่างๆ ในสวีเดน ว่า ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาสวีเดนผ่านการลองผิดลองถูกมามาก

สวีเดนเคยถูกวิจารณ์ว่าสนใจแค่ต้นไม้ไม่กี่สายพันธุ์อย่างต้นสน เป็นเรื่องท้าทายมากกับการจะเพิ่มความหลากหลายให้กับป่าในสวีเดนซึ่งธรรมชาติเป็นป่าสน เพื่อเปลี่ยนเมืองให้เป็นสีเขียว เป็นเมืองนิเวศที่มีการจัดการป่าอย่างยั่งยืนเพื่อให้คนสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างสมดุล เพราะคนที่เป็นเจ้าของป่าคือชาวบ้าน ฉะนั้นการจะเปลี่ยนป่าต้องได้รับการยอมรับจากชาวบ้านด้วย

สำหรับการอนุรักษ์ป่าในแบบสวีเดนโมเดลไม่ได้หมายถึงการห้ามตัด แต่การตัดไม้แต่ละต้นต้องสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุด ป่าเป็นเหมือนทุนที่สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้คน เป็นแนวทางการดูแลสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งปัจจุบันรายได้จากป่าไม้ของสวีเดนเทียบเท่า 10% ของจีดีพีของประเทศ ไม่เพียงการแปรรูปไม้เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เฟอร์นิเจอร์ เยื่อกระดาษ เชื้อเพลิงชีวภาพ ฯลฯ แม้กระทั่งส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว เช่น เป็นสถานที่ท่องเที่ยวฮันนีมูนกลางป่า การเดินป่า เป็นต้น


ทางด้านนิธิ ภัทรโชค กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี บอกว่าสนใจแนวทางการจัดระบบป่าที่สวนทางกับความเชื่อเดิมที่มองว่าการอนุรักษ์ป่าคือห้ามตัดไม้ โดยบอกว่าถ้าจะรักษาป่าอย่าห้ามตัดต้นไม้ เพราะจะทำให้ไม้มีราคาแพงขึ้น ยิ่งเป็นแรงจูงใจให้เกิดการลักลอบตัดป่า

การบริหารจัดการระบบป่าแบบสวีเดน นอกจากปลูกทดแทนแล้ว การตัดต้นไม้แต่ละต้นต้องให้ใช้ประโยชน์สูงสุด เช่น เศษไม้ที่เหลือจะผสมกาวกลายเอาไปใช้ประโยชน์ได้อีก เรียกว่าใช้ประโยชน์ได้ทุกเม็ด

ด้วยวิถีความเป็นอยู่ที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติทำให้คนสวีเดนผูกพันกับธรรมชาติและป่าเขา ป่าทั้งหมดเป็นของสาธารณะ ทุกคนเข้าถึงป่าได้ ท่องเที่ยว สร้างบ้านในป่า เก็บผลผลิตจากป่าได้ แต่ต้องกระทำอย่างเหมาะสม

นิธิบอกถึงแง่คิดที่ได้จากการจัดการป่าแบบสวีเดนคือ หนึ่ง สวีเดนโมเดลสร้างความสำเร็จให้สวีเดน แต่ไทยต้องนำมาปรับใช้แบบไทยโมเดล ตามบริบทของประเทศไทย สอง ต้องร่วมมือกันในทุกภาคส่วน ภาครัฐต้องเป็นผู้นำ แต่จะสำเร็จได้ต้องอาศัยภาคเอกชนต้องมีความคิดริเริ่มเรื่องการปลูกป่าอย่างเหมาะสม รวมทั้งภาคประชาสังคม และชาวบ้าน ทุกฝ่ายต้องมีความตระหนักและช่วยกันดูแล สาม ต้องใช้เทคโนโลยี อย่างธุรกิจบรรจุภัณฑ์หรือเอสซีจีพี ที่มีการใช้ไม้ยูคาลิปตัสเป็นวัตถุดิบหลัก ได้นำระบบการบริหารจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืน ตามมาตรฐาน Forest Stewardship Council (FSC) มาใช้กับพื้นที่ปลูกป่าเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการพัฒนานวัตกรรมยูคาลิปตัสสายพันธุ์ใหม่ และใช้เทคโนโลยีต่างๆ เช่นโดรนและภาพถ่ายดาวเทียมมาช่วยเพิ่มคุณภาพการปลูก

ส่วนเรื่องสี่ ต้องทำอย่างเป็นระบบ เอสซีจีดำเนินโครงการรักษ์ภูผาสู่มหานที ตามแนวทาง ESG 4 Plus ทำตั้งแต่เพิ่มการปลูกป่า ตลอดจนสร้างฝายชะลอน้ำแล้ว 115,000 ฝาย โดยมีเป้าหมายสร้างถึง 150,000 ฝาย เพราะถ้ามีฝาย ก็จะมีแหล่งน้ำบำรุงป่าให้เติบโต โดยมีชาวบ้านช่วยดูแลด้วยทั้งป่าและฝายเพราะอยู่ในพื้นที่

สถาปัตยกรรมไม้ภายในบริษัท NCC สำนักงานใหญ่ ที่สวีเดน ผลงานของ Pi Ekblom (Gaia Architecture) ขณะที่ทำงานกับบริษัท White Arkitektur3
ที่สำคัญคือ การปลูกฝังให้คนรักป่า โดยเฉพาะเด็กๆ คุณนิธิบอกว่า เอสซีจีปลูกป่ามานานกว่า 10 ปี ปลูกต้นไม้มามากกว่าหนึ่งล้านต้น ทุกวันนี้ผมเริ่มเห็นแสงสว่าง มีคนไม่น้อยที่ชอบแคมปิ้ง เริ่มมีการเดินเทรลเช่นที่เขาใหญ่ เป็นเรื่องของปลูกฝังให้คนรักป่า เพราะการจะทำให้คนรักป่าได้ ต้องใกล้ชิดป่า แต่ด้านความเข้าใจเราต้องช่วยกัน เพราะในความเป็นจริงป่าอยู่อย่างยั่งยืนได้ และเรามีโอกาสที่จะนำป่ากลับคืนมา มีโอกาสที่จะใช้ประโยชน์จากป่าได้ อย่างสวีเดนใช้ประโยชน์จากป่าปีละหลายพันล้านเหรียญ ขณะที่ป่าก็เติบโตไปด้วย เพียงแต่ทุกคนต้องร่วมมือกัน ไม่ดูดาย

ขณะที่ มร. Aaron กล่าวทิ้งท้ายให้คิดว่า สำหรับคนเมืองต้องไม่ลืมว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับป่าไม้มาจากคนเมืองอย่างเราๆ ยิ่งมีความต้องการมากเท่าไร ยิ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงมากเท่านั้น ถ้าต้องการการเปลี่ยนแปลงที่ดี
เราต้องมี Mindset ที่ดีเช่นกัน.


กำลังโหลดความคิดเห็น